Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547
"Challenger" The big game             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

บางกอกแลนด์, บมจ.
ปีเตอร์ กาญจนพาสน์
Real Estate




Exhibition & Convention Center ที่กำลังก่อสร้างในเมืองทองธานี ได้ทำสถิติใหม่ของการเป็นศูนย์ใหญ่ระดับโลก และเป็น "Hub" แห่งใหม่ของเอเชีย แน่นอน อนันต์ กาญจนพาสน์ ไม่เคยทำอะไรเล็กๆ และครั้งนี้เขามีปีเตอร์ กาญจนพาสน์ ลูกชายคนโตช่วยสร้าง "big game" ครั้งใหม่อย่างน่าสนใจ

หลังจบเกมการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปลายปี 2541 ศูนย์กีฬาเมืองทองพื้นที่ 20,000 ตาราง เมตร เคยเป็นเผือกร้อนในมือของอนันต์ กาญจนพาสน์ แต่หลังจากนั้นเพียงไม่นาน ศูนย์แห่งนี้กลับกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องโดยผ่านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจนเป็นอีกโมเดลหนึ่งของการทำธุรกิจศูนย์ประชุมที่มีเพียงไม่กี่แห่งในเมืองไทย

ปี 2543 "อิมแพคคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์" อาคารทรงไทยร่วมสมัยพื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางเมตรได้สร้างเพิ่มอีก 1 อาคาร และในปี 2546 ได้ขยายพื้นที่ของอิมแพคจาก Hall 1-4 เป็น Hall 5-8 เพิ่มอีก 4 อาคาร จำนวน 50,000 ตารางเมตร รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 100,000 ตารางเมตรในปัจจุบัน

ปี 2547 ลานจอดรถ และต้นไม้ใหญ่หลายร้อย ต้นด้านหน้าที่เคยให้ร่มเงาขนานไปกับแนวถนน ถูกรื้อทิ้งอย่างเร่งรีบ เพื่อสร้างเป็นอาคารหลังใหม่ "ชาแลนเจอร์" ในพื้นที่ 60,000 ตารางเมตร เพื่อให้แล้วเสร็จภายในปี 2548

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงเกมตัวใหม่ในสไตล์การตลาดที่ร้อนแรงแบบเดิมๆ ของอนันต์เท่านั้น ปีเตอร์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทบางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ลูกชายของเขายืนยันว่าทันทีที่สร้างเสร็จ พื้นที่รวมทั้งหมด 160,000 ตารางเมตร จะทำให้อิมแพค บางกอกเป็นศูนย์ประชุมและที่แสดงสินค้า ซึ่งใหญ่ติดอันดับ 11 ของโลกโดยทันที

ความพร้อมของชาแลนเจอร์ประกอบกับศักยภาพ ด้านอื่นๆ ของเมืองไทย เช่น การคมนาคม สนามบินแห่งใหม่ โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ และน่าจะมีโอกาสดึงงานใหญ่ๆ ที่เคยจัดในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงมาได้ เช่น งานทางด้านไอที งานทางด้านเทเลคอมเอเชีย หรืองานที่เกี่ยวกับเครื่อง จักรกล

ภาพใหม่ของอิมแพคได้สะท้อนให้เห็นว่า คราวนี้ บางกอกแลนด์ไม่เพียงแต่เป็นคู่แข่งกับศูนย์อื่นๆ ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ได้ก้าวไปเป็นศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าแห่งใหม่ของเอเชีย แข่งกับอีกนานาประเทศที่กำลังก่อสร้างศูนย์แห่งใหม่เช่นกัน เช่น ฮ่องกง ซึ่งที่แห่งใหม่ของเขามีโลเกชั่นที่ดีมากเพราะติดกับสนามบิน เพียงแต่พื้นที่ 60,000 ตารางเมตรที่สร้างใหม่นั้น เป็นฮอลล์หลายๆ ฮอลล์เชื่อมต่อกันไม่ใช่พื้นที่โล่งไม่มีเสาอย่างเมืองไทย

