Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547
ปัจจัยภายใน             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

บางส่วนของดีลที่เป็นผลงานจากอดีตถึงปัจจุบัน
ปัจจัยภายนอก
Wharton Alumni Powerful Network

   
search resources

ก้องเกียรติ โอภาสวงการ




- เคยตอบคำถามหรือมีคนถามไหมว่า ดีลทั้งหลายในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น IPO หรือการรวมกิจการ ทำไมดร.เป็นคนทำเสียส่วนใหญ่

ก็ตอบไปหลายทีแล้ว ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันอยู่ที่ประสบการณ์ ความน่าเชื่อถือ แล้วก็คุณภาพมากกว่า ผมว่าอยู่ตรงนี้เท่านั้นเอง

- ฝรั่งมาก็แทรกไม่ได้

แทรกไม่ได้ เขาสู้เราไม่ได้ ฝรั่งยังต้องใช้เราเลย หลายครั้งแล้ว ผมว่าประสบการณ์นี่ ผมมีมากกว่าหลายๆ คน แน่นอนมีหลายคนที่มีประสบการณ์มากกว่าผม แต่มันก็กลับมาที่ปัจจัยต่อไปคือคุณภาพของงานเป็นอย่างไร ความน่าเชื่อถือเป็นอย่างไร มูลค่าเพิ่มอื่นๆ มีหรือไม่ ซึ่งผมมี

- คุณค่านี้ คิดว่ามันเป็นของตัวบริษัท หรือของตัวดร.เอง

ในอดีตนี่เป็นของตัวผม แต่วันนี้ผมทำให้เป็นของบริษัทแล้ว เพราะทีมผมเดี๋ยวนี้ก็ซีเนียร์ขึ้นมาหลายคนแล้วก็เป็นนโยบายผมที่จะค่อยๆ ลดบทบาทตัวเอง เพราะตอนนี้พนักงานในบริษัทก็ 920 คน ต่างกับวันแรกที่ผมตั้ง มี 7 คน ก่อนรวมเรามี 200 คน พอรวมแล้ว รวมกับอีก 720 ก็เป็น 920 คน

- ถือเป็นคนแรกๆ ที่ทำ IB ยุคใหม่ๆ และทำต่อเนื่องมากที่สุด

ใช่

- คนอื่นที่ทำอาจจะหายไป

คือผมชอบเป็นคนที่มองไปข้างหน้าว่า trend ของวงการการเงินคืออะไร คือผมจะมองล่วงหน้า และผมมักจะเป็นคนแรกที่เข้าไป จำได้ไหม สมัยก่อนตอนผมอยู่กสิกรไทย ผมก็เป็นคนแรกที่เป็นกรรมการบริษัท venture capital แห่งแรกของประเทศ

- ธนสถาปนา

ก็ช่วยก่อตั้งขึ้นมา เป็นคนแรกๆ ที่เริ่มคุยกับ fund manager เมืองนอก สมัยผมอยู่แบงก์กสิกรไทย ก็เริ่มมีคุยกันเป็นร้อยคนเลย เสร็จแล้วพอเห็น trend ผมก็เลยออกมาอยู่กับแบริ่ง เพราะดูว่า trend ของนักวิเคราะห์น่าจะไปได้ดี เพราะประเทศไทยตอนนั้นน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจของผู้ลงทุน ในปี 1988 แล้วผมก็เป็น analyst คนแรกๆ ของประเทศไทย แล้วก็ตั้งทีมขึ้นมาเป็นระบบ วิเคราะห์หุ้นเป็นกิจจะลักษณะ ไม่ใช่ว่าโมเม เชื่อเรื่องข่าวลืออะไร มันไม่ใช่

แล้วพออยู่ 4 ปี ผมก็ดูอีกว่า trend ของ IB บ้านเรานี่มันไม่เกิดเลย แต่เมืองนอกมันมีมาก เราก็ต้องเอามาทำ ก็เป็นคนแรกๆ ที่ต้องบอกว่าเป็นเถ้าแก่เสียเองแล้ว เป็นลูกจ้างมาพอแล้ว 8 ปี อยู่แบงก์ 4 ปี อยู่แบริ่ง 4 ปี แล้วผมเองก็เคยเขียนหนังสือ สอนให้คนเป็นเถ้าแก่ ก็ต้องทำซะเอง ให้คนอ่านเขาเห็น คือเราไม่ใช่เป็นหนอนหนังสือ ที่อ่านแต่ตำรา แล้วสอน พูดไปตามตำรา ไม่ใช่ เราเป็นนักปฏิบัติด้วย แล้วผมสามารถพิสูจน์ให้คนเห็นว่าผมก็สามารถทำได้ ไม่ใช่ว่าเรียนหนังสือเก่งอย่างเดียว แต่ทำอย่างอื่นไม่เป็น

