Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 ตุลาคม 2547
ซีพีทุ่มเงินซื้อร.ร.เทคนิคแก้ปัญหาคนค้าปลีกขาด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
Retail




เซเว่น อีเลฟเว่นต่อยอดความคิดตั้งโรงเรียนผลิตบุคลากรป้อนธุรกิจ ซุ่มใช้เม็ดเงินกว่า 160 ล้านบาท ซื้อกิจการโรงเรียนกรุงเทพเทคนิคนนทบุรีและปรับปรุงให้ทันสมัย พร้อมเข้านั่งแท่นบริหารเองเทอม 2 ปีการศึกษานี้ ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนร.จาก 500 คนเป็น 1,500 คน ปีหน้าคลอดโฉมร้านรูปแบบใหม่ประหยัดพลังงาน 20% รับกระแสน้ำมันแพง ชี้ค้าปลีกปี 2548 ขนาดใหญ่เปิดศึกแข่งเดือดดูดลูกค้ากำลังซื้อจำกัด

นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้เซ็นสัญญาซื้อ กิจการโรงเรียนกรุงเทพเทคนิคนนทบุรีด้วยเม็ดเงินกว่า 100 ล้านบาท พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ เทคโนธุรกิจสนับสนุน โดยซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น" ตามแนวคิดที่บริษัทเคยวางแผนที่จะตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาขึ้นมาเพื่อพัฒนาบุคลากรมาป้อนให้แก่ธุรกิจ ในเครือของซี.พี. ที่จะต้องขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงเซเว่น อีเลฟเว่นด้วย

การเข้าซื้อกิจการโรงเรียนการอาชีวศึกษาเอกชนจะง่ายกว่าการตั้งโรงเรียนใหม่ขึ้นมาเอง เพราะมีทุกอย่างที่ครอบคลุมหมดแล้ว เหลือเพียงการปรับปรุงตัวอาคารเท่านั้น แต่การจะเข้าซื้อกิจการของโรงเรียนแห่งที่ 2 ต่อไปจะต้องรอศึกษาผลของโรงเรียนแรกนี้ก่อน ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการประเมินผลประมาณ 5 ปี

สำหรับโรงเรียนแห่งแรกนี้ บริษัทจะเริ่มเข้าไปบริหารตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 ซึ่งจะต้องใช้งบลงทุนเพิ่มเติมในการปรับปรุงตัวอาคารเรียนให้ทันสมัยอีก 50-60 ล้านบาท คาดว่าจะเสร็จภายใน 1 ภาคการเรียน

บริษัทจะพัฒนาโรงเรียนนี้ให้เป็นโรงเรียนการอาชีวศึกษาต้นแบบที่มีหลักสูตรที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง และมีงานรองรับจากธุรกิจในเครือเซเว่นฯ หลังจากจบการศึกษาทันทีตามสายงานที่ได้ศึกษามา ไม่ว่าจะเป็นสายงานพาณิชยกรรมหรือสายงานอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทได้พัฒนาหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีกระบบทวิภาคีเพิ่มขึ้นมาเพื่อ สอดรับกับธุรกิจค้าปลีกของบริษัท และหลักสูตรลอจิสติกส์ (ระบบทวิภาคี) ที่จะเริ่มใช้ในปี 2549

ทั้งนี้ โรงเรียนดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ แบ่งหลักสูตรการศึกษาเป็น 2 หลักสูตร ประกอบด้วย สายพาณิชยกรรม และสายอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลัก สูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีจำนวน นักเรียน นักศึกษา 500 คน และอาจารย์ 30 คน โดยภายใน 3 ปีจะขยายหลักสูตรต่อไปยังปริญญาตรี ให้สอดรับกับพ.ร.บ.การอาชีวศึกษาฉบับใหม่

เป้าหมายสำคัญหลังจากที่บริษัทเข้าไปบริหารโรงเรียนแห่งนี้แล้วจะต้องมีนักเรียน นักศึกษาในทุกระดับ 1,500 คนต่อปี จากปัจจุบันที่มีอยู่เพียง 500 คน และกลายเป็นโรงเรียนการอาชีวศึกษาต้นแบบที่จะมีนักเรียนสนใจเข้ามาเรียน

ผุดโฉมใหม่ประหยัดไฟ 20%

นายสุวิทย์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างพัฒนารูปแบบของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นโฉมใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่สามารถประหยัดพลังงานทุกรูปแบบได้ถึง 20% ต่อสาขา โดยคาดว่าจะสรุปรูปแบบดังกล่าวได้ภายในปีหน้า และพร้อมที่จะเริ่มใช้ในปีหน้าด้วยเช่นกัน เพื่อรับกับสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันทั้งเบนซินที่ปรับตัวสูงขึ้น การประกาศลอยตัวน้ำมันดีเซลในปี 2548 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบหลายอย่าง รวมถึงวัตถุดิบด้านพลังงานต่างๆ ด้วย

บริษัทจะต้องศึกษาเงินลงทุนสำหรับรูปแบบใหม่ว่าจะต้องเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน คุ้มกับการลงทุนและสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเท่าใด โดยปัจจุบันร้านเซเว่น อีเลฟเว่น 1 สาขาใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 3-5 ล้านบาท มีระยะเวลาคุ้มทุนอยู่ที่ 2-5 ปี

ภาวะธุรกิจค้าปลีกในช่วงปลายปีนี้จนถึงปีหน้า จะต้องเหนื่อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาวะน้ำมันแพงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องประหยัดในด้านการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพราะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ต้องแข่งขันกันรุนแรงขึ้น และสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันจะได้รับผลกระทบมาก ส่วนสินค้า ที่จำเป็นอาจจะได้รับผลกระทบน้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us