|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2547
|
|
หากการแยกตัวออกมาเป็นอิสระจากธนาคารกรุงไทยและนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็น Turning Point แรกของบริษัทบัตรกรุงไทย (KTC) แล้ว การที่ KTC มีสมาชิกบัตรเครดิตครบ 1 ล้านใบ ก็น่าจะถือเป็น Turning Point ที่ 2 ของ card issuer รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรายนี้ได้เลยทีเดียว
เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา KTC เพิ่งอนุมัติบัตรเครดิต ใบที่ 1 ล้าน ให้กับสุนัดดา พัดคุ้ม ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัทซันทาว เวอร์ ส่งผลให้ยอดผู้ถือบัตรเครดิตของ KTC ทะลุระดับ 1 ล้านใบ เป็นรายแรกของ card issuer ในประเทศไทย
ถือเป็นยอดการเติบโตที่รวดเร็วมาก สำหรับ KTC ที่เพิ่งทำ ธุรกิจอย่างเป็นเอกชนเต็มรูปแบบมาได้เพียงแค่ 2 ปีเศษๆ เท่านั้น
KTC ตั้งขึ้นในปี 2539 เพื่อเป็นบริษัทลูก ทำหน้าที่บริหารบัตรเครดิตให้กับธนาคารกรุงไทย ซึ่งในช่วงนั้นยอดผู้ถือบัตรเครดิต ของธนาคารกรุงไทย มีอยู่เพียง 94,156 ใบเท่านั้น
ต้นปี 2545 ก่อนที่จะแยกตัวออกมา ยอดผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.8 แสนใบ แต่หลังจากแยก ตัวเป็นอิสระ และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในสิ้นปี 2545 ยอดผู้ถือบัตร KTC ได้เพิ่มขึ้นมาถึง 595,375 ใบ และขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็น 785,107 ใบ ในสิ้นปี 2546
การที่มีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตครบ 1 ล้านใบ เมื่อรวมกับจำนวนลูกค้าประเภทอื่น เช่นบัตรเดบิต ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ประมาณ 4 แสนใบ และลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลอีกประมาณ 1 แสนบัญชี ทำให้ KTC ต้องพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ให้สอดรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาดังกล่าว
"เราเชื่อว่าอีก 3-5 ปี จำนวนลูกค้าของเรา ในทุกธุรกิจจะเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 5 ล้านคน" นิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTC บอก
จำนวนคน 5 ล้านคน ถือเป็นชุมชนย่อมๆ ชุมชนหนึ่ง เมื่อผนวกกับจุดแข็งเรื่องการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน ถือได้ว่าเป็นจุดได้เปรียบที่สำคัญของ KTC
โมเดลธุรกิจของ KTC ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ถือเป็น การต่อยอดจากโมเดลเดิมที่เน้นการสร้างสรรค์สินค้า ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยในโมเดลใหม่ KTC ได้นิยามตัวเองเป็น membership company โดยลูกค้าทุกคนในทุกสินค้า ถือเป็น 1 ในสมาชิกของบริษัท ซึ่ง KTC ต้องพยายามสรรหาสินค้าหรือบริการ มานำเสนอให้ตามความต้องการจากพฤติกรรมที่แสดงออกมาของสมาชิกเหล่านี้
ปัจจุบันสมาชิกผู้ใช้บริการของ KTC นอกจากสามารถใช้บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อผ่อนชำระสินค้า ที่ได้เปิดตัวบริการไปแล้ว KTC กำลังเตรียมจะขยายบริการออกไปยังธุรกิจอื่นๆ อีก เช่น Virtual Payment คือการให้บริการ ชำระค่าบริการต่างๆ ผ่านระบบของ KTC การออกบัตร Purchasing Card ให้กับหน่วยงานราชการไว้ใช้จ่ายชำระรายการสินค้า ซึ่งเป็น โครงการต่อเนื่องจากโครงการ GFMIS ของธนาคารกรุงไทย
นอกจากนี้ KTC กำลังจะขยายการให้บริการสินเชื่อผ่อนชำระจากเดิมที่บริการเฉพาะผู้ถือบัตร KTC ไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วไป รวมถึงการเสนอขายบริการประกันภัย และประกันสุขภาพ
ที่สำคัญคือธุรกิจให้บริการสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ รวมถึงการเปิดบริษัทท่องเที่ยวในนาม KTC World ที่เริ่มทดลองเปิดให้บริการแล้ว ฯลฯ
เรียกได้ว่าใครก็ตามที่เข้ามาเป็นสมาชิกในชุมชน KTC มีโอกาสที่จะได้รับการบริการแทบจะครบวงจรของการใช้จ่ายในแต่ละวัน
"สินค้า และบริการทุกประเภท เราสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิก แต่เรายังยืนยันว่าธุรกิจหลักของเรา คือการให้บริการบัตรเครดิต" นิวัตต์กล่าว
Membership Company น่าจะเป็นโมเดลใหม่ที่สร้างสีสัน ให้กับธุรกิจของ KTC นับจากนี้เป็นต้นไปได้มากพอสมควร
|
|
|
|
|