Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 ตุลาคม 2547
5ปีอสังหาฯลงทุนใหม่ บ้านเดี่ยวราคาแพงแข่งลำบากลูกค้าจำกัด             
 


   
search resources

Real Estate




วิเคราะห์ภาพตลาดอสังหาฯระยะ 5 ปีข้างหน้า กระทรวงการคลังคาดลงทุนใหม่เกือบ 1 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 2 แสนล้านต่อปี ยันลู่ทางอสังหาฯ ยังสดใส ทั้งบ้านเดี่ยว-คอนโดฯ หวั่นบ้านเดี่ยวราคาแพงมีปัญหาแน่ เหตุกลุ่มลูกค้ามีจำกัด ด้านผู้ประกอบการปรับแนวเล่นราคาระดับกลาง จับตาแบงก์พาเหรดขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะ

คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ว่า ยังเติบโตไปได้อีก เนื่องจากสวค.คาดว่าเฉลี่ยในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2547-2551) อสังหาฯจะโต 19% ขณะที่ในปี 2547 จากตัวเลขที่ได้รวบรวม คาดว่าตลาดจะเติบโตประมาณ 20% ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงที่คาดการณ์ไว้ โดยตลาดคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลยังเติบโต ส่วนตลาดบ้านเดี่ยวในต่างจังหวัดยังมีลู่ทางที่ดี เนื่องจากประชาชนในต่างจังหวัดมีที่ดินเป็นของตนเอง และนิยมที่จะปลูกหรือจ้างบริษัทรับสร้างดำเนินการให้

สำหรับมูลค่าของตลาดอสังหาฯนายคณิศ กล่าวว่าจากข้อมูลทำให้มั่นใจว่าในระยะ 5 ปีข้างหน้า การลงทุนโครงการอสังหาฯใหม่จะมีมูลค่าเฉลี่ย 200,000 ต่อปี หรือประมาณ 20% ของมูลค่าการลงทุนของภาคเอกชนทั้งระบบที่มีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 6 ล้านล้านบาท

"สิ่งที่เราห่วงคือ บ้านเดี่ยวราคาแพง หรือ ไฮเอนด์ที่แห่ไปสร้างกันจำนวนมาก ซึ่งจริงๆกลุ่มที่มีกำลังซื้อพอที่จะรองรับตลาดระดับไฮเอนด์ในเมืองไทยมีจำนวนไม่มาก ขณะที่กลุ่มกำลังซื้อหลักในตลาดบ้านจะเป็นประชาชนระดับกลาง" นายคณิศกล่าว

นายสาธิต รังคสิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเสริมว่า หลังจากสิ้นสุดมาตรการสิทธิประโยชน์ ทางภาษีสำหรับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และจะเริ่มจัดเก็บตามปกติต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งรายได้จากการ จัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 30% และมีแนวโน้มที่จะดี ขณะที่ภาคการก่อสร้างยังมีอัตราเติบโตตามการลงทุนของภาครัฐ

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ กล่าวว่าปี 2548 บ้านราคาแพงของบางบริษัทที่กำลังพัฒนาโครงการอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างลำบากและต้องประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะปรับกลยุทธ์หันไปมุ่งเน้นบ้านระดับราคาปานกลาง ขณะที่หากไปลงทุนทำโครงการบ้านราคาระดับต่ำก็อาจจะเสี่ยงต่อการขาดทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนทางด้านวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น ราคาที่ดินที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ทำให้โอกาสพัฒนาโครงการต้องอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวังอย่างสูง ยิ่งในช่วงนี้ธปท.เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการบ้านไฮเอนด์

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ตลาดโดยรวมจะโตขึ้นแต่ที่น่าสังเกตคือส่วนใหญ่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า โดยเฉลี่ยผู้ประกอบการมียอดขายต่ำกว่าเป้าไม่ต่ำกว่า 20% เนื่องจากทุกบริษัทตั้งเป้ารายได้ไว้สูงเกินไป อย่างไรก็ตาม คาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2548 ตลาดจะเริ่มนิ่งและเข้าสู่ภาวะเติบโตแบบปกติ ซึ่งจะทำให้การลงทุนพัฒนาโครงการมีการปรับตัวเข้าไปให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของตลาดมากขึ้น

