Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547
The Myth of The First Thanksgiving : A Harvest Celebration             
โดย มานิตา เข็มทอง
 





ต้องขอบคุณ Plimoth Plantation และ National Geographic Society ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล Thanksgiving เทศกาลสำคัญของชาวอเมริกัน ซึ่งผู้เขียนไม่มีความรู้มาก่อน และพยายามค้นคว้าข้อมูลหาคำตอบว่า ชาวอเมริกันเขาขอบคุณใครกันในเทศกาล Thanksgiving...

เมื่อฤดูใบไม้ร่วงของปีคริสต์ศักราชที่ 1621 สำหรับชาวอินเดียนแดงเผ่า Wampanoag ถือเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวหรือที่เรียกว่า Keepunumuk ซึ่งในปีนั้น สมาชิก Wampa-noag จำนวน 90 คน ได้ร่วมฉลองและแบ่งปัน อาหารร่วมกับนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ จำนวน 52 คน ที่มากับเรือ Mayflower และยังคงรอดชีวิต...

Wampanoag เป็นภาษา Native American หมายความว่า "Eastern People" หรือ "People of the First Light" หรือผู้ที่เห็น ดวงอาทิตย์ก่อน...เป็นผู้ที่ตั้งรกรากนับเป็นหมื่นปี อยู่บนผืนดินของหมู่บ้าน Patuxet ซึ่งต่อมาชาวอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อเป็น Plymouth ที่เป็นที่ตั้งของรัฐ Massachusetts ในปัจจุบัน... เป็นชาวพื้นเมืองที่อเมริกันเรียกว่า "Native American" และที่คนไทยเรารู้จักกันในนามของ "อินเดียนแดง"

เมื่อต้นฤดูหนาวของช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 1620 เป็นช่วงเวลาที่ชาวอังกฤษจำนวน 101 เข้าเทียบฝั่งที่เมือง Patuxet ซึ่งในขณะนั้นกลาย เป็นเมืองร้างจากการแพร่ระบาดของกาฬโรค และผู้มาเยือนกลุ่มนี้ก็ต้องเผชิญกับโรคร้ายเช่นเดียวกัน โดยคร่า ชีวิตชาวอังกฤษไปกว่าครึ่ง...ดังนั้นเมื่อฤดูเก็บเกี่ยวมาเยือนในช่วงปลายปี ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคร้ายซึ่งประกอบ ด้วย Massosoit ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าของ Wampanoag กับสมาชิก Wampanoag อีก 90 คน และชาวอังกฤษ อีก 52 คน ได้ร่วมฉลองการเก็บเกี่ยวที่สำเร็จลุล่วงด้วยดีเป็นเวลานานถึง 3 วัน 3 คืน...ซึ่งไม่ได้เป็นวันแรก ของเทศกาล Thanksgiving (The First Thanksgiving) และไม่ได้เป็นวันทางศาสนาที่หลายคนเข้าใจกัน...

ข้อความข้างต้นที่ผู้เขียนนำมาเล่านั้น เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์อเมริกาที่ถูกฉีกหายไป...เป็นเรื่องราวที่ชาวอเมริกัน โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่เคยเรียนรู้เรื่องราวของ Thanksgiving อย่างแท้จริง รู้แต่เพียงจาก เรื่องเล่าเป็นนิทาน นิยายต่อๆ กันมาว่า Thanksgiving เป็นเทศกาลที่ชาว Pilgrims หรือผู้กล้าหาญ ผู้เข้ามาตั้ง รกรากกลุ่มแรกในแผ่นดินอเมริกา ได้เชิญชาว Native เพียงไม่กี่คนมาร่วมอาหารค่ำ เพียงแค่นั้น...แต่เรื่องของชนเผ่า Wampanoag ซึ่งเป็นเรื่องราวจริงๆ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวของประเทศล่าอาณานิคมจากฝั่งยุโรปที่เข้ามายึดครองดินแดน เปลี่ยน วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่และศาสนาของชาว Native...กลับไม่มีใครกล่าวถึง...