- ดีลแรกของดร. คือ ดีลอะไรที่ได้ทำเป็น IB จริง

ดีลแรกคือเอา SATTEL เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วการรวมกิจการก็คือเซ็นทรัล โรบินสันเป็นดีลแรก

- ถือว่าเป็นดีลที่ประทับอยู่ในวงการ คนยังนึกถึงได้เลย

แล้วมันก็ยังมีดีลทั้งใหญ่เล็กอีกหลายอัน ก่อน SAMART เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เราก็เป็นที่ปรึกษาให้เขา ตอน SAMTEL เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เราก็เป็นคนเจรจาขอซื้อหุ้นบริษัทออสเตรเลีย ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์เขา ผมก็ต่อรองราคาให้ ช่วยทาง SHIN ขาย IBC พอ SAMART เข้าตลาดฯ มีเงินเหลือ อยากจะซื้อ GSS เราก็หาซื้อให้ พอเขามีปัญหาเรื่องการเงินจะขายทิ้ง เราก็ช่วยขายให้ พอ GSS จะออกจากตลาดฯ เราก็ช่วยเขาอีก จะทำ management buy-out เราก็ช่วย

- มีคนเคยพูดอยู่คำหนึ่ง ซึ่งผมก็ไม่ค่อยชอบ แต่ก็มักพูดอยู่เสมอ คือคำว่า connection คำนี้สำหรับ ดร.มีความหมายอย่างไร

connection ผมคิดว่ามันก็มีส่วนบ้าง แต่ว่าไม่ใช่คำตอบ อย่างที่ผมบอก มันมีตั้งหลายปัจจัยที่เล่าให้ฟัง connection จริงๆ ผมไม่ได้ใช้เลย ในอดีตที่ผมทำดีลผมบอกได้เลย ดีลทุก ดีลผมหาด้วยหยาดเหงื่อ แม้ทุกวันนี้ดีลที่เราได้ ก็ไม่ได้ใช้ connection เราไปแข่งกับเขาหมด มีดีลไหนที่คนที่พูดคิดได้ว่าผมใช้ connection ไม่มี ช่วยบอกด้วย

- อาจเป็นนิยามแบบใหม่ ที่ ดร.รู้จักกับ family นั้น ธุรกิจนี้ จนมีความผูกพันกันมา เป็นที่ปรึกษาทั้งทางตรง ทางอ้อมจะถือว่าเป็นคำนิยามแบบนี้ได้ไหม

ผมว่าคำใหม่คือ network มากกว่า เป็น networking แล้ว networking ส่วนใหญ่ที่มี ผมจะมีกับในบางกลุ่ม นักธุรกิจเมืองนอก ยกตัวอย่าง อย่าง World Economic Forum ซึ่งผมเป็นสมาชิกอยู่ หรือว่าอย่าง Wharton School สมาคมศิษย์เก่า ผมก็เป็น director ของ Asian Executive Board ของโรงเรียนอยู่ด้วย ก็รู้จักกับคนที่น่าสนใจหลายคน

ผมยกตัวอย่าง อย่างมิสเตอร์เมอร์ติ (Narayana Murthy Chairman and CEO Infosys Technology - India) เราก็ไปนั่งอยู่ในบอร์ดด้วยกัน แล้วเป็นคนที่ผมแนะนำให้ผู้ใหญ่บ้านเรารู้จัก อย่างนี้จะถือว่าเป็น connection หรือเปล่า ผมก็ไม่รู้ แต่ผมคิดว่ามันมีที่มา ที่ไป มันเป็น networking ลูกมหาเธร์ (Mirzan Mahathir Executive Chairman and President Konsortium Logistik Berhad - Malaysia) ก็เพื่อนสนิทผม ทำไมล่ะ ก็เรียนด้วยกัน แล้วก็นั่งอยู่ในบอร์ดด้วยกัน ก็มีธุรกิจไทย-มาเลย์ เขามา JV กับกลุ่มออโต้แห่งหนึ่งของประเทศไทย ก็ผ่านการแนะนำของผม แต่บางดีลผมไม่ได้ fee ไม่ได้อะไรเลยนะ คือทำในฐานะคนรู้จัก fee ไม่มีเลย ผมบอกได้เลย ทำให้เพราะว่าอะไร รักใคร่ ชอบพอกัน ไม่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นดีลพวกนี้ คุณจะไม่เห็นปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ ดีลจบ บริษัทเราไม่เคยได้ fee แต่ผมเป็นคนจับมือ 2 คน มาจับด้วยกัน

