รถไฟฟ้า BTS เปิดใช้มาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2543 ที่ผ่านมา
ดังนั้น วันนี้คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร จึงได้ฟันธงออกมาแล้วว่าตัวเลขของการใช้รถ
ณ ปัจจุบันอยู่ ที่ประมาณ 2 แสนคนต่อวัน และมีรายได้วันละประมาณ 4-5 ล้านบาทนั้น
เป็นตัวเลข ที่แท้จริง
ส่วนตัวเลขประมาณการที่เคยวางไว้คือ ต้องมีคนใช้รถประมาณ 6 แสนคนต่อวัน
เป็นเงินวันละ 18 ล้านบาท ได้กลาย เป็นฝันค้างกลางอากาศไปแล้ว
คีรีบอกว่า เฉพาะค่าไฟฟ้า ที่ใช้นั้น ประมาณ 500,000 บาทต่อวัน โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
และบริษัทไม่เคยติดค้าง ชำระกับการไฟฟ้านครหลวง แน่นอนเม็ดเงินขาดทุนสะสมกำลังเพิ่มขึ้น
ในขณะเดียว กัน แผนการกระจายหุ้นของ BTS ที่ทาง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
ได้อนุมัติให้ ขายหุ้นได้แล้วตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น ก็มีกำหนดจะต้องดำเนินการให้ได้ภายใน
6 เดือนเช่นกัน
ปัญหาสำคัญของการใช้รถไฟฟ้า ที่ยังน้อยอยู่นั้น สรุปได้ 2 ประเด็นใหญ่ๆ
คือ
1. ราคาค่าตั๋วยังอยู่ในระดับ ที่ค่อนข้างสูงในขณะที่ประชาชนยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ
ที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
2. เส้นทางรถไฟฟ้า เพียง 24 กิโลเมตรในเมืองนั้น สั้นเกินไป ทำให้คนอีกจำนวนมากไม่มีโอกาสในการใช้รถไฟฟ้า
คีรีต้องการอย่างมาก ที่จะให้มีการขยายเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าออกไปอีก ไม่ว่าทางกรุงเทพมหานครจะมีมติให้นักลงทุนรายอื่นทำ
หรืออนุมัติให้ BTS ทำต่อ รวมทั้งยังมีเจตนาอย่างแรงกล้าในการหาผู้ร่วมทุนจากเมืองจีน
เพื่อ ที่จะเข้าไปสานต่อโครงการโฮปเวลล์ ที่กอร์ดอน วู ทิ้งเอาไว้เหลือแต่เสาค้างคามานาน
โดยได้เสนอผลการศึกษาของความเป็นไปได้จากบริษัทที่ปรึกษาให้กับครม.แล้ว แน่นอนโฮปเวลล์
จะมีส่วนอย่างมาก ที่จะชุบชีวิตโครงการรถไฟฟ้าใจกลางเมืองของเขา เพราะโฮป
เวลล์มีเส้นทาง ที่ยาวขึ้นสามารถขนคนจากชานเมืองมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS
ได้หลายจุด
แต่..ปัญหาสำคัญเฉพาะหน้าของคีรีตอนนี้ก็คือ ทำอย่างไรให้คนหันมาขึ้นรถไฟฟ้าได้มากที่สุด
ดังนั้น กลยุทธ์ต่างๆ ใน เรื่องราคาจึงได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลยุทธ์ในการลดราคาให้กับนักเรียน
นิสิตนักศึกษา และคนทั่วไป ที่ใช้รถไฟฟ้าอยู่แล้วเป็นประจำ รวมทั้งดึงดูดให้ผู้โดยสารใหม่เกิดความสนใจด้วย
โดยล่าสุดตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมนี้ จนถึงสิ้นปี ได้มีการออกบัตรโดยสารประเภทใหม่
BTS 30 days student pass สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา อายุ ไม่เกิน 23
ปี ในราคา 360 บาท ใช้เดินทางได้ 30 เที่ยวไม่จำกัดระยะทาง ราคาเฉลี่ยต่อเที่ยวโดยประมาณ
12 บาทเท่านั้น ส่วนบุคคลทั่วไป จำหน่ายในราคา 540 บาทในเงื่อนไขเดียวกัน
เฉลี่ยต่อเที่ยว 18 บาทเท่านั้น
