Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ตุลาคม 2547
คุมเกมมาร์เกตติ้งย้าย "โต้ง" สู้7คดีรุมฟ้องศาล             
 


   
search resources

กิตติรัตน์ ณ ระนอง
Financing




ศึกชิงมาร์เกตติ้งระอุแดด หลังธุรกิจนายหน้าค้าหุ้นขยายตัวเปิดโบรกเกอร์-ห้องค้าใหม่อื้อ ได้คอมมิชชันขั้นต่ำอุ้มสมเศรษฐกิจตลาดหุ้นเริ่มฟื้น แต่เรื่องของตลาดหุ้นไม่มีความแน่นอนเมื่อถึงคราวซบเซา การแข่งขันทวีความรุนแรง แย่งตัวมาร์เกตติ้งกระหึ่ม กฎเหล็กคุมเกม ห้ามมาร์เกตติ้งย้ายเอาไม่อยู่ "โต้ง - กิตติรัตน์" ถูกหมายฟ้องศาลปกครอง 8 คดีแต่เจ้าตัวยอมรับ คดีในปี 47 ส่วนใหญ่มาร์เกตติ้งฟ้อง ฝากบอกผู้ฟ้อง ตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่รัฐเป็นผู้ถือหุ้น เข้าทำนอง "เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูก มาแขวนคอ"

ช่วง 2-3 ปีหลังกลับมาใช้การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) ขั้นต่ำ 0.25% ส่งผลให้สถานการณ์ของอุตสาหกรรม บริษัทหลักทรัพย์เริ่มกระเตื้องขึ้น ไม่มีการตัดราคากันจนขาดทุนเหมือนในช่วงที่ใช้ค่าคอมมิชชันเสรี ในขณะที่ภาวะการซื้อขายของตลาดหุ้นก็เริ่มที่จะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ล่าสุดในปี 2547 ขึ้นมายืนอยู่ที่ 21,130.66 ล้านบาทแล้ว เทียบกับการซื้อขายเพียงวันละไม่กี่พันล้านบาทในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่ผ่านมาธุรกิจนายหน้า ค้าหลักทรัพย์จึงขยายตัวมาโดยตลอด

ห้องค้า-มาร์เกตติ้งเพิ่ม

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่า ปัจจุบันมีโบรกเกอร์ที่ให้บริการด้านซื้อขาย หลักทรัพย์อยู่ถึง 35 บริษัท และยังมีอีก 4 บริษัทที่เตรียมที่จะลงสนามในปีหน้า ได้แก่ บล.บีเอสอีซี (เอชเอสบีซีเดิม) บล.เอสจี สินเอเซีย บล.แอดวานซ์ (โกลบอลไทยเดิม) และ บล.แอสเซทพลัส ที่กำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็นบล.กสิกรไทย จากที่หลังวิกฤตมีโบรกเกอร์เพียง 20 กว่าแห่งเท่านั้น

ณ เดือน ก.ย. 2547 โบรกเกอร์ทั้งระบบมีจำนวนสาขารวมกันทั้งสิ้น 359 สาขา เพิ่มขึ้นจาก ปี 2546 ที่มีสาขารวมทั้งสิ้น 316 สาขา โดยจังหวัด ที่มีสาขาเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร ที่เพิ่มขึ้นจาก 143 สาขาในปี 2546 มาเป็น 167 สาขาในปัจจุบัน

จำนวนเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารทุน (มาร์เกตติ้ง) ล่าสุด ณ วันที่ 22 ต.ค. 2547 มีจำนวน 6,860 ราย เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธ.ค. 2546 ที่มี จำนวน 4,497 ราย อย่างไรก็ตาม พบว่ามีเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานจริงในปัจจุบันเพียง 5,489 ราย เท่านั้น

แข่งขันสูงแย่งมาร์เกตติ้ง

รายงานข่าวจากโบรกเกอร์ระบุว่า แม้ว่าในแง่ของจำนวนมาร์เกตติ้งจะมีจำนวนมากจากการสนับสนุนสร้างขึ้นใหม่ของตลาดหลักทรัพย์และโบรกเกอร์บางราย แต่ในแง่ของความสามารถสร้าง วอลุ่มให้กับโบรกเกอร์จำนวนมากยังต้องใช้วิธีการ เก่า คือ ดึงตัวกันในวงการที่กุมลูกค้ารายใหญ่ ในมือเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ และภาวะการซื้อขายหุ้นฟื้นตัวในปี 2546 ขณะเดียวกันก็มีโบรกเกอร์จำนวนมากขึ้นและยังมีการขยายห้องค้าสาขาใหม่เกิดขึ้นตามมา การแข่งขันแย่งตัวมาร์เกตติ้งก็เริ่มเกิดขึ้นเป็นลำดับ

