Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
50 ปีวังสวนผักกาด             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

หอเขียน อนุสรณ์แห่งความรัก
มรดกในเรือนไทย
วังสวนผักกาด พิพิธภัณฑ์เก่าแก่ในกลางเมือง




บริเวณที่ตั้งวังสวนผักกาดเดิมจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน ซึ่งมีอาชีพทำสวนผักกาดขาย เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือเสด็จในกรมฯ และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร พระชายา ได้เสด็จลี้ภัยสงครามมาอาศัยอยู่ที่นี่ ซึ่งในสมัยนั้นยังคงเป็นเป็นย่านชานเมืองที่มีความปลอดภัยมากกว่า เมื่อสงครามสงบก็ได้กลายเป็นที่พักอาศัยอย่างถาวร

ในปี พ.ศ.2495 เสด็จในกรมฯ โปรดให้รื้อหมู่ตำหนักไทยโบราณมาปลูกที่วังสวนผักกาด ซึ่งตำหนักไทยเหล่านี้มีความเก่าแก่กว่าร้อยปีมาแล้ว เดิมสร้างอยู่ที่วัดพิชัยญาติ ต่อมาเมื่อเป็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระบิดาของเสด็จในกรมฯ จึงทรงรื้อไปปลูกที่ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาได้รื้อไปปลูกที่ตำบลบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี

ทูลกระหม่อมบริพัตร ทรงมีอุปนิสัยโปรดการดนตรีและรวมไปถึงงานศิลปกรรมต่างๆ เป็นผู้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรหม ซึ่งทำให้ที่วังแห่งนั้นเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมและเป็นที่รวมของศิลปะหลายอย่าง (จากหนังสือชีวิตและงานทูลกระหม่อมบริพัตร โดยนวรัตน์ เลขะกุล)

ดังนั้น เมื่อเสด็จในกรมฯ ทรงรื้อย้ายเรือนไทยหลังใหญ่มาที่วังสวนผักกาดนั้น จึงได้ทรงเริ่มตกแต่งตำหนักด้วยศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่ทรงได้รับสืบทอดมาจากพระบิดา รวมทั้งวัตถุโบราณล้ำค่าอื่นๆ ที่ทรงสะสมด้วยด้วยองค์เอง ทั้งวัตถุที่ค้นพบในประเทศไทย และซื้อหามาจากประเทศอื่น และเปิดให้บุคคลภายนอกได้เข้าร่วมชื่นชมในขณะที่ท่านยังคงพำนักอยู่ในวังแห่งนี้ด้วยตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 เป็นต้นมา

ในวัยเยาว์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ทรงศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนแฮโรว์ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พระองค์เป็นผู้หนึ่งที่สนพระทัยเกี่ยวกับการศึกษา การแพทย์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพระพุทธศาสนา

ส่วน ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เป็นพระธิดาคนแรกของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย และหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา (บุนนาค) เมื่อคุณท่านอายุเพียง 3 ปี ได้ตามเสด็จพระบิดาซึ่งรับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเดนมาร์ก กลับประเทศไทยเมื่ออายุ 14 ปี และศึกษาต่อที่โรงเรียนราชินี และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ตามลำดับ และยังเคยได้รับทุนการศึกษาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ไปศึกษาภาษาฝรั่งเศส ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

หลังจากที่เสด็จในกรมฯ สิ้นพระชนม์ลงเมื่อปี พ.ศ.2502 ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้ดำเนินการทุกอย่างสืบต่อจากที่เสด็จในกรมฯ ทรงทำไว้ โดยเฉพาะอนุรักษ์โบราณวัตถุ และศิลป-วัฒนธรรม ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2511 คุณท่านได้อุทิศพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดนี้ให้แก่มูลนิธิ จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์

คุณท่านและเสด็จในกรมฯ มีพระธิดาองค์เดียวคือหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ซึ่งสนพระทัยทางด้านศิลปะ และมีผลงานที่น่าสนใจมากมาย แต่ส่วนใหญ่ท่านจะประทับ ณ ประเทศฝรั่งเศส

ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.2530 ต่อมามูลนิธิได้กำหนดวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิดของคุณท่านเป็นวันมูลนิธิ จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us