Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ตุลาคม 2547
APโดดป้อง"พีซีเอ็ม"ศาลนัดไกล่เกลี่ย17พ.ย.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
โฮมเพจ ดีคอนโปรดักส์

   
search resources

เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.
ดีคอนโปรดักส์, บมจ.
Cement
พีซีเอ็ม คอนสตรัคชั่น แมททรีเรียล, บจก.




เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ฯ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ "พีซีเอ็ม" โดดป้องบริษัทลูก อ้างไม่เคยละเมิดสิทธิบัตรดีคอน ยันไม่จ่ายค่าเสียหายแม้แต่แดงเดียว พร้อมฟ้องกลับถึงที่สุดและเรียกค่าเสียหายคืน 210 ล้านบาท ขณะที่ศาลนัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในวันที่ 17 พ.ย.นี้

จากกรณีที่บริษัท ดีคอน จำกัด (มหาชน) หรือ DCON ยื่นฟ้อง บริษัท พีซีเอ็ม คอนสตรัคชั่น แมททรีเรียล จำกัด หรือซีพีเอ็ม ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรแผ่นพื้นลอนคู่ พร้อมเรียกร้องค่าเสียหาย 210 ล้านบาท ทั้งนี้ นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP กล่าวในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท พีซีเอ็ม จำนวน 64.73% ว่า กรณีดังกล่าวศาลจะนัดทั้งสองฝ่ายไกล่เกลี่ยในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งยืนยันว่าพีซีเอ็มจะไม่จ่ายค่าเสียหาย หรือยอมรับผิดแต่อย่างใด และยืนยันว่าจะทำการผลิตสินค้าดังกล่าวต่อไป และพีซีเอ็มก็มีสิทธิที่จะผลิตได้โดยชอบธรรม เพราะขณะนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้าตัวนี้ใครเป็นผู้ผลิตก่อนและใครเป็นผู้ค้นคิด และจากการหารือกับที่ปรึกษากฎหมาย และทนายความของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ คาดว่าจะไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด

นอกจากนี้ สินค้าดังกล่าวไม่เหมือนกัน เช่นที่มีการกล่าวอ้าง ซึ่งหากดีคอนจะดำเนินการตามกฎหมายก็จะสู้คดีตามขั้นตอนกฎหมายจนถึงที่สุด ส่วนกรณีที่จะมีการฟ้องกลับ บริษัท ดีคอนนั้น คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพีซีเอ็มเป็นผู้ดำเนินการ

นายอนุพงษ์ กล่าวชี้แจงว่า บริษัทฯ เดิมชื่อ บมจ. พื้นสำเร็จรูป พีซีเอ็ม ก่อตั้งโดยนายวิทวัส พรกุล เพื่อประกอบธุรกิจผลิต/จำหน่ายแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดท้องเรียบ โดยนายวิทวัส ได้ชักชวน บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เข้ามาร่วมถือหุ้นและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ต่อมาในปี พ.ศ.2538 นายวิทวัสได้ขายหุ้น ในบริษัทฯ รวมทั้งหุ้นในธุรกิจอื่นที่ร่วมทุนกับ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ให้กับ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และแยกตัวออกไปจดทะเบียนจัดตั้ง บจก.ดีคอนโปรดักส์ ซึ่งปัจจุบันคือ ดีคอน เพื่อทำธุรกิจผลิตและจำหน่าย แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแข่งขันกับ บมจ. พื้นสำเร็จรูป พีซีเอ็ม

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ใน บมจ.พื้นสำเร็จรูปพีซีเอ็มได้มีมติให้เพิ่มทุนและขายหุ้นส่วนใหญ่ให้กับเขาและนายพิเชษฐ วิภวศุภกร ซึ่งภายหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแล้ว จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจาก บมจ. พื้นสำเร็จรูป พีซีเอ็ม มาเป็น บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์

สำหรับธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป บริษัทฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกและโอนการดำเนินงานมาอยู่ในนาม บจก. พีซีเอ็ม คอนสตรัคชั่น แมททีเรียล (พีซีเอ็ม) ซึ่งปัจจุบัน ทั้ง พีซีเอ็ม และดีคอน ต่างก็ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปเหมือนกันโดยผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาละเมิดนั้นเรียกว่าแผ่นพื้นชนิด 3 ขา

โดยพีซีเอ็ม เป็นผู้พัฒนาแผ่นพื้นคอนกรีต ชนิด 3 ขา มาตั้งแต่แรก โดยในปี 2542 ได้พัฒนาแผ่นพื้นจากชนิดท้องเรียบมาเป็นแผ่นพื้นชนิด 5 ขาและ 6 ขา ซึ่งมีหลักฐานยืนยันผลิตภัณฑ์ชนิด 6 ขาดังกล่าว ทั้งจากทะเบียนมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่ง พีซีเอ็ม ได้ยื่นจดทะเบียนไว้ รวมทั้งหลักฐานการจำหน่ายแผ่นพื้นดังกล่าวเป็นจำนวนมากในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง

โดยพีซีเอ็มได้พัฒนาแผ่นพื้นชนิด 6 ขา มาโดยตลอด จนได้เป็นแผ่นพื้นชนิด 3 ขาขึ้นมา จึงได้ทดลองผลิตและนำออกจำหน่าย ในปี 2544 เป็นต้นมา นอกจากนั้นแล้วเมื่อทราบว่าถูกฟ้อง ทางพีซีเอ็มได้มีหนังสือถึงสำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขอให้ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นชนิด 3 ขา ที่พีซีเอ็มผลิตและจำหน่ายอยู่นั้นมีส่วนเหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีคอนจดสิทธิบัตรไว้หรือไม่ ซึ่งทางสำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีหนังสือตอบถึงข้อแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของพีซีเอ็ม ว่ามีความแตกต่างไปจากแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีคอนจดสิทธิบัตรไว้

ด้านนายวิทวัส พรกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีคอนโปรดักส์ จำกัด (มหาชน)กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ดีคอนได้ทำหนังสือแจ้งรูปแบบสิทธิบัตรและสินค้าที่ถูกกล่าวหา โดยดีคอนได้จดสิทธิบัตรไปแล้ว และแจ้งต่อพีซีเอ็มว่าให้เลิกละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท เนื่องจากดีคอนมีการจดสิทธิ-บัตรในสินค้าดังกล่าวไว้แล้ว หลังจากที่มีการยื่นฟ้อง ดังกล่าว ศาลได้เรียกให้ทั้งสองบริษัทเข้าไปเจรจา และไกล่เกลี่ยกันในวันที่ 17 พ.ย.นี้ ซึ่งในการไกล่เกลี่ยในครั้งนี้ ดีคอนเองไม่ต้องการที่จะมีศัตรูทางธุรกิจ แต่ต้องพิจารณาในเรื่องของความเสียหาย ว่าทาง พีซีเอ็มจะมีข้อเสนอเป็นที่พอใจของบริษัทหรือไม่ เช่น อาจจะมีการเสนอขอลดจำนวนค่าเสียหายหรือ ยอมชดใช้ในส่วนที่เสียหายให้กับบริษัท ซึ่งจากที่มีการคำนวณจำนวนความเสียหายแล้ว ดีคอนได้ประเมินความเสียหายไว้ที่ 210 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากพีซีเอ็มมีข้อเสนอที่สมเหตุสมผลให้กับ ดีคอน บริษัทก็ยินดีรับและจบเรื่องดังกล่าว แต่ถ้าหากพีซีเอ็มมีข้อเสนอให้ต่ำหรือไม่สมเหตุสมผล ก็จะนำเรื่องขอความเห็นจากที่ประชุมคณะกรรมการ ของบริษัทก่อน เพราะจำนวนเงินดังกล่าวถือว่าเป็นจำนวนที่สูงเกินกว่าจะสามารถตัดสินใจได้เองเพียงลำพัง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us