เรื่องราวของ Thanksgiving หรือ The First Thanksgiving ที่ชาวอเมริกันรู้จักนั้นมีที่มาแตกต่างกัน โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่นักล่าอาณานิคมได้ เข้ามาครอบครองดินแดนแล้ว ถือว่าเป็นวันขอบคุณเหล่าทหารผู้กล้าหาญที่นำชัยชนะเหนือชาว Native บ้างก็ว่าเป็นวันที่ฉลองป้อมปราการ Pequet ถูกเผาในปี 1637 บ้างก็ว่าเป็นการฉลองการตายของลูกชายของหัวหน้าเผ่า Massosoit ในสงคราม King Philip เมื่อปี 1676 หรือไม่ก็เป็นการฉลองชัยชนะการปฏิวัติโค่นจักรวรรดิอังกฤษในสงคราม Sasatoga เมื่อปี 1777

ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 19 มีนักประวัติ ศาสตร์ชาว New England ระบุว่าเหตุการณ์ฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมื่อปี 1621 ถือเป็นวันแรก ของเทศกาล Thanksgiving และในปี 1846 Sarah Josepha Hale บรรณาธิการของนิตยสารGodey's Lady's Book พยายามรณรงค์ให้ Thanksgiving เป็นเทศกาลประจำชาติ...จนกระทั่งในปี 1863 ระหว่างสงครามกลางเมือง ประธานาธิบดี Abraham Lincoln ได้ประกาศ ให้มีเทศกาล Thanksgiving 2 ครั้งด้วยกันคือในเดือนสิงหาคม เพื่อเป็นการรำลึกถึงสงคราม Gettysburg และในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเป็น การขอบคุณ... "general blessings" หรือการขอบคุณพระเจ้าที่ประทานผืนดินให้ปลูก และเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ ซึ่งพ้องกับการฉลองการเก็บเกี่ยวของชาว New England และถือใช้มาจนทุกวันนี้คือวันพฤหัสสุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี...

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ Plimoth Plantation นำเสนอคือ วิถีการดำเนิน ชีวิตของชนเผ่า Wampanoag ซึ่งถือเป็นเจ้าของดินแดนที่ถูกเรียกว่า New England ในสมัยนั้น พวกเขามีเทศกาลเช่น "Strawberry Thanksgiving" และ "Green Corn Thanksgiving" มานาน ก่อนที่พวกล่าอาณานิคมจะบุกรุกเข้ามาเสียอีก เทศกาล Thanksgiving ของพวกเขาเป็นการแบ่งปันผลิตผลแก่คนในหมู่บ้าน มีงานรื่นเริง ร้องรำทำเพลง อาหารหลักที่อยู่ในเทศกาล ก็จะเป็นพวกพืชผักผลไม้ พวกถั่ว ฟักทอง ข้าวโพดและเบอรี่ทั้งหลาย ร่วมด้วยเนื้อสัตว์ พวกกวาง นก เป็ด และอาหารทะเล กุ้งหอยปูปลา ตามแต่ จะหาได้ ในขณะที่พวก New England มักจะฉลองกันเฉพาะคนในครอบครัว มีบ้างเป็นครั้งคราวที่ฉลองกัน เป็นกลุ่มใหญ่ ยิ่งกว่านี้ Plimoth Plantation ต้องการแสดงให้คนรุ่นใหม่เข้าใจว่า เหตุการณ์ในปี 1621 ไม่ใช่ วันแรกของเทศกาล Thanksgiving และไม่ใช่วันสำคัญ ทางศาสนา ตามที่ได้เล่าต่อกันมา แต่เป็นวันที่ฉลองการ เกษตรของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น...

นับเป็นความโชคดีของเด็กในศตวรรษที่ 21 และในอนาคต ที่กลุ่มนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งชาว Native ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ได้รวมตัวกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ Plimoth Plantation ซึ่งเป็น "living-history museum" หรือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จำลองฉากสถานที่จริงและใช้คนแสดงการดำรงชีวิตในสมัยศตวรรษที่ 17 ที่ตั้งอยู่ในเมือง Plymouth แห่งรัฐ Massachusetts ทั้งยังรวบรวมหลักฐานข้อมูล และบทเรียนสนุกๆ แบบ Interactive ไว้ในเว็บไซต์ www.plimoth.org และยังมีหนังสือของสำนักพิมพ์ National Geographic ชื่อว่า "1621 : A New Look At Thanksgiving" โดย Catherine O'Neill Grace และ Margaret M. Bruchac แม้ว่าจะเป็นหนังสือเด็กแต่ใช่ว่าผู้ใหญ่จะหยิบมาอ่านไม่ได้...ถือเป็นการช่วยให้เรียนรู้อีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครกล่าวถึง...

...จะมีชาวอเมริกันสักกี่คนที่เมื่อวัน Thanks-giving เวียนมาบรรจบในปีนี้ จะรำลึกถึงชาวเผ่า Wampanoag และขอบคุณพวกเขาที่ยอมสละชีวิตสละผืนดิน ที่ตั้งรกรากอยู่ ด้วยความสงบสุขและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มานานนับร้อยนับพันศตวรรษ...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us