Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547
Up Market             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ในสถานการณ์ปี 2547 มีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักของบางสิ่งดูเหมือนเป็นแนวโน้มใหม่ว่าด้วย lifestyle

สังคมไทยที่กำลังยกระดับตัวเอง ผ่านผู้คนกลุ่มหนึ่ง เริ่มกระตุ้นอย่างเป็นระบบจากสื่อโฆษณาต่างๆ จนถึงจากการอ่านนิตยสาร lifestyle ของตะวันตก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวได้เรียนรู้วิถีชีวิตสมัยใหม่แบบตะวันตก ซึ่งดูเหมือนมีความเชื่อมโยงโดยตรงไปถึงการกระตุ้นการซื้อสินค้าของพวกเขาด้วย ปี 2547 ปีเดียวพาเหรดกันมาอย่างน้อย 4 ฉบับ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีวิถีสนใจรายละเอียดเจาะจงมากขึ้น จนถึงขั้นลงลึกถึงเรื่องผม นิตยสารผู้หญิงหัวนอกจึงครองพื้นที่มากที่สุดในแผงไว้อย่างเหนียวแน่น จาก Elle, Cosmopolitan ฯลฯ ที่มาก่อนแล้วหลายปี จนถึง marie claire, her world และ Hair ส่วนผู้ชาย ซึ่งดูเหมือนมีนิตยสารกระตุ้นชีวิตที่มีสีสันและสิ้นเปลือง ด้วย FHM จากอังกฤษเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ล่าสุดมาจากฝั่งสหรัฐฯ Maxim ด้วย

และแล้วสินค้าชั้นสูงใหม่จากโลกตะวันตกก็ทยอยตามมาเป็นพรวน โดยนักธุรกิจที่มองการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นแรงขับเคลื่อนที่รุนแรงพอใช้ ถึงขั้นธุรกิจรายเก่าแก่และอนุรักษ์อย่างเครือซิเมนต์ไทย ตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้ง นำสุขภัณฑ์ตลาดบนจากเยอรมนี (Villeroy & Boch) มาขาย

แม้กระทั่ง Jim Tompson ซึ่งผลิตและจำหน่ายผ้าไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นแบรนด์ที่แข็งมาก ยังต้องตัดสินใจนำสินค้าประเภทเดียวกันหรือคู่แข่งในตลาดโลกจากตะวันตกมาแจมในร้านของตนเอง ด้วยความไม่ตะขิดตะขวงใจ ได้แก่ Gaston Y Danial จากสเปน Sacho จากเยอรมนี และ Elitis จากฝรั่งเศส

ยิ่งไปกว่านั้น เมืองไทยจะมีร้านอาหารของฝรั่งเศส เป็นฝรั่งเศสแท้มาเปิดบริการโดยตรง เป็นความต่อเนื่องที่มหัศจรรย์และดูละเมียดเป็นอย่างมาก พัฒนามาจากเครือ fast food จาก KFC, McDonald's ที่ดูแสนจะธรรมดา ดูจะอิ่มตัวแล้วในระดับกลางและล่าง มาถึง Starbucks ร้านกาแฟของอเมริกันที่ใช้รสนิยมของอิตาลี ที่ดูดีขึ้น ยังไม่พอ ต้องเป็นร้านที่ไม่มีเครือข่ายที่คงความเป็น fast food แบบอเมริกัน และจะต้องเป็นร้านที่มาจากชนเผ่าที่มีความรู้และความชำนาญการทำและบริโภคที่ละเมียดที่สุดของโลกอย่างฝรั่งเศสด้วย (Peter Mayle นักเขียนอังกฤษชื่อดัง ผู้อพยพไปอยู่ตอนใต้ของฝรั่งเศสเขียนเรื่องฝรั่งอ่านสนุก จนรวย ได้เขียนเรื่องทำนองนี้ไว้ มีการแปลเป็นภาษาไทยด้วย)

ไม่น่าเชื่อที่กลุ่มนักลงทุนกลุ่มนี้จะเข้าใจรสนิยมเช่นว่านี้ได้ กลุ่ม N-PARK กลุ่มนักลงทุนที่ดูโลดโผนมากที่สุดในวงการ ตัดสินใจลงทุนนำร้าน LENOTRE ที่มีอายุกว่า 80 ปี มาเปิดในเมืองไทย

นี่เป็นเพียงตัวอย่าง หากจะยกมาทั้งหมดจะยาวมากทีเดียว นั่นแสดงเป็นแนวโน้มใหญ่ของความเชื่อมั่นในพัฒนาการของเมืองไทยของกลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเข้าใจสังคมไทยดีกันทั้งนั้น

ประการแรก พวกเขาเชื่อมั่นความมั่งคั่งของสังคมไทยมีมากขึ้นจากเดิมพอสมควร พวกเขาคงไม่คิดว่า เป็นตลาดบนที่แคบมากๆ เช่นอดีตอย่างแน่นอน

ประการต่อมา เชื่อมั่นต่อเนื่องมาจากประการแรกที่ว่าด้วย lifestyle ได้พัฒนามากขึ้น มีความละเมียดและรสนิยมมากขึ้น ซึ่งว่าไปแล้วเป็นเรื่องทัศนคติด้วยก็ได้ คนในสังคมไทยบางส่วนให้ความสำคัญกับการแสดงตัวตน (Explosure) มากเป็นพิเศษ การเปิดตัว ประชาสัมพันธ์ ของสินค้า ที่รวมถึงคนมีการลงทุนอย่างมากมาย อย่างไม่เคยมาก่อนในปีที่ผ่านมา บางงานลงทุนถึง 50 ล้านบาท กันงานเปิดบูธแสดงภาพลักษณ์สินค้า (โดยไม่ขายสินค้า) เพียงสัปดาห์เดียว เป็นผลพวงให้ event organizer ซึ่งเป็นธุรกิจค่อนข้างใหม่ในเมืองไทยเติบโตมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ผู้อ่านหลายคนถามว่า สังคมไทยมีแนวโน้มอย่างไร ตามประสาของคำถามตามฤดูกาล ในช่วงปลายปี

ผมขอตอบว่าข้างต้นเป็นแนวโน้มอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาในปี 2547 และก็มีแนวโน้มว่า จะมีการปรับตัวในเชิงวิตกกังวลอย่างชัดเจนในเรื่องเดียวกันนี้ในปี 2548   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us