|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2547
|
 |

สิ่งหนึ่งที่คนในเกาะอังกฤษนี้ไม่เคยได้รู้สึกยินดีสักเท่าไร เพราะได้มาอย่างเคยชิน ก็คือ Value Added ของ Informal Education
อะไรคือ Informal Education?
Informal Education คือการศึกษาที่ไม่ได้มาจากการเรียนการสอนในห้องเรียน แต่เป็นการศึกษาที่ได้มาจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ได้พัฒนามานานแล้วในทิศทางของตัวเองที่เสมือนแต่แตกต่าง กล่าวคือ จุดแข็งของประเทศอังกฤษ คือ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของ British Empire อันแข็งแกร่งและยาวนาน Informal Education ของประเทศอังกฤษจึงเน้นไปในทางเสริมสร้างประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ในรูปแบบใหม่แบบไม่ลืมรากฐานเดิมของตัวเอง (Massaging the Old Wealth) ดังนั้น จึงสังเกตได้ว่า ทางอังกฤษจะมีพิพิธภัณฑ์และเทศกาลเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในรูปแบบการนำเสนอใหม่ๆ ไม่ให้น่าเบื่อ และคนรุ่นหลัง สามารถสัมผัสได้ รวมถึงชาวต่างชาติก็ให้ความชื่นชม เรียกได้ว่าเป็นการช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาในทิศทางเดิมแบบไม่ล้าสมัย
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประวัตินั้นไม่ค่อยยาวนาน แต่จะมีจุดแข็งในความเป็นโลกใหม่ ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติมาเสริมสร้างและอยู่ร่วมกันเป็นชาวอเมริกัน ในความเป็นประเทศที่ร่ำรวยและทันสมัย จึงเสริมสร้าง Informal Education ในแบบทุนนิยมและวัตถุนิยม กล่าวคือ ประเทศอเมริกาจะเก็บทุกอย่างเป็นสถิติเพื่อให้ทำลาย เทศกาลและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ จะเป็นแบบรวมสิ่งที่ดีที่สุดจากทั่วโลกเท่าที่จะหามาได้ โดยพัฒนาสิ่งเหล่านั้นให้เป็น การค้าเพื่อให้ได้ความฝันอันสูงสุดในแบบทุนนิยม
หนึ่งในการศึกษาแบบ Informal Education ซึ่งทางรัฐบาลอังกฤษได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก นั้นก็คือ Festivals เพราะเห็นว่าการศึกษาความรู้ที่มีในโรงเรียน (Formal Education) ช่วยแต่เฉพาะในทางทฤษฎี แต่ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างมุมมองที่กว้างขึ้นซึ่งสามารถหาได้จาก Informal Education (เพราะฉะนั้นในประเทศอังกฤษจึงมีพิพิธภัณฑ์ดีๆ เทศกาล ดีๆ ซึ่งช่วยเสริมมุมมองของประชาชนให้กว้างขึ้น)
ตอนนี้เป็นที่น่ายินดีว่าทางประเทศไทยของเราได้เห็นความสำคัญของ Informal Education จึงมีแผนการพัฒนาองค์ความรู้โดยผ่านทางพิพิธภัณฑ์ใหม่ๆ และสร้าง Creative Design Center ขึ้นมาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และบริหารองค์ความรู้ต่างๆ อันนี้ผมก็ขอเอาใจช่วยด้วย ขอให้ประสบความสำเร็จอย่างที่หวังไว้
