Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547
เผยโฉมหน้า Regulatory รับมือกำเนิด กทช.             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ขจร เจียรวนนท์
Telecommunications
ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์




หน่วยงานเกิดใหม่ของบรรดากลุ่มทุนสื่อสาร เพื่อรองรับการมาของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เขาเหล่านี้ นอกจากมีความรู้ทั้งกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเมืองแล้ว ยังต้องมีศิลปะเจรจาต่อรองแบบครบเครื่อง

การถือกำเนิดของ กทช. หน่วยงานอิสระถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตบริการโทรคมนาคม แทนที่หน่วยงานรัฐเดิม อย่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท) และการ สื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้กลายเป็นคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อกลไกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ภายใต้ "กติกา" ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้

เอกชนผู้รับสัมปทานทุกรายต่างก็คาดหวังว่า การมี กทช. จะส่งผลต่อเรื่องของสัมปทาน ใบอนุญาต ค่าเช่าโครงข่าย, ค่าเชื่อมโยงวงจร ที่เคยมีปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ให้มาอยู่ภายใต้ "กติกา" เดียวกัน

นอกจากนี้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของ ทศท และ กสท. จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากผู้ให้สัมปทานมาเป็น "คู่แข่งขัน" ยิ่งทำให้เอกชนผู้รับสัมปทานเดิมต้องตกที่นั่งลำบากยิ่งกว่าเดิม

เนื่องจากเป็นสัมปทานภายใต้หน่วย งานภาครัฐ กลุ่มทุนสื่อสารจึงมี "ทีมงาน" ทำหน้าที่ติดต่อกับหน่วยงานรัฐต้นสังกัด ที่เป็นเจ้าของสัมปทาน และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียกหน่วยงานนี้ว่า "รัฐกิจสัมพันธ์" แต่ก็เป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ มีผู้รับผิดชอบเพียงไม่กี่คน ภารกิจส่วนใหญ่ ของทีมนี้เป็นเรื่องของการติดตามสัญญาสัมปทาน และกฎระเบียบต่างๆ

"ภารกิจเดิมเป็นเรื่องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานของการสื่อสารฯ หน่วยงานต้นสังกัด มีอะไรที่เราต้องปฏิบัติ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเทคนิค เอกสาร เหมือนกับการมีฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ดีลกับหน่วยงานรัฐโดยตรง" วิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคู่ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือแทค บอก

แต่นั่นอาจเป็นเพียงอดีตเพราะนับ จากนี้อำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานรัฐเหล่านี้ต้องเปลี่ยนไปอยู่ในมือของ กทช. ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแบบครบวงจร ตั้งแต่การกำหนดค่าธรรม เนียมใบอนุญาตต่างๆ ควบคุมให้เกิดการแข่งขันเสรี และความเป็นธรรม การกำหนด ค่าเชื่อมโยงสัญญาณ (Inter Connection Charge) บรรดากลุ่มทุนสื่อสาร จึงต้องเฟ้นหาบุคลากร เข้ามาทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับ กทช. เพื่อรับมือกับกฎ กติกาใหม่ที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นธรรมใน การดำเนินธุรกิจที่เป็นเป้าหมายของทุกกลุ่มทุนสื่อสาร

"คนที่จะเข้ามาดีลกับ กทช. จำเป็น ต้องมีความรอบรู้ มีความเข้าใจเรื่องของกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ควรจะต้องพูดให้เป็นภาษาเดียวกัน เพื่อทำให้ประเด็นที่พูดคุยมีความชัดเจนมากขึ้น เรื่องต่างๆ รวดเร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่" วิชัยบอก

ดังนั้นการได้คนระดับอดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข อย่างกิตติ อยู่โพธิ์ และอดีตรองอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขอย่างวิวัฒน์ สุทธิภาค มาเป็นแกนนำในหน่วยงานที่ใช้ชื่อว่า "Regulatory Affair" แปลเป็นไทยได้ว่า "รัฐกิจสัมพันธ์" สำหรับ วิชัยแล้วเขาบอกว่าเป็น "โชคดี" ของยูคอม ที่ได้คนระดับนี้มาร่วมงาน

ทั้งกิตติ อยู่โพธิ์ และวิวัฒน์ สุทธิภาค จะเข้ามาเป็นแกนนำอยู่ในหน่วยงาน Regulatory Affairs ของยูคอม ร่วมกับพิทยาพล จันทนสาโร ซึ่งรับผิดชอบ Regulatory Affairs ของแทค

