Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ตุลาคม 2547
"กสท" ถกฮัทชิสันสัปดาห์นี้ แก้ซีดีเอ็มเอยึด 2 หลักการ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย, บจก.
CDMA




กสท. เดินหน้าเจรจาแก้สัญญาการตลาดฮัทช์ และสัญญาเช่าโครงการ BFKT กับกลุ่มฮัทชิสันสัปดาห์นี้ ภายใต้ 2 หลักการ คือต้องลดต้นทุนในการให้บริการและลูกค้าต้องมองบริการทั่วประเทศระบบซีดีเอ็มเอ เป็นบริการเดียวกัน "วิทิต" ย้ำคาดว่าบรรลุข้อตกลงภายในสิ้นปีนี้ หากไม่เกิดอุบัติเหตุแทรกแซงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเชิงธุรกิจ

นายวิทิต สัจจพงษ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าในสัปดาห์นี้กสทจะเริ่มเจรจากับกลุ่มฮัทชิสันอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อแก้ไขสัญญาการตลาดโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอ ที่ปัจจุบันดำเนินงานโดยบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลสมัลติมีเดีย ในพื้นที่กทม.และภาคกลางรวม 25 จังหวัดภายใต้ชื่อ บริการฮัทช์

"ผมจะเป็นหัวหน้าคณะในการเจรจาครั้งนี้ซึ่งคาดว่าจะสามารถเห็นความชัดเจนในการร่วมมือปรับแก้เงื่อนไขการทำธุรกิจให้เกิดประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายแบบ win-win ได้ภายในสิ้นปีนี้หากไม่มีอุบัติเหตุใดๆเกิดขึ้น"

โครงการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอของกสทแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.ในกรุงเทพฯและ ภาคกลางรวม 25 จังหวัด มีบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย เป็นผู้ทำตลาดด้วยระบบ CDMA 2000 1X ซึ่งอยู่ระหว่างอัปเกรดเครือข่ายในบางพื้นที่บริการเพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้เร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยี EV-DO โดยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการราว 7-8 แสน ราย โดยเป็นการเช่าเน็ตเวิร์กจากบริษัท BFKT ที่ถือหุ้นโดยกลุ่มฮัทชิสัน ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งได้ทำสัญญาอายุ 15 ปีไว้ถึงแม้สัญญาจะสิ้นสุดแต่ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดียก็ยังได้สิทธิ์ใช้เน็ตเวิร์กต่อไป

2.โครงข่ายในภูมิภาคทั่ว ประเทศ 51 จังหวัด ที่กสทให้บริการ ด้านการตลาดเองทั้งหมด โดยเป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอระบบเก่าที่เรียกว่า IS95 ซึ่งกสทอยู่ระหว่าง จัดทำทีโออาร์เพื่ออัปเกรดให้เป็นเทคโนโลยี CDMA 2000 1X EV-DO เช่นเดียวกับฮัทช์

นายวิทิตกล่าวว่า ที่ผ่านมาฮัทช์มีขาดทุนสะสมจากการดำเนิน การส่วน BFKT มีรายได้แน่นอนจากการให้เช่าโครงข่าย ซึ่งตามหลักการให้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วไป เจ้าของโครงข่ายและคนทำ การตลาดควรเป็นคนเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจสูงสุด

"ในการเจรจา ผมจะมองสัญญาการตลาดกับฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลสมัลติมีเดียกับสัญญาเช่าโครงข่ายของ BFKT ในภาพรวมกันทั้งหมด โดยมีแนวทางเป็น 10 รูปแบบภายใต้หลักการ 2 ข้อคือต้องลดต้นทุน และลูกค้ามองเป็นบริการเดียวกันทั่วประเทศ"

ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของฮัทช์สร้างรายได้แก่กสทจำนวนมาก โดยที่ในปี 2546 กสทมีรายได้กว่า 3,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2547 นี้คาดว่าจะมีรายได้มากกว่า 7,000 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวว่า กลุ่มฮัทชิสันรับรู้ความจำเป็นในการต้องเจรจาเพื่อแก้ไขปรับปรุงสัญญาต่างๆนี้มานานแล้ว โดยเฉพาะการโยงไปถึงการประมูล ซีดีเอ็มเอในภูมิภาคด้วยว่าหากสัญญาเดิมของฮัทช์ไม่ถูกแก้ไขเพื่อให้กสทได้ประโยชน์แล้วการขยายซีดีเอ็มเอในภูมิภาคก็จะล่าช้าออกไป ซึ่งทำให้ฮัทช์เสียโอกาสที่จะได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจากการที่ระบบซีดีเอ็มเอสามารถให้บริการทั่วประเทศ โดยเฉพาะความแตกต่างจากผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยีจีเอสเอ็ม ที่ซีดีเอ็มเอตอนนี้มีเหนือกว่าในแง่การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า

ที่ผ่านมาการแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างฮัทช์กับโครงข่ายซีดีเอ็มเอเดิมของกสทใน 51 จังหวัดภูมิภาค มี 2 หลักการคือ 1.หากลูกค้า จดทะเบียนกับฮัทช์ แล้วใช้งาน ในพื้นที่ภาคกลาง กสท จะได้ส่วน แบ่ง 25% แต่หากลูกค้าฮัทช์นำเครื่องไปใช้นอกพื้นที่คืออยู่ในโครงข่ายของ กสท ซึ่งสื่อสารได้แค่เสียง จะมีการแบ่งรายได้กันคือ ถ้าไม่เกิน 2 ล้านนาที กสทจะได้รายได้ทั้งหมด แต่หากเกินจาก 2 ล้านนาที จะแบ่งส่วนที่เกินให้กสท 70% และ 30% เป็นของฮัทช์

2.กรณีลูกค้าที่จดทะเบียนกับกสท หากใช้งานในโครงข่ายของฮัทช์ ก็จะใช้สูตรเดียวกันว่า 2 ล้านนาทีแรก เป็นของกสท เกินกว่า นั้นแบ่งกัน 70% เป็นของฮัทช์และ 30% เป็นของกสท อย่างไรก็ตามหากลูกค้าของกสท ใช้งานในโครงข่าย 51 จังหวัดของ กสทเอง ฮัทช์ ก็จะไม่ได้ส่วนแบ่งรายได้จากแอร์ไทม์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us