นายอธิปกล่าวว่า ด้านกำลังซื้อในตลาดคาดว่าจะลดลงตามสัดส่วนต้นทุนที่ปรับขึ้น ในขณะที่รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป โดยบ้านเดี่ยวราคา 4-5 ล้านบาทขึ้นไป ดีมานด์จะลดลง ส่วนบ้านราคา 2-4 ล้านบาท จะได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีฐานกว้างที่สุด

ด้านบริษัท เอเจนซี่ เรียล เอสเตท แอฟแฟร์ (AREA) ได้รายงานถึงบทสำรวจตัวเลขตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 9 เดือนแรก(ม.ค.-ก.ย.2547) ปรากฏว่ายังมีโครงการเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนมูลค่าถึง 159,122 ล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวนหน่วย 46,502 หน่วยที่มีอยู่ในระบบขณะนี้ รวมแล้วมีโครงการที่เปิดตัวถึง 339 โครงการ เทียบกับยอดที่เปิดตัวโครงการทั้งปี 2546 ที่มีอยู่ 420 โครงการ ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการเตรียมเปิดตัวจ่อคิวอีก 64 โครงการ ซึ่งอาจจะไปถึง 100 โครงการก็ได้ หากปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องความชัดเจนทางเศรษฐกิจ, การเมือง, น้ำมัน, อัตราดอกเบี้ย และปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ ต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้

ส่วนข้อมูลจากภาครัฐอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ชี้ว่าการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในเดือนก.ค.ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศ ขยายตัว 57.7% จากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นมูลค่าการซื้อขายจำนวน 47,779 ล้านบาทการขยายตัวของมูลค่าการซื้อขายที่ดินนี้สอดคล้องกับการขยายตัวของพื้นที่ รับอนุญาตก่อสร้างทั้งประเทศที่มีการขยายตัวถึง 56.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้จำนวน ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในช่วงระยะ 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้น 38.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อนหรือเป็นจำนวนเท่ากับ 31,305 หน่วย ขณะที่จำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมีจำนวน 5,231 หน่วยหรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 47.5%

ถึงกระนั้นถึงแม้ว่าภาพรวมของตลาดจะมีแนวโน้มพอสดใส แต่ในด้านความต้องการ (อุปสงค์) แล้ว เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านกำลังเพิ่มสูงขึ้น ก่อนหน้านี้ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านใหม่ โดยยกเลิกระบบดอกเบี้ยคงที่ 2 และ 3 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (1 ต.ค.) เป็นต้นไป โดยอัตราดอกเบี้ยที่ปรับใหม่จะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ย ลอยตัวประเภทลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ธนาคารนครหลวงไทย(SCIB) อยู่ระหว่างการเสนอให้คณะ กรรมการธนาคารพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยของสิน เชื่อเคหะขึ้น เพื่อสอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย ในตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้นซึ่งคาดว่ารูปแบบอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเคหะจะไม่เห็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแล้ว อย่างอายุยาวที่สุดก็คงเป็นอัตราดอกเบี้ย คงที่ 1 ปีเท่านั้น และคาดว่าธนาคารจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 1 พ.ย.นี้ หรืออย่างช้าที่สุดคือ ในวันที่ 1 ม.ค. 2548 และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปลายปี47

นอกจากนี้ ธปท.ประเมินว่าต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยที่อยู่ในเกณฑ์ที่สูงขึ้นจะมีผลต่อดัชนีราคา ขายส่งที่ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 9.9% จากระยะเดียวกันของปีก่อน รวมถึงราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานก่อสร้างที่มีฝีมือที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ต้นทุนในการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้นและรายได้ที่ ชะลอตัวลงส่งผลให้อัตรากำไรของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงเหลือ 24% เทียบกับ 33% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

และหากพิจารณาโครงสร้างการลงทุนของภาครัฐ คาดว่าตัวเลขงบลงทุนก่อสร้างในช่วงระหว่างปี 2548-2551 คาดว่าภาครัฐน่าจะมีการลงทุนในการก่อสร้างโดยเฉลี่ยประมาณ 350,000 ล้านบาทต่อปี ผลจากนโยบายดังกล่าวจะกลายเป็นแรงสนับสนุนให้ปริมาณงานในธุรกิจก่อสร้างและความต้องการใช้วัสดุก่อสร้าง มีความต่อเนื่องในระยะ 5 ปีข้างหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us