|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผังใหม่ช่อง 5 คลอด พ.ย. คาดเดอะมีเดียหลุด 3 รายการ เหตุปัญหาหนี้สินกว่า 100 ล้านบาท พร้อมปรับบทบาท RTA เข้ามาช่วยเสริมทัพทำการตลาด เผยเตรียมรวบคลื่น FM 94 กลับมาทำเอง ชี้ต้องเรียก ท็อปเอ็น ปรับสัญญาสัมปทานทีจีเอ็น
พล.ท.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำผังรายการในช่วงเดือนพฤศจิกายน เพื่อเสนอให้บอร์ดพิจารณาในปลายเดือนนี้ โดยจะปรับรายการเก่าออกส่วนหนึ่งและเพิ่มรายการใหม่เข้ามา ซึ่งส่วนที่ปรับออก คือรายการที่ไม่สร้างเรตติ้ง มีการลงทุนด้านการผลิตน้อย และไม่ตรงกับนโยบายหลักของสถานี ซึ่งในที่นี้จะมีรายการของบริษัทเดอะมีเดียรวมอยู่ด้วย 3 รายการ แต่เหตุผลอีกส่วนหนึ่งของการที่ปรับรายการของเดอะมีเดียออก คือการค้างชำระค่าเช่าเวลา รวม 18 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีรายการอื่นๆที่เดอะมีเดียค้างค่าเช่าเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ถึงปัจจุบันอีกราว 114 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้น ททบ.5 จะต้องเรียกเดอะมีเดียเข้ามาเจรจาเพื่อให้ผ่อนชำระ
ผลประกอบการโดยรวมปีนี้คาดว่าต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 4% หรือหายไปประมาณ 150 ล้านบาท จากที่ประมาณการไว้ 1,200 ล้านบาท แต่หากใน 2 เดือนหลังของปีนี้ มีการจัดผังที่ดี ก็เชื่อว่ารายได้จะกลับคืนมา อย่างไรก็ตามแผนงานของ ททบ.5 ในปี 2548 ยังคงเน้นเดินตามนโยบายหลัก คือ"นำคุณค่าสู่สังคมไทย" แต่จะวางตำแหน่งให้เป็นสถานีโทรทัศน์ของครอบครัว โดยส่วนหนึ่งต้องขอความร่วมมือกับผู้จัดรายการ ให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับสัดส่วนของผังรายการใหม่ รายการข่าวและสาระจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันคือ ข่าวและสาระ 50% รายการบันเทิง 50%
"นโยบายการทำงาน เราไม่มุ่งหวังรายได้เป็นหลัก แต่จะเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณประโยชน์ จึงตั้งรายได้ไว้ที่ 1,200 ล้านบาทเท่าเดิม แบ่งเป็นสัดส่วนของต้นทุนการลงทุนที่ 700-800 ล้านบาท เช่นเดิม แต่ทั้งนี้คงมีการปรับขึ้นบ้างเล็กน้อย ไม่ถึงกับกระทบรายได้ของผู้ผลิตรายการ"
พลโทเลิศฤทธิ์ กล่าวชี้แจงถึงผลของมติ คณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ว่า ล่าสุด ทาง บริษัท RTA ได้แจ้งหนังสือยินยอมยกเลิกสัญญากับ ททบ.5 รวม 3 ข้อแล้ว คือ1. สัญญาจ้าง ททบ.5 ผลิตข่าว โดยมีผลตอบแทน ปีละ 100 ล้านบาท รวมเวลา 3 ปี เพราะททบ.5 เป็นหน่วยงานรัฐไม่จำเป็นต้องรับจ้างเอกชน 2. ยกเลิกสัมปทาน 30 ปี ที่ RTA ขอเช่าเวลาทั้งหมดเพื่อไปบริหารเอง โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ปีละ 150 ล้านบาท และ 3. หักลบกลบหนี้ระหว่าง RTA กับ ททบ.5 มูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท เพราะเป็นการโอนถ่ายตัวเลขเพื่อเหตุผลทางบัญชีก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น เมื่อ RTA ไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
