|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติเตรียมปรับลดเป้าจีดีพีปีนี้ใหม่ หลังน้ำมันแพงพ่นพิษใส่เศรษฐกิจอย่างหนัก ปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์พีอีก 0.25% ยื้ออัตราเงินเฟ้อสุดฤทธิ์ ชี้เงินเฟ้อทะยานเร็วและแรงเกินคาด หวั่นสิ้นปีทะลุเป้าหมาย วงการการเงิน-หุ้นระบุไม่กระทบตลาด แบงก์สภาพคล่องยังเหลือเฟือ "กิตติรัตน์" กลัวเกาไม่ถูกที่คัน หวังแบงก์ปรับดอกเบี้ยเงินฝาก ตามช่วยเหลือคนออม
นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวานนี้ (20 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป จึงมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์พี) อีก 0.25% ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% เนื่องจากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันภายในประเทศที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นเร็วกว่าที่ธปท. ประเมินไว้ก่อนหน้าในอัตราที่อาจจะสูงกว่าที่ประมาณการไว้
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.6% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.6% ซึ่งหากไม่รวมราคาค่าเช่าบ้านที่ลดลงอย่างบิดเบือนแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 0.9% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
"เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ดังนั้น ความจำเป็นที่จะใช้ดอกเบี้ยอาร์พีไว้ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจมีน้อยลง จึงเห็นว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ" นางอัจนา กล่าว
ทั้งนี้ การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจเพราะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเริ่มชะลอตัวลงรวมทั้งปัจจัยเศรษฐกิจของต่างประเทศที่มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมชะลอตัวลงตาม โดยธปท.จะปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจอีกครั้งในวันที่ 28 ต.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่า ปัจจัยการส่งออกที่ดี การลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนของภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะแรงขับเคลื่อนเดิมของเศรษฐกิจยังมีมากเพียงพอ ทำให้คณะกรรมการ นโยบายการเงินมีความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับสูงขึ้นเพื่อให้กลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
นางอัจนาย้ำว่า ขณะนี้ควรให้น้ำหนักในเรื่องเสถียรภาพมากกว่า เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสร้างความกดดันต่อดุลการค้า รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากปล่อยให้เงินเฟ้อรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น และค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าจะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจจะต้องลดต่ำลง
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมในช่วงต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นหลัก ซึ่งจากการประเมินตัวเลขล่าสุด ซึ่ง ธปท.ได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่าหากราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับเพิ่มขึ้นมาเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก็ยังสามารถรับมือได้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ของไทยยังขยายตัวได้ดีอยู่ ส่วนกรณีเลวร้ายสุดคาดการณ์ให้ราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
นางอัจนากล่าวต่อว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ จะส่งผลทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขยับตามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการบริหาร สภาพคล่องของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเรื่องการบริหารภายใน แต่การปรับดอกเบี้ยนโยบายนั้นต้องการส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นให้ระบบการเงินรับทราบมากกว่า แต่เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ทำให้สินเชื่อขยายตัวลดลง เนื่องจากสินเชื่อในปัจจุบันก็ยังขยายตัวอยู่ในระดับที่สูง
ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การหาระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะในครั้งนี้ได้เน้นเสถียรภาพเศรษฐกิจ มากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะตรึงอัตราเงินเฟ้อเอาไว้ เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐฯมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ จึงต้องมีการเตรียมตัวไว้เพื่อรองรับเหตุการณ์ข้างหน้า
"เศรษฐกิจที่ขยายตัวนั้นระดับ 6% ถ้าลดลงเล็กน้อยก็ไม่ถือว่ามีนัยที่สำคัญ ไม่เหมือนกับเศรษฐกิจสหรัฐฯที่โตแค่ 2-3% ถ้าลดลงเพียงเล็กน้อยก็มีความหมาย ดังนั้นนโยบายตอนนี้ก็คือตรึงเงินเฟ้อ ไม่ให้สูงเกินไป" นายจักรมณฑ์ กล่าว
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การปรับดอกเบี้ยอาร์พี เป็นเรื่องที่ธปท.เห็นว่าเหมาะสมแล้ว จึงประกาศให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเชื่อว่าจากสถานการณ์นี้จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ส่วนการ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่อีกครั้งนั้นก็เป็นเรื่องที่แต่ละหน่วยงานสามารถทำได้ ทั้งนี้ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินนโยบายจัดการ บริหารให้ดีที่สุดเพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดการณ์เอาไว้
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีของธปท.จะไม่กระทบต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจ เพราะดอกเบี้ยในตลาดยังไม่ปรับขึ้นตาม แต่อาจส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวต่อข่าว
ทั้งนี้ หวังว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้จะเป็นการส่งสัญญาณให้กับธนาคารพาณิชย์ให้เพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อให้ประชาชนมีผลตอบแทนจากการฝากเงินหลังจากที่เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม หากการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นไปเพื่อดึงเงินเฟ้อลง มองว่าอาจจะไม่จำเป็นและอาจก่อให้เกิดความสับสน ได้ เพราะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเกิดจากต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ไม่ใช่เกิดจากอุปสงค์ที่มากเกินไป ของตลาด
นายกรณ์ จาติกวณิช ประธานเจพี มอร์แกน (ประเทศไทย) คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เพราะดอกเบี้ยไทยยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่มีอัตรา ดอกเบี้ยสูง และยังมีช่องว่างที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะกระทบต่อปัญหาดุลการค้าก็คือราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด
นายธงชัย เจริญสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา ดอกเบี้ยของไทย อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย ของสหรัฐฯ 0.25% และหากในการประชุมเดือน พ.ยนี้สหรัฐฯปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ก็จะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และอาจจะทำให้เงินทุนไหลออกนอกประเทศ
นายธงชัยกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ว่า ยังไม่น่ามีการเปลี่ยนแปลงจากระดับปัจจุบันจนกว่าจะถึงต้นปีหน้า เนื่องจากสภาพคล่องส่วนที่เกินในระบบที่มีมากกว่า 300,000-400,000 ล้านบาท ยังเป็นปัจจัยหลักที่กดดันไม่ให้ดอกเบี้ยขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อทางการปรับดอกเบี้ยอาร์พีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้นิติบุคคลที่ยังฝากเงินและได้ดอกเบี้ยต่ำอยู่อาจถอนเงินไปซื้อตั๋วเงินเพื่อหาผลตอบแทนจากตลาดพันธบัตรอาร์พี ซึ่งให้ผลตอบแทน ที่ดีกว่าได้ ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่ช่วยลดสภาพคล่องในระบบ
|
|
 |
|
|