Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547
วิกฤติการณ์สื่อฝรั่งเศส             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 





ชาวฝรั่งเศสได้ชื่อว่าติดตามข่าวสารในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยซื้อหนังสือพิมพ์อย่างน้อยคนละหนึ่งฉบับ จำนวนไม่น้อยซื้อหลายฉบับ จึงแปลกใจที่เห็นข่าวว่า สื่อที่เป็นสิ่งตีพิมพ์ประสบปัญหาหนักในปัจจุบัน ไม่เว้นแม้แต่เลอ มงด์ (Le Monde) เลอ ฟิกาโร (Le Figaro) และฟรองซ์ ซัวร์ (France Soir)

หนังสือพิมพ์ Le Monde ตั้งขึ้นโดยอูแบรต์ เบิฟว์-เมรี (Hubert Beuve-Mery) ในปี 1944 ตามดำริ ของนายพลชาร์ลส์ เดอ โกล (Charles de Gaulle) ที่ต้องการให้มีหนังสือพิมพ์ใหม่แทนหนังสือพิมพ์เลอ ตองปส์ (Le Temps) ซึ่งปิดตัวไป หากในภายหลังหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ต่อต้านพรรคโกลลิสต์ที่สืบทอดเจตนารมณ์ของนายพลเดอ โกล

ยอดจำหน่ายของ Le Monde ลดลงถึง 4.4% ในปี 2003 แม้จำนวนผู้อ่านจะไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม ประกอบกับได้ขยายขอบข่ายงานกว้างขึ้นด้วยการออกนิตยสารรายสัปดาห์ Le Monde 2 ซึ่งยังไม่ก่อรายได้ และการซื้อกิจการของกลุ่ม Publications de la Vie Catholique ทำให้ยอดขาดทุนสูงถึง 50 ล้านยูโรในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของ Le Monde จึงจำเป็นต้องลดพนักงานลงถึง 90 คนในจำนวนพนักงานทั้งหมด 740 คน ภายในสิ้นปี 2004

Le Figaro ก่อตั้งในปี 1826 โดยโมริซ อาลัว (Maurice Alhoy) และเอเตียน อราโก (Etienne Arago) Le Figaro มีปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งนานปี ระหว่างผู้บริหารและฝ่ายบรรณาธิการ ในเดือนมีนาคม 2004 แซร์จ ดัสโซลต์ (Serge Dassault) ซื้อกิจการของกลุ่ม Socpresse ซึ่งมีสิ่งตีพิมพ์ในสังกัด 70 ฉบับด้วยกันรวมทั้ง Le Figaro, L'Express, L'Expansion ทำให้ฝ่ายบรรณาธิการไม่แน่ใจว่าจะมีอิสรเสรีในการทำงาน นักหนังสือพิมพ์ 93% ไม่ต้องการให้หนังสือพิมพ์ ของตนรับใช้การเมืองด้วยว่า แซร์จ ดัสโซลต์เป็นวุฒิสมาชิกพรรครัฐบาล อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่ เห็นว่าหนังสือพิมพ์ควรทำกำไรมากขึ้นและขาดทุนน้อย ลง อีกทั้งยังกล่าวว่า ข่าวสารบางเรื่องเป็นผลเสียมากกว่า ผลดี เพราะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของรัฐ

France-Soir เป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์เก่าแก่ของฝรั่งเศส กลุ่ม Socpresse ขายให้แก่นักธุรกิจชื่อ จอร์จส์ โกส์น (Georges Ghosn) ในราคาเพียง 1 ฟรังก์ ในปี 1999 ซึ่งขายต่อในราคาเดียวกันแก่กลุ่ม Poligrafici Eitoriale ของอิตาลี France-Soir พยายามเพิ่มทุน 51% แต่ไม่สำเร็จ ข่าวแว่วว่านักธุรกิจฝรั่งเศสเชื้อสายอียิปต์ รามี ลากาห์ (Rami Lakah) กำลังเจรจาซื้อกิจการ อย่างไรก็ตาม นักหนังสือพิมพ์ของ France-Soir ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความช่วยเหลือ จากรัฐบาล

ในช่วงสามปีหลังนี้ Le Parisien ขาดทุนถึง 50 ล้านยูโร ทั้งนี้นับตั้งแต่หันมาตั้งบริษัทจัดจำหน่ายเอง สหภาพฯ เชื่อว่านั่นเป็นที่มาของปัญหาการเงิน ในภาวการณ์ดังกล่าว ฝ่ายบริหารจึงมีโครงการลดจำนวน พนักงานโดยถามความสมัครใจก่อนสิ้นปีนี้ และจะไม่มี การจ้างงานใหม่ ยกเว้นในกรณีพิเศษซึ่งฝ่ายบริหารจะเป็นผู้พิจารณาเอง

