|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2547
|
|
SCB BCM เป็นอีกหนึ่งความคืบหน้าในกระบวนการปรับทิศทางของธนาคารไทยพาณิชย์ ไปสู่การเป็น Universal Banking ที่ลูกค้าระดับองค์กรสามารถจับต้องได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะในฝ่ายบัญชีและการเงิน
ว่ากันตามตรงแล้ว หลักการของบริการ SCB BCM (Business Cash Management) ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) นั้น ไม่แตกต่างจากบริการ Corporate Connect ที่ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ได้เปิดตัวไปแล้วเมื่อ 3 ปีก่อน เพราะเน้นจับกลุ่มลูกค้าองค์กร (Corporate) เป็นหลัก
แต่รูปแบบของบริการ SCB BCM นั้น สามารถจับต้องได้ง่ายกว่าและเป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ในกระบวนการปรับเปลี่ยนทิศทางการทำธุรกิจ ของ SCB ไปสู่เป้าหมายวางไว้ให้เป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (Universal Banking)
"SCB BCM เป็นภาคต่อเนื่องของ change program ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาธนาคารไทยพาณิชย์ไปสู่การเป็น Universal Banking ที่เราได้ประกาศออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว และมีการแถลงความ คืบหน้าออกมาเป็นระยะ" วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร SCB กล่าวในวัน เปิดตัวบริการ SCB BCM เมื่อต้นเดือนก่อน
หลักการของบริการ SCB BCM คือการที่ธนาคารจะเข้าไปมีบทบาทในทุกกระบวนการของธุรกรรมการบริหารเงินสด ของลูกค้าผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นองค์กรต่างๆ ทั้งที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ทำให้องค์กรเหล่านั้น มีความคล่องตัวในการบริหารเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกรรมที่ SCB BCM ให้บริการมี มากถึง 12 ประเภท "ผมเชื่อว่าไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารแห่งเดียวที่ให้บริการด้าน Cash Management ครบวงจรที่สุด เพราะปัจจุบันยังไม่มีธนาคารพาณิชย์รายใดที่สามารถให้บริการได้ครบทั้ง 12 บริการแบบนี้" จรัมพร โชติกเสถียร ผู้ช่วยผู้จัด การใหญ่ กลุ่มบริการบริหารเงินเพื่อธุรกิจ SCB ซึ่งเป็นผู้ดูแลบริการนี้โดยตรงยืนยัน
ทั้ง 12 ธุรกรรมที่ SCB BCM มีให้ บริการ อาทิ บริการรับฝากเงินสด หรือเช็คตามสาขา (SCB Local Collect) บริการรับชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการแก่ บริษัทที่มีการจำหน่ายสินค้าเงินผ่อน หรือบริการต่างๆ ที่มีการรับชำระเงินเป็นรายงวด (SCB Bill Payment) บริการออกเช็ค แทนลูกค้า (SCB Cheque Issuance) ตลอดจนบริการไปรับเงินจากสาขาของลูกค้า แล้วนำเงินมายังสาขาธนาคารเพื่อตรวจนับและนำเงินฝากเข้าบัญชีของลูกค้า (SCB Cash Pick Up) ฯลฯ (รายละเอียดของทั้ง 12 บริการ โปรดดูจากกราฟิก)
และด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ลูกค้าที่ใช้บริการ SCB BCM สามารถเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของรายการได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทั้งภายในประเทศ หรือต่างประเทศ โดยดูได้จากบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ SCB Business Net
SCB ได้เริ่มพัฒนาการธุรกิจ Cash Management เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ฝ่ายบริหารเริ่มนำ Change Program เข้ามาใช้ (รายละเอียดของ Change Program โปรดอ่านนิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนธันวาคม 2546 หรือ www.gotomanager.com)
ความคืบหน้าของ Change Pro-gram ได้ประกาศออกมาเป็นระยะ เริ่มจาก การประกาศตัวเป็น Universal Banking เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ด้วยการบูรณาการ ระหว่างธนาคารกับบริษัทในเครือ คือบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ ต่อด้วยการประกาศตัวรุกเข้าสู่ธุรกิจรายย่อย (Retail Banking) ด้วยการเปิดตัวกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ อดีตรองประธานและกรรมการ อำนวยการ ฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล บริษัทยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง ที่เข้ามาเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแล สายงาน Retail Banking เมื่อตอนปลายปี และล่าสุดคือการประกาศรุกเข้าสู่ธุรกิจรายใหญ่ ระดับองค์กรธุรกิจ (Corporate Banking) เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
SCB BCM จึงถือเป็นการประกาศความต่อเนื่องครั้งที่ 4 สำหรับการก้าวสู่การเป็น Universal Banking
เพียงแต่บริการนี้ดูจะจับต้องได้ง่ายกว่าการเปิดตัว 3 ครั้งแรก โดยเฉพาะสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้บริหารของฝ่ายบัญชี และการเงินของแต่ละองค์กร เพราะบริการ นี้จะทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินทำงานได้ สะดวกสบาย และมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยไม่ต้องไปวุ่นวายกับงานประจำที่ต้องลงรายละเอียด โดยมีธนาคารเป็นผู้ดำเนิน การแทนให้ทั้งหมด
ข้อดีคือผู้บริหารของฝ่ายบัญชีและการเงินขององค์กรที่เข้ามาใช้บริการ จะมีเวลา และสมาธิในการคิดถึงเรื่องการบริหาร การเงิน และการจัดหาเงินทุนให้กับองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แต่ข้อเสียก็คือหากบริการนี้ได้รับความนิยมยิ่งขึ้นๆ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานระดับล่างของฝ่ายบัญชีและการเงินของแต่ละองค์กร คงต้องหวั่นไหวกับสถานภาพ ในอนาคตของตนเองในองค์กรนั้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน
|
|
|
|
|