|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2547
|
|
corporate management ของกิจการที่ประสบความสำเร็จในแขนงธุรกิจของตนย่อมเป็นจุดเด่นและเป็น "กรณีศึกษา" ในเชิงการบริหารจัดการไปโดยปริยาย
Tele-design ก็อยู่ในข่ายนี้เช่นกัน...
เริ่มจากโครงสร้างการถือหุ้นที่ประกอบด้วยสถาปนิกอิสระ 6 คนเกาะกลุ่มกันหลวมๆ และผู้อยู่ในวิชาชีพอื่นๆ อาทิ วิศวกร นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญระบบแสง ซึ่งหมุนเวียนกันเข้ามารับงานตามชนิดของโครงการ
หุ้นส่วนหลักทั้งหกเป็นสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญงานต่างแขนงกันอีกต่างหาก เริ่มจาก Noriyuki Tajima - งานออกแบบ Chikara Matsuba - รายละเอียดตัวอาคาร Nobuyuki Nomura และ Toshimitsu Kuno - งานออกแบบขนาดใหญ่ project managers และบริษัทก่อสร้าง Kentaro Yamamoto - บ้านพักอาศัย และ Hiroshi Yanagihara - ภูมิสถาปัตย์
หลังจากผ่านพ้นไป 4 ปี กิจการของ Tele-design ก็ประสบผลสำเร็จเป็นที่จับตามองของวงการ มีผลงานอันหลากหลายตั้งแต่โครงการบ้านพักอาศัย การบูรณะซ่อมแซมอาคารพาณิชย์ ตลอดจนถึงงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
ในส่วนของงานออกแบบอาคาร โครงการอาคาร News Complex เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษา จากการที่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ในญี่ปุ่นต้องการอาคารที่มีทั้งสำนักงานคลังสินค้า บ้านพัก 2 หลัง และหอพักคนงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน จึงเป็นหน้าที่ของ Tajima ผู้ถนัดงานออกแบบและ Matsuba ซึ่งถนัดเรื่องรายละเอียดของตัวอาคารต้องร่วมมือกันด้วยการใช้วัสดุต่างชนิดสำหรับงานก่อสร้างตัวอาคารแต่ละส่วน และใช้ความสามารถอันชาญฉลาดแบ่งพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุด จึงได้พื้นที่กว้างขวางสำหรับปฏิบัติงานตามด้วยบ้านอีก 2 หลัง ทั้งหมดอยู่ในตัวอาคารที่เชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวตามความต้องการของลูกค้าทุกอย่าง
ความสำเร็จ ณ วันนี้หาใช่เป้าหมายของ Tele-design ไม่ เพราะผู้ถือหุ้นหลักทั้งหกไม่ต้องการจำกัดตัวเองในฐานะบริษัทสถาปนิกเพียงอย่างเดียว
"จากฐานธุรกิจด้านสถาปัตยกรรม เราต้องการขยายกิจการออกไป 2 ทิศทางด้วยกันคือ งานโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเน้นโครงการในเมือง และงานโครงการขนาดเล็กที่เน้นเรื่องผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ" Yamamoto สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านเฟอร์นิเจอร์และบ้านพักอาศัยพูดถึงเป้าหมายการเติบโตของ Tele-design
ปัจจุบัน Yamamoto กำลังรับผิดชอบงานออกแบบระบบชั้นวางของทำด้วยอะลูมิเนียมที่จะดำเนินการผลิตในปลายปี และ Tajima ก็เพิ่งเสร็จสิ้นงานออกแบบ modular kitchen ชุดเครื่องครัวที่สามารถนำแต่ละชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกันหรือถอดออกจากกันได้ ถือเป็นนวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นก็ว่าได้ เพราะปัจจุบันชาวญี่ปุ่นต้องจำกัดตัวเองอยู่กับครัวเล็กๆ และประกอบติดกันตายตัว
Tajima สรุปเหตุผลของความจำเป็นในการขยายกิจการว่า
"เราต้องการรวมเอาคุณสมบัติดีที่สุดของกิจการขนาดเล็กและใหญ่มาไว้ด้วยกัน ในบริษัทขนาดเล็กคุณสามารถรับงานท้าทายน่าสนใจได้ แต่จะไม่มีวันได้งานชิ้นใหญ่มาทำ ขณะที่ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ๆ ต้องหมกมุ่นกับงานบริหารทุกอย่าง แต่จะมีเวลาเหลือให้กับงานออกแบบน้อยมาก"
|
|
|
|
|