สิ่งที่ RTA ต้องทำ คือ คืนเงินให้กับผู้ถือหุ้นในส่วนของเอกชนทั้งหมด ซึ่งจะมีผลให้ ททบ.5 เป็นผู้ถือหุ้นใน RTA 100% เต็ม ส่วนบทบาทจากนี้ไปของ RTA จะเป็นบริษัทลูก ทำในเรื่องของการตลาดให้กับ ททบ.5 รวมถึงงานในที่ ททบ.5 ไม่มีความถนัด และไม่คล่องตัว เนื่องจากเป็นองค์กรของรัฐ
โดยททบ.5 มีแผนที่จะทำการตลาดเองในเรื่องของการขายเวลาโฆษณา เพื่อให้ผู้จัดได้มีเวลาให้กับการผลิตเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการหา สปอนเซอร์ ปัจจุบัน สัดส่วนโฆษณาที่เราทำการตลาด เองอยู่ที่ 20% อีก 80% เป็นของผู้จัด นอกจากนั้นในส่วนของธุรกิจคลื่นวิทยุ FM 94 ที่ททบ.5 จะต้องเข้าไปดำเนินการเอง จากปัจจุบันแกรมมี่เป็นผู้รับสัมปทานปีต่อปี ทั้งนี้เพราะเป็นไปตามมาตรา 40 ที่จำกัดให้หน่วยงานราชการต้องบริหารคลื่นวิทยุเอง ดังนั้นในอนาคตจะต้องนำมารวมกับฝ่ายการผลิตและการตลาด เพื่อทำงานไปพร้อมๆกัน
เรียกท็อปเอ็นคุยยกเลิกสัญญา TGN
ในส่วนของธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียม หรือ TGN ก็จะต้องมีการปรับผังรายการเช่นกัน โดยจะแบ่งเป็น 2 ช่วงๆ ละ 12 ชั่วโมง เพื่อจัดรายการให้อยู่ในช่วงไพรม์ไทม์ในแต่ละทวีป นอกจากนั้นยังได้เรียก บริษัท ท็อปเอ็น ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานให้บริหารธุรกิจ TGN เป็นระยะเวลารวม 30 ปี ซึ่งถือว่าผิดมาตรา 40 เช่นกัน เพราะกฎในมาตราดังกล่าวให้หน่วยงานราชการ ทำสัญญาสัมปทานได้ไม่เกินครั้งละ 2 ปี เท่านั้น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการตอบรับจากบริษัทดังกล่าว ความเป็นไปได้มี 2 ทางคือ ยกเลิกสัมปทานนี้ หรือ ลดอายุสัมปทานลงเหลือ 2 ปี
"จากสัญญาที่ท็อปเอ็นทำไว้โดยเฉพาะในเรื่องของรายได้ และแผนงานศักยภาพของช่อง 5 ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว โดยเรามีรายได้จากผู้สนับสนุน ต่อปีที่ 40 ล้านบาท จากสปอนเซอร์หลัก เช่น การบินไทย กะทิชาวเกาะ เป็นต้น และยังมีโฆษณาที่จะมาจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการโฆษณาผ่านโทรทัศน์ ดาวเทียมของเรา เช่น โครงการของภาครัฐ อาทิ SME โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น เป็นต้น ดังนั้นจึงเชื่อว่า เราเพิ่มรายได้ในส่วนนี้ได้ และนโยบายบอร์ดก็บอกชัดเจนว่าให้เดินโครงการต่อไปแม้จะขาดทุนก็ตาม"
อีกแผนงานหนึ่งของ TGN คือ จะแพร่ภาพลงเคเบิลท้องถิ่นมากขึ้น โดยจับมือกับพันธมิตรโดย เฉพาะในแถบอาเซียนจะเพิ่มในส่วนของรายการภาคภาษาอังกฤษ จากปัจจุบันเป็นสถานีโทรทัศน์ให้คนไทยในต่างประเทศรับชมเพียงอย่างเดียว ความเป็นไปได้ในเบื้องต้นคือให้ผู้ผลิตทำซับไตเติลเป็นภาษาอังกฤษขึ้นในรายการนั้นๆ เป็นการช่วยลดการทำงานของททบ.5 ด้วย
|
|
|
|
|