"คู่แข่งเราน่าจะเป็นสิงคโปร์มากกว่า เพราะเขากำลังสร้างศูนย์ประชุมแห่งใหม่ขยายจาก 60,000 ตาราง เมตร เป็น 1 แสนตารางเมตร ในมาเลเซียเองก็กำลังสร้างใหม่เหมือนกันแต่เล็กกว่าเรา" ปีเตอร์ให้ความเห็นเพิ่มเติม

"Milan Fiera Milano Congressi Center" ในประเทศอิตาลี คือ Convention Center ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่รวมทั้งหมด 375,000 ตารางเมตร รองลงมาคือ "Congress Center Messe Frankfurt" ในประเทศเยอรมนี พื้นที่ 321,000 ตารางเมตร

ในเอเชีย "Tokyo International Exhibitional Center" มีพื้นที่มากที่สุด 230,000 ตารางเมตร

ปัจจุบันอิมแพคมีขนาดความใหญ่อยู่อันดับที่ 23 ของโลกและจะเป็นอันดับที่ 11 รองจากศูนย์ประชุม Paris-Nord Villepinte ทันทีเมื่อชาแลนเจอร์สร้างเสร็จ

การก่อสร้างโดยบริษัทบุยล์ (ไทย) ไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วง บางกอกแลนด์สามารถแสดงศักยภาพสร้างโครงการใหญ่ที่มีมูลค่ามหาศาลมาแล้วหลายโครงการในเมืองทองธานี โครงการที่มีมูลค่าเพียง 6,000 ล้านบาท ของชาแลนเจอร์ จึงเป็นเพียงส่วนย่อยส่วนเดียวเท่านั้น

วิธีคิดในเรื่องเกมการตลาด จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากกว่า ต้องยอมรับว่าอนันต์มองการณ์ไกลที่ทำศูนย์กีฬาฯ ในโครงสร้างของอาคารอเนกประสงค์ (Multi Purpose) ทำให้อิมแพคและอาคารอารีน่าสามารถรองรับการจัดงานได้ในหลายรูปแบบ

จากสถานที่จัดแข่งมวยในช่วงเอเชี่ยนเกมส์ เปลี่ยนเป็นวัดได้อย่างน่าประทับใจ เมื่อครั้งนำพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดียมาให้คนได้เข้าไปเคารพบูชา เคยเป็นสนามการแข่งขันเทนนิสระดับโลก ATP Thailand Open 2004 ที่ตื่นเต้นเร้าใจ และสร้างความบันเทิงในรูปแบบของสถานที่จัดคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดังของเมืองไทยและของโลก เช่นโปรแกรมตลอดปีของศิลปินใหญ่จากค่ายแกรมมี่ คอนเสิร์ตของเอลตัน จอห์น "Mariah Carey Live in Bangkok" "เอ็นริเก้ อิเอลเซียล เดอะเซเว่นทัวร์ ไลฟ์ อินแบงค็อค" "วิทนีย์ ฮุสตัน ไลฟ์ อินแบงค็อค 2004" "สกอร์เปียน ไลฟ์ อินแบงค็อค" หรือคอนเสิร์ต "Eagles Live in Bangkok Farewell 2004" เมื่อกลางเดือนตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา รวมทั้งงาน OTOP CITY ในปลายนี้ที่เตรียมใช้พื้นที่ของอิมแพคทั้งหมด ฮอลล์ 1-10 รวมทั้งพื้นที่ในอารีน่าด้วย

"ถ้าเราไม่มีอารีน่า เราก็คงไม่มีงานใหญ่ๆ อย่าง นี้บ่อยครั้งในเมืองไทย หรือหากเราไม่มีพื้นที่รวมกัน ทั้งหมดเป็นแสนตารางเมตร งานใหญ่ๆ เช่น บางกอกเจมส์ งานประชุมนานาชาติเรื่องโลกเอดส์ หรืองาน Big&Bih ที่จะใช้พื้นที่ทั้งหมดถึง 10 ฮอลล์ คงไม่เกิด"

