Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
หอเขียน อนุสรณ์แห่งความรัก             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

มรดกในเรือนไทย
50 ปีวังสวนผักกาด
วังสวนผักกาด พิพิธภัณฑ์เก่าแก่ในกลางเมือง




หอเขียน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอนุสรณ์แห่งความรักของเสด็จในกรมฯ และพระชายาหลังนี้ อยู่ทางทิศใต้สุดของวังสวนผักกาด ด้านหน้ามีสระน้ำและสนามหญ้าอันสวยงามเขียวขจี ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแห่งหนึ่งในวังสวนผักกาด เดิมเคยเป็นตำหนักของเจ้านายปลูกอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราชราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ภายหลังได้ถูกรื้อไปปลูกที่วัดบ้านกลิ้ง ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างอำเภอบางปะอิน กับพระนครศรีอยุธยา

เมื่อเสด็จในกรมฯ และคุณท่านทรงทราบว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดเล็ก เกือบจะร้างอยู่แล้ว แต่มีเรือนโบราณเก่าแก่ที่ไม่มีผู้ใดบำรุงรักษาเลย พระองค์ท่านจึงทำผาติกรรมไถ่ถอนจากวัดบ้านกลิ้ง ย้ายมาไว้ที่วังสวนผักกาด ทรงสร้างศาลาสวดมนต์ และศาลาท่าน้ำถวายวัดเป็นการทดแทน เสด็จในกรมฯ ทรงประทานหอเขียนเป็นของขวัญแก่คุณท่านเมื่อคุณท่านมีอายุครบ 50 ปี ในวันที่ 8 มีนาคม 2502 และได้เชิญชาวบ้านกลิ้งร่วม 100 คน เพื่อมาร่วมชมหอเขียนที่ปลูกสร้างใหม่

หอเขียนนี้มีภาพแกะสลักชั้นนอกที่ชำรุดลบเลือนเพราะถูกแดด ลม ฝน เป็นเวลานาน ส่วนชั้นในนั้นลวดลายและช่องหน้าต่างเป็นแบบยุโรป ภาพลายรดน้ำส่วนบนเป็นเรื่องพุทธประวัติ ส่วนล่างเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ภาพที่เขียนเต็มไปด้วยธรรมชาติที่เคลื่อนไหว เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ช่างเขียนได้บันทึกความสวยงามของธรรมชาติไว้ด้วยภาพภูเขาลำเนาไม้ และได้เห็นขนบธรรมเนียมของราชสำนักสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเป็นภาพที่มีค่ายิ่งทางสถาปัตยกรรมไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us