|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2547
|
|
การให้หุ้นกับพนักงาน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายบริษัทขนาดใหญ่กำลังนำมาใช้ ด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน แต่กับผู้บริหารกลุ่ม SHIN นี่อาจเป็นผลตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมจากรายได้ประจำ
ESOP หรือ Employee Stock Ownership Plan เป็นแผนให้ผลตอบแทน ผู้บริหารระดับสูงที่กลุ่ม SHIN ได้เริ่มใช้เมื่อกว่า 2 ปีก่อน เนื่องจากเป็นแผนที่จัดว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย มีรายละเอียด ปลีกย่อย กลุ่ม SHIN จึงได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีวีระ วีรธรรมสาธิต ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารทรัพยากรบุคคลของ SHIN เป็น วิทยากร
เป็นการออกมาพูดถึงเรื่อง ESOP เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ที่ SHIN เริ่ม นำ ESOP เข้ามาใช้ และเป็นการพูดในช่วง ที่สังคมกำลังตั้งข้อสงสัยว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับกลุ่ม SHIN เนื่องจากในช่วง 1 เดือน เศษก่อนหน้านี้มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ฯ ออกมาว่าผู้บริหารกลุ่ม SHIN ได้มีการขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมาก ติดต่อกันตลอดทั้งเดือน (รายละเอียดดูจากตารางการขายหุ้นของผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ป)
ESOP ต่างจาก Stock Option Plan ตรงที่ Stock Option Plan เป็นการ ให้หุ้นกับพนักงานโดยตรง ตามอัตราส่วนของเงินเดือนหรืออายุงาน เมื่อได้รับหุ้นแล้ว พนักงานจะถือครองหุ้นนั้น หรือขายต่อได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อถึงกำหนดเวลา
แต่ ESOP ที่ SHIN นำมาใช้จะมีความสลับซับซ้อนกว่า
ESOP ของ SHIN เป็นการให้สิทธิ์โดยการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (warrants) ให้กับผู้บริหารในการซื้อหุ้น ในสัดส่วนไม่เกิน 5% ของทุนจดทะเบียน warrants ดัง กล่าวมีระยะเวลาใช้สิทธิ์ (vesting period) 3 ปี โดยในแต่ละปีจะสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียง 1 ใน 3 ของปริมาณที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่นผู้บริหารรายหนึ่งได้รับสิทธิ์ซื้อหุ้น 30,000 หุ้น ก็จะสามารถใช้สิทธิ์ซื้อได้ 10,000 หุ้นในปีแรก อีก 10,000 หุ้นในปีที่ 2 และ 10,000 หุ้นสุดท้ายในปีที่ 3
โดยเมื่อถึงเวลาใช้สิทธิ์จะสามารถซื้อหุ้นในราคาที่กำหนดในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ของปีก่อน ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่มักจะมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งหมายถึงผู้ใช้สิทธิ์ จะได้รับส่วนต่างของราคาเป็นผลตอบแทน
ตั้งแต่ปี 2545 SHIN ได้ออก warrants มาแล้ว 3 ครั้ง คิดเป็น 2% ของ ทุนจดทะเบียน โดยมีผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ช่วย VP ขึ้นไปมากกว่า 170 คนที่ได้รับสิทธิ์ และบางส่วนได้เริ่มทยอยใช้สิทธิ์ไปบ้างแล้ว
แต่ดูเหมือนว่าในช่วงเดือนกันยายน เป็นช่วงที่ผู้บริหารระดับสูงใช้สิทธิ์นี้มากที่สุด
ธีระกล่าวว่าการขายหุ้นของผู้บริหาร กลุ่ม SHIN ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งไม่น่ามีผลต่อราคาหุ้น และเชื่อว่านักลงทุน สถาบันคงมีความเข้าใจ เพราะจำนวนที่ขายออกมามีไม่มากนัก
สำหรับ ESOP ในต่างประเทศ โดย เฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น มีมานานกว่า 30 ปี โดยมีเป้าหมายแรกเริ่มคือการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัท ต่อมาได้มีการพัฒนา มีประโยชน์เรื่องการยกเว้นภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทมากกว่า 11,000 แห่ง ทั้งที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทขนาดเล็กได้นำ ESOP มาเป็นส่วนหนึ่งของ benefit plan
ด้วยประโยชน์ในเรื่องการยกเว้นภาษี ทำให้ ESOP ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ เช่น การระดมเงินทุนจากพนักงานเพื่อการขยายกิจการ การขายกิจการให้ กับพนักงานในกรณีที่ผู้ก่อตั้งต้องการที่จะ เกษียณ นอกเหนือจากใช้เป็นแรงจูงใจให้พนักงานทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากผลการวิจัย บริษัทที่นำ ESOP เข้ามาใช้จะสามารถเพิ่มยอดขายและผลผลิตได้ประมาณ 2-3% เมื่อเทียบกับถ้าไม่ได้นำ ESOP มาใช้
ความรู้สึกเป็นเจ้าของบริษัทที่เกิดขึ้นโดย ESOP หากนำไปประยุกต์ใช้กับการให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในระดับที่เหมาะสม ดูจะเป็นหัวข้อที่โลกตะวันตกให้ความสนใจมาได้ระยะหนึ่ง
|
|
|
|
|