แต่ดีลที่เราได้ fee ที่ใช้ connection ที่ว่าผมพยายามนึกอยู่เหมือนกัน แต่นึกไม่ออก

- คือสังเกตว่าเวลาผมไปที่ไหน ไปสัมภาษณ์ พวกบรรดาผู้สื่อข่าว หรือใครจะทำอะไรสักอย่าง ต้องนึกถึง ดร.ก้องเกียรติ เป็นสัญลักษณ์ เป็นความรู้สึกที่มันมีความผูกพัน ผมว่าเป็นความผูกพัน แต่จะเรียกคำไหนมันเป็นความผูกพัน ถ้าจะเรียกคำนี้ เพราะแทบจะรู้จัก family นี้ดี รู้จักคนข้างใน รู้ว่าทะเลาะเรื่องอะไรกันด้วยในบางที ใช่ไหม

คือมันถึงจุดที่บางทีเขาไว้ใจผมมาก บางทีพ่อยังสั่งลูกเลยว่าวันหลังจะทำอะไร ต้องปรึกษาคนคนนี้ มีหลายกรณี ซึ่งผมไม่รู้ แต่ในที่สุดลูกก็มาเล่าให้ผมฟัง บางกรณีนี่พ่อเขาเสียไปแล้วด้วย เขาก็มาเล่าให้ผมฟัง ว่าพ่อสั่งไว้นะ วันหลังจะทำอะไร เรื่องใหญ่ๆ ต้องปรึกษาก้องเกียรติ ก่อนที่จะคิดอะไร ผมก็ไม่รู้นะ แล้วบางทีเขาก็มาเล่าให้ผมฟังเอง ผมฟังดูก็รู้สึกภูมิใจเหมือนกันว่าเราทำอะไร ในสิ่งที่ผู้ใหญ่เขายอมรับ โดยที่เราไม่รู้ตัว ผมว่าความซื่อสัตย์ คือสิ่งที่เราแนะนำไป เราแนะนำด้วยความจริงใจ แล้วเป็นอะไรที่ดีที่สุดสำหรับเขา

- ซึ่งตรงนี้ มันดูเหมือนจะสวนทางกันในระดับที่ ดร.พูดว่า ถึงจุดหนึ่ง ดร.จะ set ทีมงานขึ้นมา แล้วให้ชื่อของบริษัท เป็นแบรนด์เนมแทน ในแง่ของความเชื่อถือ ในขณะที่ผ่านมา หลายๆ ครั้ง กลับโฟกัสไปที่ตัวบุคคลมากกว่า

คืออย่างนี้ ผมจะอธิบายให้ฟัง เดี๋ยวนี้ผู้บริหารอาวุโสของเรา หลายคนลูกค้าเองก็มีความผูกพัน ซึ่งผมดีใจที่เป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าทุกดีล 40-50 ดีล ผมต้องเข้าไปโชว์หน้าทุกครั้ง ไม่ใช่ อย่างกรณีโออิชิ เขาก็ชมว่าทีมของผม คนนั้นคนนี้ เยี่ยมจริงๆ เซอร์วิสดีมากๆ ผมก็รู้สึกดีใจแทนพนักงาน คนนั้น เดี๋ยวนี้จะเป็นอย่างนี้แล้ว ผมพยายามเทรนพนักงาน ให้รู้ว่า คอนเซ็ปต์ของการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืน แล้วทำให้ลูกค้าประทับใจ คืออะไร เพราะว่าลูกค้านั้น ไม่ใช่ว่าวันนี้เขาชอบเรา แล้วพรุ่งนี้ เขาไม่ชอบเรา แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติในตัวเราเองแล้ว เราจะไปบอกลูกค้าผิดปกติไม่ได้ ต้องตัวเราเอง เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องการให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นวิธีการทำธุรกิจของผม ผมก็พยายามถ่ายทอดกับลูกน้องหมด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us