|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2547
|
|
ในที่สุดความคลุมเครือที่กดดันราคาหุ้นของธนาคารกรุงไทย (KTB) มากว่า 3 เดือน ก็ถูกเฉลยออกมาแล้วว่ามีสาเหตุมาจากความต้องการสกัดกั้นการกลับเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ รอบ 2 ของวิโรจน์ นวลแข ที่พ้นจากตำแหน่งหลังหมดวาระไปเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม
จากจุดเริ่มต้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นำนิยามการจัดชั้นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ใหม่มาใช้ก่อนหน้าเวลาอันควรถึง 3 ปี ทำให้ตัวเลข NPLs งวดไตรมาสที่ 2 ของ KTB เพิ่มขึ้นมาทันที 4.6 หมื่นล้านบาท จากลูกหนี้ 14 รายและราคาหุ้น KTB ลดลงจากที่เคยเคลื่อนไหวในระดับ 10 บาท เหลือเพียง 7 บาท
หลังจากนั้น ธปท.ก็ได้ออกประกาศกำหนดคุณสมบัติบุคคลที่จะมาเป็นผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ใหม่ โดยอาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ปี 2505 มาตรา 22(8) เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ซึ่งระบุคุณสมบัติต้องห้ามไว้ในลักษณะที่กว้างยิ่งกว่ามหาสมุทร โดยเฉพาะในข้อ 8 ที่ว่า
"มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทำหน้าที่ตามสมควรในการกลั่นกรองหรือตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขาดจรรยาบรรณหรือขาดความรอบคอบที่พึงมีในการปฏิบัติหน้าที่อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงินโดยรวม หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินอย่างมีนัยสำคัญ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจสถาบันการเงิน"
มีการโยงตัวเลข NPLs ที่เพิ่มขึ้นของ KTB ว่าเกิดจากการละเลยในการทำหน้าที่ของวิโรจน์ ในช่วงที่เป็นกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ทำให้เขาขาดคุณสมบัติที่จะกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งดังกล่าวอีกครั้ง แม้ว่าจะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของธนาคารแล้วอย่างถี่ถ้วน
ในที่สุด ปมทุกอย่างก็คลี่คลายจากหนังสือของ ธปท.ที่มีไปยังคณะกรรมการของ KTB ที่ไม่เห็นชอบกับการแต่งตั้งวิโรจน์ให้กลับเข้ามารับตำแหน่ง โดยอ้างว่าขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 8 ของประกาศ ธปท.ฉบับดังกล่าว
จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีใครออกมาพูดได้ชัดเจนว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่า ธปท.มีความขัดแย้งเป็นการส่วนตัวอย่างไร กับวิโรจน์ เพราะในการแถลงข่าวในวันที่ 12 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวได้พยายามถามวิโรจน์ในประเด็นนี้ แต่เขาก็ตอบว่าก่อนหน้านั้นไม่เคยมี เพิ่งจะมีก็หลังจากถูกปฏิเสธในการกลับเข้ารับตำแหน่งใน KTB ครั้งนี้
วิโรจน์กับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ต่างรู้จักกันมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี เพราะม.ร.ว.ปรีดิยาธร คือหัวหน้าคนแรก และคนเดียวของวิโรจน์ในชีวิตการทำงานในธนาคารกสิกรไทย
"ผมโตในกสิกรไทยมากับคุณอุ๋ยตลอด" เขาบอกกับ "ผู้จัดการ" ในการให้สัมภาษณ์เมื่อกลางปี 2544 (รายละเอียดโปรดอ่านนิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนตุลาคม 2544 หรือ www.gotomanager.com)
และมีการตั้งข้อสังเกตว่าความขัดแย้งระหว่างทั้งคู่ เกิดจากความพยายามสกัดกั้นการรุกเข้าไปสู่ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของบริษัทคอมลิงค์ ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (รายละเอียดของคอมลิงค์ โปรดอ่านนิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนมีนาคม 2542 หรือ www.gotomanager.com)
บทสรุปของเรื่องนี้ดูจะทำให้ความสง่างามในตำแหน่งผู้ว่า การ ธปท.ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรหมองคล้ำลงไปไม่น้อยทีเดียว
|
|
|
|
|