"ไม่ใช่เรื่องของอำนาจ เพราะคนเหล่านี้เขาเกษียณอายุราชการไปแล้ว การที่หน่วยงานจะตัดสินใจอะไรลงไป ต้องขึ้นอยู่กับเจ้านายปัจจุบัน ไม่ใช่เจ้านายในอดีต สิ่งสำคัญอยู่ที่ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความเข้าใจในตัวองค์กร ที่จะเชื่อมโยงความแตกต่างระหว่างสององค์กรได้ดีและรวดเร็ว แทนที่จะต้องไปนับ 1 ใหม่กับคนใหม่"

"การมีหน่วยงาน Regulatory Affairs ไม่ใช่เรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการที่จะสร้างหน่วยงานขึ้นมารองรับเพื่อเชื่อมโยง ความรู้ ความเข้าใจ ความแตกต่างระหว่างสองหน่วยงาน ให้สามารถทำงานรวมกันได้" วิชัยบอกด้วยความเชื่อมั่น

วิชัยเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังสับสน ระหว่างคำว่า "รัฐกิจสัมพันธ์" และ "ล็อบบี้ยิสต์" ซึ่งคำหลังนั้นมีความหมายในแง่ลบ ทั้งๆ ที่เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบริษัทสื่อสารรายใหญ่ในต่างประเทศ

"ไม่ใช่เรื่องของ ผลประโยชน์อย่างเดียว เพราะถ้าจะล็อบบี้จริงๆ เป็นเรื่องของคนที่เป็น Management ไม่ใช่คนที่เป็น Regulatory เขามีหน้าที่ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจมากกว่าจะไปล็อบบี้ใคร"

ค่ายทรูเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเตรียมรับมือกับการมี กทช. โดยได้ยุบรวม หน่วยงาน Regulatory เป็นหนึ่งเดียว โดย มีอธึก อัศวานันท์ อดีตมือกฎหมายจากสำนักงานกฎหมาย Baker & Mckenzie ขุนพลคู่ใจของศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอ เป็นแกนนำในการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานรัฐ

ส่วนในภาคปฏิบัติ ทรูได้แต่งตั้ง "ขจร เจียรวนนท์" หนึ่งในทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลเจียรวนนท์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า ทีม Regulatory Management เป็นตำแหน่งใหม่ที่ตั้งขึ้นช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ส่วนในฟากของทีเอ ออเร้นจ์ มีรวิวรรณ พิบูลธนพัฒน์ Regulatory Directory ที่มีประสบการณ์จากสหรัฐอเมริกา ต่อมาโมโตโรล่า ประเทศไทย ทาบทามให้ไปร่วมงาน และด้วยฝีไม้ลาย มือที่มีความคล่องตัวสูง รวิวรรณถูกออเร้นจ์ ดึงตัวเข้าไปทำงานได้พักใหญ่ ก่อนจะรวม เป็นหน่วยงานเดียวกันกับทีมของทรู

ขจรบอกว่าเขายังบอกรายละเอียดเกี่ยวกับแผนงานที่จะเสนอในเวลานี้ไม่ได้มากนัก ต้องใช้เวลารอดูนโยบายของคณะกรรมการ กทช. ว่าจะออกนโยบาย หรือกติกามาอย่างไร แต่ทีมงานก็ได้เตรียมการบ้านเอาไว้ให้พร้อม

"เวลานี้เราต้องเตรียมทีมงาน เพื่อเข้าไปเจรจา ส่วนเนื้อหาที่เจรจาจะเป็นเรื่องอะไร ต้องรอดูท่าทีและแนวทางที่ กทช. ออกมาก่อนจึงจะบอกได้ ซึ่งเอกชนแต่ละรายมีเงื่อนไขรายละเอียดในการเจรจาแตกต่างกันไป แต่สุดท้ายแล้วประโยชน์สูงสุดต้องเป็นของประชาชน"

แทค และทรู เป็นเพียงแค่บางส่วน ของกรณีตัวอย่าง เพราะทุนสื่อสารทุกรายเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายชินคอร์ปอเรชั่น และทีทีแอนด์ที ก็ล้วนแต่มีรายชื่อของผู้ที่จะทำหน้าที่เป็น Regulatory ติดต่อกับหน่วยงานรัฐทุกราย และคนเหล่านี้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ โดยที่ต้องเป็นธรรมกับทุกบริษัท และหน่วยงานรัฐ และที่ต้องไม่ลืมคือ "ประชาชน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us