ปีเตอร์ กาญจนพาสน์ อธิบายถึงวิธีคิดที่สะท้อนถึงความมั่นใจในการก่อสร้าง "ชาแลนเจอร์" นอกเหนือจากคิวจองพื้นที่ยาวเหยียดไปจนถึงปี 2548 ตัวเลขการเกิดขึ้นของ Event ใหญ่ๆ ที่หมุนเวียนจัดงานกันทั่วโลก มีมากมาย แต่ข้อจำกัดของสถานที่ทำให้เมืองไทยยังดึงงานเหล่านั้นเข้ามาได้น้อยมาก

ในระยะเริ่มต้น การขายพื้นที่ในอิมแพค อนันต์ และปีเตอร์ สองพ่อลูกได้บุกเบิกในเรื่องการทำตลาดกับทุกกระทรวงในเมืองไทย และได้สร้างสายสัมพันธ์ไว้อย่างต่อเนื่องก่อนที่จะส่งต่อให้ลูกชายคนที่ 2 คือ พอล กาญจนพาสน์ ผู้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทอิมแพค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ ดูแลเรื่องการตลาด และ operation ทั้งหมดในปัจจุบัน โดยพอลเอง ก็ต้องเตรียมทีมทำตลาดต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการทำตลาดของภาครัฐบาลที่มีแผนการดึงงานใหญ่จากต่างประเทศมาจัดที่เมืองไทย

ตามแผนระยะยาวชาแลนเจอร์ ยังมีโรงแรมอีกโครงการหนึ่ง แต่ดูเหมือนว่าคราวนี้ อนันต์ระมัดระวังตัว ในการลงทุนมากขึ้น วิธีคิดที่เขาย้ำกับลูกชายก็คือ ต้องให้ชาแลนเจอร์สร้างเสร็จ และมีกลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามาจัดงานให้แน่นอนแผนการสร้างโรงแรมจึงจะเดินหน้าต่อได้

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าทั้งหมดของอิมแพค และชาแลนเจอร์ ดำเนินการโดยบริษัทเอ็กซิบิชั่น แมน เนจเม้นท์ ที่ถือหุ้นโดยบางกอกแลนด์ 100 เปอร์เซ็นต์ และปัจจุบันคือแหล่งทำรายได้สำคัญปีละประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี และทันทีที่ชาแลนเจอร์สร้างเสร็จรายได้ที่จะเข้ามาคาดหวังว่าน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว

รวมทั้งมีแผนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2548 โดยแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ซิมิโก้ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน

ในขณะเดียวกันทรัพย์สินหลักๆ ของบางกอกแลนด์ ที่ยังคงเหลืออยู่ เช่น ที่ดินอีกประมาณ 250 ไร่ รอบๆ ทะเลสาบในเมืองทองธานีและอีก 380 ไร่ ในทะเลสาบ รวมทั้งที่ดินแปลงใหญ่อีกประมาณ 1,500 ไร่ตรงข้ามสนามกอล์ฟยูนิโก้ บนถนนศรีนครินทร์ ถูกกำหนดแผนงานการพัฒนาที่ดินไว้แล้วเช่นกัน เพียงแต่รอเวลาและจังหวะที่ดีเท่านั้น

"โรงแรมอาจจะไม่อยู่ที่ชาแลนเจอร์ แต่อาจจะอยู่ที่ทะเลสาบก็ได้ เพราะทางบริษัทรับเหมาเคยบอกว่า การก่อสร้างในน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น"

และปีเตอร์ยังย้ำด้วยคำพูดที่คุ้นหูมากและได้ยินมาตลอดในการติดตามทำข่าวของบริษัทบางกอกแลนด์มาตลอดเวลาเกือบ 20 ปีว่า

"เรายังมีโครงการใหม่ๆ ที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงอีกมากครับ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us