ส่วนบุคคลทั่วไปก็จะมีโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 ให้ด้วย และก่อนหน้านี้ได้มีกิจกรรมให้เด็ก
ที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบโดยสาร รถ BTS ได้ฟรี ในวันอาทิตย์ และยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ
อย่างต่อเนื่องคือ "โครงการหนูด่วนชวนสนุกทุกสัปดาห์ ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS"
เพื่อให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในวันอาทิตย์
ในเรื่องการอำนวยความสะดวกให้คนมาใช้รถไฟฟ้าได้มากขึ้น ได้จัดให้มีรถบัสประมาณ
30 คันรับส่งผู้โดยสารฟรี ใน 7 เส้นทาง เฉพาะผู้ที่ถือบัตรต่างๆ ของ BTS
มีการเพิ่มจุดบันไดเลื่อน และทำเส้นทางเชื่อมต่อกับอาคารใหญ่ๆ
ต้องยอมรับว่าคีรีเป็นนักธุรกิจอีกคนหนึ่ง ที่กล้าคิด กล้าทำงานใหญ่ และสู้ปัญหามาตลอดในช่วง
10 กว่าปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะการเข้าไปทำสัญญาสัมปทานกับกรุงเทพมหานคร เพื่อบริหารโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ
หรือรถไฟฟ้า BTS เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2535 นั้น แล้วสามารถผลักดันจนเป็นผลสำเร็จ
ท่ามกลางซากปรักหักพังของเศรษฐกิจ และความล้มเหลวของโครงการอื่นๆ แม้จะต้องใช้เวลานานถึง
7 ปี และต้องใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้นจาก 2-3 หมื่น ล้านบาทเป็น 5 หมื่นล้านบาทก็ตาม
ปัญหาต่างๆ ในเวลานั้น ประดังเข้ามา ตั้งแต่ยังไม่ลงมือตอกเสาเข็มต้นแรก
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ปัญหาทางด้านสังคม และปัญหาใหญ่คือ ขาดแหล่งเงินกู้
จนกระทั่งวันสุดท้ายก่อนหน้าจะเปิดการเดินรถ ก็ยังมีปัญหาเรื่อง ราคาค่าโดยสารจนแทบทำให้เปิดไม่ได้
เป็นบทเรียนล้ำค่าที่สุดในการทำธุรกิจสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในเมืองไทย ที่ลงทุนโดยภาคเอกชนทั้ง
100 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกัน ทางภาคธุรกิจ ที่ดิน ธุรกิจหลักดั้งเดิมอีกอย่างหนึ่งของเขา
ที่เริ่มไว้เมื่อปี 2530 ด้วยการทำโครงการแรกขนาดยักษ์บนพื้นที่ประมาณ 1,500
ไร่ บนถนนบางนา-ตราด ในชื่อ ธนาซิตี้ นั้น ก็พัฒนาไปได้เพียงเฟสเดียว เฟส
ที่ 2 ซึ่งประกอบไปด้วย โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์การค้า ก็ต้องชะลอไป ตั้งแต่ปีแรก
ที่ทำรถไฟฟ้า ส่วนโครงการพัฒนา ที่ดินอื่นๆ ซึ่งวาดแผนไว้หลายแปลงก็ต้องชะงักงันไปตามภาวะเศรษฐกิจ
ที่เกิดขึ้นเช่นกัน แล้วไม่รู้อีกนานแค่ไหนคีรีถึงจะกล้าเปิดโครงการใหม่
ทั้งๆ ที่เคยมีโครงการที่จะเก็บเกี่ยวเม็ดเงินจากโครงการที่อยู่อาศัย ที่รายรอบตามเส้นทางรถไฟฟ้าอีกมากมาย
การที่จะทำเส้นทางต่อเชื่อม และปลุกผีโครงการของโฮปเวลล์ นับเป็นความพยายามอีกครั้งของคีรี
ที่จะเข้าไปร่วมทำงานกับโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล
หลังจากได้บทเรียน ที่ล้ำค่ามาแล้วครั้งหนึ่งแต่ ดูเหมือนว่าเขาไม่มีทางเลือกอีกแล้วเช่นกัน