Liberation เป็นหนังสือพิมพ์ที่ฌอง-ปอล ซาร์ทร์ (Jean-Paul Sartre) และแซร์จ จูลี (Serge July) เป็น ผู้ก่อตั้ง ได้รับผลกระทบมากจากหนังสือพิมพ์ที่แจกฟรี ระหว่างปี 2002-2003 จำนวนผู้อ่านลดลง 100,000 คน ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ลดลง 14% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว Liberation จำต้องหาผู้ร่วมทุนใหม่ ซึ่งมิใช่เรื่องง่าย เพราะพนักงานถือหุ้นอยู่ 36.4% และมีสิทธิวีโต้การเปลี่ยนแปลงเงินทุน รวมทั้งการแต่งตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ L'Humanite เพิ่งฉลองครบ 100 ปี ในเดือนเมษายน 2004 ท่ามกลางมรสุมการเงิน ยอดขายลดลงพร้อมๆ กับที่ความนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสเสื่อมลง นับตั้งแต่ปี 1999 L'Humanite มิได้เป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสต่อไปแล้ว แต่เป็นเพียงหนังสือพิมพ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้น สถานีโทรทัศน์ TF 1 และกลุ่มลาการ์แดร์ (Lagardere) ถือหุ้น 20% ตั้งแต่ปี 2001

อันที่จริงสิ่งตีพิมพ์ของฝรั่งเศสประสบปัญหามานานแล้ว ยอดพิมพ์ของหนังสือพิมพ์รายวันลดลงถึง 40% ระหว่างปี 1972-2001 จาก 3.9 ล้านฉบับ เหลือ 2.3 ล้านฉบับ วิกฤติการณ์ของหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสส่วนหนึ่งมาจากราคาที่สูงมากเมื่อเทียบกับราคาของประเทศเพื่อนบ้าน หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสราคาประมาณหนึ่งยูโรหรือกว่านั้น ในขณะที่เยอรมันขายเพียง 0.52 ยูโร อิตาลี 0.65 ยูโร อีกประการหนึ่งชาวฝรั่งเศสรุ่นใหม่ สนใจอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง ผลการสำรวจความคิดเห็นพบว่าชาวฝรั่งเศสอายุระหว่าง 15-25 ปี สนใจอ่าน ข่าวสารเพียง 1% ส่วน 68% รับรู้ข่าวสารทางโทรทัศน์ 17% ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ 13% ฟังวิทยุ อย่างไรก็ตาม 78% เห็นว่าข่าวตีพิมพ์มีสาระลึกซึ้งกว่า ประการสำคัญคือ การเริ่มให้บริการของหนังสือพิมพ์ที่แจกฟรีอย่าง Metro และ 20 Minutes ตั้งแต่ต้นปี 2002 วางตามสถานีรถใต้ดินที่ใครก็สามารถหยิบอ่านได้ แม้เป็นข่าวสั้นๆ แต่ครอบคลุมทุกหัวเรื่อง

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้มีหลายฉบับ คือ La Croix, Les Echos และ L'Equipe หนังสือพิมพ์กีฬาอันทรงอิทธิพล ยิ่งในปี 2004 นี้มีเกมกีฬาระดับโลกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยูโร 2004 การแข่งจักรยานตูร์ เดอ ฟรองซ์ (Tour de France) กีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ ยอดขายของ L'Equipe มี แต่พุ่งกระฉูด หนังสือพิมพ์ในเครือ L'Equipe มี L'Equipe Magazine และ France Football นอกจากนั้นยังออก นิตยสารในหัวเรื่องต่างๆ เช่น ภาพยนตร์และกีฬา Cinema et Sport หรือ Ayrton Senna เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีหนังสือพิมพ์กีฬารายสัปดาห์ที่แจกฟรีชื่อ Sport ออกทุกวันศุกร์ หากผู้บริหารของ L'Equipe ไม่เห็นเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ด้วยว่าเน้นรูปเป็น ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีรายงานข่าว ทว่า L'Equipe กำลังจับตามองย่างก้าวของสถานีโทรทัศน์ TF 1 ซึ่งมีส่วนร่วมในการออกหนังสือพิมพ์ฟรี Metro เพราะช่วงยูโร 2004 TF 1 ได้ออกนิตยสารกีฬาเพื่อลองตลาด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us