Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ตุลาคม 2547
"จี สตีล" ระดมทุนราว7พันล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ จี สตีล

   
search resources

Metal and Steel
จี สตีล, บมจ.




จี สตีลเตรียมเพิ่มกำลังการผลิต จาก 1.8 ล้านตันเป็น 3.4 ล้านตันต่อปี ใช้เวลาดำเนินการ 15-18 เดือน ชี้จะช่วยทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าโดยจะสามารถรับรู้รายได้ ภายในปี 2549 ซึ่งจะใช้เงินลงทุน 1.4 หมื่นล้านบาทมาจากทำไอพีโอ 50% และกู้จากสถาบันการเงิน อีก 50%

นายเรียวโซ่ โอกิโน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัทจี สตีล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากกระบวนการผลิตเดิม 1.8 ล้านตันต่อปี เพิ่มเป็น 3.4 ล้านตันต่อปี โดยจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 15-18 เดือนซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2548 และจะสามารถรับรู้รายได้ภายในปี 2549 และจะทำให้รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากปัจจุบันที่มีรายได้ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2549 จะเพิ่ม เป็น 6 หมื่นล้านบาท

ปัจจุบันนี้บริษัทจี สตีลนับได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กครบวงจรตั้งแต่การหลอม หล่อ รีดร้อน รายใหญ่ที่สุดของประเทศ มีกำลังการผลิตในระดับ 1.3-1.4 ล้านตันต่อปี คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 40% ของมูลค่าตลาดรวม โดยกำลังการผลิต 95% เป็นการขายภายในประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 5% ส่งไปขายในต่างประเทศเช่นประเทศแคนาดา และยุโรป สาเหตุที่ขายภายในประเทศในสัดส่วนที่มาก เนื่องจากขณะนี้ความต้องการเหล็กภายในประเทศอยู่ในระดับที่สูงจึงจำเป็นต้องขายในประเทศ ก่อน

นายเรียวโซ่กล่าวว่า เงินลงทุนที่จะใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิตดังกล่าวประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเงินที่มาจากการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน ทั่วไป (IPO) ประมาณ 50% ของเงินลงทุน และอีก 50% จะเป็นเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินในประเทศซึ่งปัจจุบันนี้บริษัทจี สตีลถือได้ว่าเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้กับสถาบันการเงินเลย เนื่องจากภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้แล้วก็ได้ดึงพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนหลังจากการลงทุนในเฟสแรก ในการขยายกำลังการผลิตแล้วจะทำให้บริษัทสามารถประหยัดเงินตรา ต่างประเทศในส่วนของการชดเชยการนำเข้าและส่วนหนึ่งที่จะสามารถส่งออกไปได้จำนวนปีละประมาณ 4 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้นบริษัทมีแผนในส่วนของเฟสที่สองที่จะทำเกี่ยวกับโรงถลุงเหล็กซึ่งจะใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าอยู่ในระดับ 1 แสนล้านบาทภายหลังปี 2550 แล้ว

สำหรับความคืบหน้าในการนำบริษัทจี สตีลเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นแบบรายการแสดงข้อมูล (ไฟลิ่ง) ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้วซึ่งจะต้องรอให้สำนักงานก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบเสียก่อน โดยบริษัทนำหุ้นออกมากระจายจำนวน 20% ของทุนจดทะเบียน ซึ่งขณะนี้บริษัทมีทุนจดทะเบียน ทั้งสิ้น 12,000 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทมีทุนเรียกชำระแล้ว 8,200 ล้านบาท

"เชื่อว่าภายในอีก 5-10 ปีข้างหน้าความต้องการ เหล็กยังมีอยู่มากดังนั้นจึงเชื่อว่าราคาเหล็กคงจะอยู่ในระดับทรงตัวในระดับสูงต่อไปอีกเพราะขณะนี้ความต้องการในตลาดโลกมีมากกว่าจำนวนเหล็กที่ผลิตออกมา" นายเรียวโซ่กล่าว

โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทจีสตีลนั้นจะมีนายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทถือหุ้นอยู่ประมาณ 1% และครอบครัวของนายสมศักดิ์ประมาณ 10% ผู้ถือหุ้นใหญ่คือพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศที่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 60-70% ซึ่งหลังจากกระจายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปแล้วจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงประมาณ 20%

ทั้งนี้ คาดว่าหุ้น บริษัท จี สตีลจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากโดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี และเป็นบริษัทที่ไม่มีภาระหนี้ นอกจากนี้แนวโน้มธุรกิจเหล็กยังดีอยู่เพราะความต้องการเหล็กยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us