ทำให้ต้นปี 2546 ที่ผ่านมาโบรเกอร์ โดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ยุคนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ได้กำหนดกติกาใช้ร่วมกันว่า มาร์เกตติ้งจะย้ายงานได้จะต้องได้รับการยินยอมและอนุมัติจากสังกัดเดิม ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมโบรกเกอร์ เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ยุติปัญหาการซื้อตัวมาร์เกตติ้งเพื่อสร้างวอลุ่ม ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิบัติผิดข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายผลตอบแทน และการคิดค่าบริการแก่ลูกค้า (รีเบต) ความเป็นมนุษย์ทองคำของมาร์เกตติ้ง จึงค่อยๆ หดหายไป

อย่างไรก็ดี เมื่อภาวะตลาดหุ้นไทยถดถอยจากเมื่อปลายปี 2546 โดยมีสภาพความผันผวนซบเซาลงในปี 2547 ทำให้วงการธุรกิจหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ ดีกรีการแข่งขันของธุรกิจนี้ก็รุนแรง เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาจึงเห็นได้ว่ามีกรณีดึงตัวมาร์เกตติ้งในวงการปรากฏเป็นระยะๆ มีทั้งที่ปรากฏเป็นข่าว และไม่เป็นข่าว

เนื่องเพราะการลาออกมาของมาร์เกตติ้งจะทำให้สถานภาพการเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนต้องสิ้นสุดลงด้วย และจำเป็นที่จะต้องขอเป็นเจ้าหน้าที่รับอนุญาต หรือที่เรียกกันว่า "ไอดี เทรดเดอร์"จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ซึ่งตลาดยึดหลักว่าตามสังกัดเดิม ถ้าไฟเขียว ตลาดก็ไฟเขียว แต่ในรายที่กุมวอลุ่มจำนวนมากก็อาจไม่ได้ไฟเขียวจากสังกัดโบรกเกอร์เก่า

มาร์เกตติ้งพึ่งศาลปกครอง

"คลื่นใต้น้ำ" ต่อกรณีการโยกย้ายของมาร์เกตติ้งจึงถือได้ว่าเกิดขึ้นมานานแล้วและกำลังทำท่าจะก่อตัวเป็นคลื่นยักษ์ หลังจากที่มาร์เกตติ้ง 8 รายของ บล.ซีมิโก้ ตัดสินใจย้ายค่ายไปอยู่ บล. บีฟิท แต่สังกัดเดิมไม่อนุญาต การยื่นขอไอดีเทรด จากตลท.ก็ยังไม่ได้รับอนุญาต แต่ครั้งนี้มาร์เกตติ้ง กลุ่มนี้ไม่ยอม จึงตัดสินใจยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นหนึ่งในจำเลย ในข้อกล่าวหา เจ้าพนักงานของรัฐที่ละเลยการปฏิบัติ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ไม่เป็นธรรม จนเป็น หัวข้อทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ในวงการหลักทรัพย์ อีกครั้ง

รายงานข่าวจากศาลปกครอง ระบุว่า มีการฟ้องร้อง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 8 คดี โดยมีเพียง 1 คดีเท่านั้นที่มีการฟ้องร้องศาลปกครองในปี 2544 ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่เกิดขึ้นในปี 2547

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า ยอมรับว่าคดีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการย้ายงานของมาร์เกตติ้ง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วยังไม่เคยไปให้การที่ศาล แต่จะมีทนายไปดำเนินการสู้คดี อย่างไรก็ตาม ในกรณี ที่ฟ้องว่ากรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ละเลยการปฏิบัติทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั้น ผมมั่นใจเพราะตลาด หลักทรัพย์ไม่ใช่องค์กรของรัฐ และไม่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น แต่ตลาดหลักทรัพย์เป็นเสมือนสโมสร หรือคลับ ที่มีสมาชิกเป็นบริษัทโบรกเกอร์ ซึ่งสมาชิกก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่สโมสรกำหนดขึ้น

"ถ้าเป็นกรณีที่ฟ้องว่าผมเป็นเจ้าพนักงานของรัฐนั้น ผมฝากไปบอกผู้ที่ฟ้องด้วยว่าตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่องค์กรของรัฐ และไม่ได้มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น" นายกิตติรัตน์กล่าว แต่ก็ปฏิเสธที่จะบอก ว่ายังมีข้อหาอื่นที่ถูกฟ้องอีกหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลการตัดสินของศาลสถิตยุติธรรมจะออกมาเป็นเช่นไร สิ่งที่บรรดามาร์เกตติ้งจะทำได้ในชั่วโมงนี้ก็คือ การรวมตัวกัน ก่อตั้งเป็นสมาคม เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของตัวเอง ในฐานะที่เป็นลูกจ้างอีกอาชีพหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us