ผมอยู่เมือง Edinburgh มาก็นานพอสมควร แต่ปีนี้เป็นปีแรกที่ผมได้ไปดู Edinburgh Military Tattoo (การเดินสวนสนามของเหล่าทหาร) พอผมได้ ดูแล้วจึงทำให้ผมรู้สึกว่าผมน่าจะมาดูตั้งนานแล้ว มันน่าตื่นตาตื่นใจมาก เป็นการสวนสนามที่เล่น light & sound ได้อย่างลงตัว โดยมีฉากหลังเป็นปราสาท Edinburgh ที่เคร่งขรึมสุดคลาสสิก มีชาติต่างๆ มาร่วมแสดงมากมาย ทำให้เห็นและเข้าใจในดนตรีและวัฒนธรรมอื่นๆ มากขึ้น สิ่งที่น่าตื่นเต้นในปีนี้ คือปีนี้เป็นปีแรกที่ทางรัฐบาลจีนได้ส่งทหารหญิงชายของวง The Military Band of People's Liberation of China มาร่วมวงด้วย พูดจริงๆ ว่าผมประทับใจมาก แต่ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นคือ การที่ Military Tattoo ได้นำเงินจากการขายตั๋วอย่างเดียวเข้าเมืองได้ถึง 3.7 ปอนด์ต่อปี รวมถึงนำเงินเข้ามูลนิธิต่างๆ ได้ถึง 5 ล้านปอนด์ รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดการสวนสนามไปทุกมุมโลกโดยมีผู้ชมถึง 100 ล้านคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติตัวเองสู่ผู้อื่นแบบทางอ้อม นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงถึงไมตรีจิต เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาติอื่นๆ ที่มาร่วมสวนสนาม ทั้งๆ ที่ Military Tattoo นั้นมีระยะเวลาแค่ 3 สัปดาห์ต่อปีเท่านั้น ไอเดียเอาของที่เก่า (Old Wealth) อยู่แล้วมาทำประโยชน์ได้แบบสร้างสรรค์ต้องยกให้รัฐบาลอังกฤษจริงๆ ครับ
อีกเทศกาลหนึ่งที่น่ากล่าวถึงมาก คือ Edinburgh International Book Festival ที่มีระหว่าง 24th-30th August เทศกาลนี้คือเทศกาลหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยทีเดียว มีการสัมมนาเรื่องหนังสือ มีการถกถึงวรรณคดี บทประพันธ์ต่างๆ รวมทั้งมี Workshop ให้เด็กหัดอ่านหัดเขียน มีการประชุมสัมมนามากกว่า 300 งาน นักเขียนดังๆ ก็มาร่วมงาน กันเต็ม เช่น J.K. Rowling (ที่ก็ไม่แปลกเพราะอยู่เมืองนี้อยู่แล้ว), Toni Morrison Nobel Prize Winner แล้วก็นักเขียนอีกมากมาย เอาเป็นว่าทุกๆ คนมีความสุขโดยเฉพาะเด็กๆ ที่ได้มาพบนักเขียนในดวงใจของเขา ได้ยินนิทาน หัดเขียน หัดอ่าน หัดฟัง ซึ่งทำให้เด็กๆ ได้ความรู้อย่างเต็มที่ เทศกาลส่งเสริม การอ่านนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีคนเข้ามาร่วมเปิดงานมากกว่า 200,000 คน ทำให้หนังสือขายดีขึ้นกว่าปีก่อนถึง 20% ไอศกรีมขายได้ 1,574 ลิตรซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ นอกจากนั้น โรงเรียนกว่า 11,000 โรงเรียน ได้เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอีกด้วย ผู้คนที่มาในเทศกาลนี้ก็สามารถหาความรู้ทางวัฒนธรรมได้อีกจากเทศกาลต่างๆ ที่คาบเกี่ยวกัน
ยังมีอีกหลายเทศกาลใน Summer Festivals นี้ที่ผมไม่ได้กล่าวถึง แต่ท่านผู้อ่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก www.edinburghfestivals.co.uk น่าไปดูครับ แต่ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือการนำรูปแบบของเทศกาลเหล่านี้ในเมืองนอกมาประยุกต์ใช้กับของเรา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการศึกษาแบบท้องถิ่น รวมถึงสนับสนุน ภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศไทยอีกด้วย
|
|
 |
|
|