Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
แปรสัญญาสัมปทานใครกันแน่ที่สูญเสียผลประโยชน์             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ลำดับเหตุการณ์ แปรสัญญาโทรคมนาคม
เทียบหลักการระหว่างทีดีอาร์ไอกับสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา

   
search resources

Telecommunications




หากประเทศไทยไม่ได้มีรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวมทั้งที่ปรึกษา ที่มาจากภาคธุรกิจสื่อสารมากเหมือนรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระแสคัดค้านแนวทางการแปรสัญญาสัมปทาน โทรคมนาคม ตามการศึกษาของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คงมีไม่มาก และรุนแรงเท่านี้

โดยเฉพาะในหลักการที่ให้บริษัทเอกชนผู้รับสัมปทาน หยุดจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐ ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่าจะทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้สูงถึง 3 แสนล้านบาท

ตลอด 1 เดือนเศษที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงเรื่องนี้กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งบนเวทีที่จัดกันทั้งรูปแบบของประชาพิจารณ์ สัมมนา ตลอดจนการเปิดรับฟังความคิดเห็น หรือการพูดให้ความเห็นในวงนอกผ่านสื่อ

เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าตามข้อเสนอของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาที่ระบุว่าให้เอกชนคู่สัญญาไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งให้กับรัฐตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม ตามที่ตกลงไว้กับองค์กรการค้าโลก และเอกชนคู่สัญญาสามารถเช่า หรือซื้อคืนอุปกรณ์ที่ลงทุนไปแล้วจากรัฐคืนได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกต่อต้านกันอย่างหนัก

แต่ภาคเอกชนเอง กลับไม่ยินดีกับแนวทางนี้ เพราะเห็นว่า การเช่าหรือซื้อคืนอุปกรณ์ เป็นการลงทุนซ้ำเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายไปแล้วในวงเงินจำนวนมาก

และเอกชนทุกราย ต่างก็มีหนี้สินจำนวนมหาศาล จากการลงทุนไปแล้วในครั้งแรก

กระแสเสียงที่ออกมาจากภาคเอกชนส่วนใหญ่ จึงยินดีที่จะอยู่ในระบบสัมปทานต่อไปจนกว่าจะหมดอายุสัญญา

จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าเพราะหากรัฐบาลยึดตามแนวทางนี้ รัฐ หรือภาคเอกชน ใครจะสูญเสียผลประโยชน์มากกว่ากัน

และใครกันแน่ ที่จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการก่อกระแส ต่อต้านแนวทางการแปรสัญญาสัมปทานครั้งนี้

ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งนั้นว่าอาจจะเป็นกลุ่มองค์กรเอกชน พรรคฝ่ายค้าน ภาคเอกชนคู่สัญญา หรือแม้แต่คนบางคนในรัฐบาลเอง

หากนับจากมติของคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ ที่มีปองพล อดิเรกสาร เป็นประธาน ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 7 มกราคม ที่ให้เวลากระทรวงคมนาคม 60 วัน เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อน ที่จะสรุปเสนอคณะรัฐมนตรี

ข้อสรุปแนวทางการแปรสัญญาสัมปทาน คงจะออกมาให้เห็น ในอีกไม่กี่วันนี้

กระแสเรื่องนี้ ยังคงเป็นสิ่งที่น่าติดตามอย่างต่อเนื่อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us