Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
ธนินท์ เจียรวนนท์ หาโรงเรียนให้ลูก             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

ศุภชัย เจียรวนนท์ Sky is Opening

   
www resources

Taipei American School Homepage
The Shipley School Homepage
Dwight-Englewood School Homepage
Penninton School Homepage

   
search resources

ศุภชัย เจียรวนนท์




ศุภชัย เจียรวนนท์

เกิด 24 มีนาคม 2510

การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนสมถวิล, พิพัฒนา, Taipei American School ไต้หวัน (ป.3),
เซนต์ดอมินิค
มัธยมศึกษา, อัสสัมชัญ (ม.1-3), The Shipley School
(เกรด 9), Dwight-Englewood School (3 ปี)
อุดมศึกษา B.A. (Finance) Boston University 2532


เส้นทางการศึกษาของศุภชัย แม้จะดูแปลกกว่าพี่น้องท้องเดียวกัน ตรงที่เขาผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนโรงเรียนมามากมาย แต่ความคิดที่ชัดเจนมีอยู่ประการหนึ่งที่เหมือนกัน คือพวกเขาได้รับอิทธิพลจากโรงเรียนในระบบอเมริกัน

เขายอมรับว่าอิทธิพลความคิดในเรื่องการศึกษาที่เขาประทับใจมากที่สุด คือได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนระบบอเมริกันที่ไต้หวัน 1 ปี "ผมคิดว่าจะสร้างคน ต้องสร้างตอนประถม ช่วงนั้นสำคัญที่สุดแล้ว ความมีเหตุมีผลของคน ความมั่นใจ จินตนาการของเด็กเกิดขึ้นช่วงนั้น" เขากล่าว และเน้นว่าประสบการณ์ที่ไต้หวันประทับใจมาก "ผมมีจุดหักเห ตอนที่อยู่ประถม 3 ตอนไปเรียนโรงเรียนนานาชาติที่ไต้หวัน เสียเวลาไป 1 ปี ผมได้จากตรงนั้น ผมยังจำได้จนถึงทุกวันนี้ โรงเรียนจัดนิทรรศการ ซึ่งมีบ่อยมาก ครูประจำชั้นบอกว่า เด็กนักเรียนทำอะไรก็ได้ ให้เอามาโชว์มาขาย ผมวาดรูป Bug bunny เอามาตั้งโชว์ ครูมาถึงชม และขอซื้อ นั่นเป็นการทำการค้าครั้งแรกในชีวิตผม ขายไป 10 เซ็นต์ครูอีกคนขอซื้อ ที่จริงก็รู้ว่า เขาต้องการสร้างให้เด็กรู้สึกถึงคุณค่า"

ทุกวันนี้ เขามีบุตร 2 คน อายุ 5 กับ 7 ขวบ เขาให้เข้าโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย

ส่วนการศึกษาระดับมัธยมในต่างประเทศ ศุภชัยบอกว่าฝึกความอดทน

โรงเรียนในสหรัฐฯ ทั้งสองแห่งที่เขาเรียนล้วนเป็นโรงเรียนเอกชนระบบไปกลับที่ดี ค่าเล่าเรียนแพงระดับ 15,000 เหรียญสหรัฐต่อปี

The Shipley School ตั้งขึ้นในปี 1894 (พ.ศ.2437) เริ่มด้วยรับเฉพาะเด็กหญิง ต่อมาในปี 1972 (2515) ก็เปิดรับเด็กชาย กลายเป็นสหศึกษา เป็นอีกแบบหนึ่งของโรงเรียนมัธยมของเอกชนชั้นนำในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเข้ากับกระแสสหศึกษาในสหรัฐฯ ในทศวรรษ 1970 ตั้งอยู่บนเนื้อที่เพียง 36 เอเคอร์ในชุมชนชานเมือง ห่างไปทางทิศตะวันตกเพียง 12 ไมล์ของ Philadelphia อยู่ห่างจาก New York ประมาณ 90 ไมล์ และ Washington D.C. ประมาณ 140 ไมล์

"Shipley เน้นเสมอ นอกเหนือจากความเป็นเลิศในด้านการเรียนและกีฬา โครงการบริการชุมชนของโรงเรียนคือ สิ่งที่นักเรียนทุกคนจะต้องทำก่อนจะมีสิทธิจบการศึกษาความเป็นเลิศของ Shipley เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีการแข่งขันสูงยังยอมรับ มหาวิทยาลัยที่นักเรียนเลือกเข้าเรียนต่อมากเป็นพิเศษคือ มหาวิทยาลัย Pennsylvania Shipley ประสบความสำเร็จเพราะคัดเลือกนักเรียนที่มีความมุ่งมั่น ซึ่งได้พิสูจน์คุณสมบัติดังกล่าวมาแล้วจากโรงเรียนเดิม (ถ้ามาสมัครเรียนต่อมัธยมปลาย) ผู้สมัครจะต้องมีประวัติการให้ความร่วมมือในกิจกรรมของโรงเรียนอย่างเข้มข้น" หนังสือ The Best Private High School โดย Frank Leana ซึ่งรวบรวมโรงเรียนชั้นนำของสหรัฐฯ เพียงประมาณ 100 แห่ง กล่าวไว้

เช่นเดียวกับ Dwight-Englewood School (D-E) ที่ย้ายตามพี่สาวคนหนึ่งที่เช่าอพาร์ตเมนต์ที่นิวยอร์ก โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 31 เอเคอร์ ในชานเมืองนิวยอร์ก "นักเรียนจะได้เรียนหลักสูตรศิลปศาสตร์ตามแบบแผนดั้งเดิม ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นมิตร มีความหลากหลาย และสบายๆ (ไม่บังคับให้ใส่เครื่องแบบ) ซึ่งจะเป็นที่ที่นักเรียนสามารถเป็นตัวของตัวเอง ในขณะที่กำลังเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูง นักเรียนจะได้รับการกระตุ้นให้สามารถพึ่งตัวเองมากขึ้นเป็นลำดับ ตลอดเวลา 4 ปีในโรงเรียนครูจะเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้นักเรียนค่อยๆ พัฒนาความรับผิดชอบและการตัดสินใจด้วยตนเอง นักเรียนแต่ละคนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์อีก 1 คนที่นักเรียนเป็นผู้เลือกเอง คอยให้คำชี้แนะต่างๆ D-E ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ดังนั้นในการพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียน ผู้สมัครที่จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษคือ ผู้ที่มีประวัติเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนในโรงเรียนเดิมมาก่อน นักเรียนทุกคนจะต้องเรียนวิชาจริยธรรมและทำงานบริการชุมชน 40 ชั่วโมง ข้อกำหนดนี้สะท้อนความเชื่อของ D-E ว่า การศึกษาที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนเต็มคน จะต้องให้การศึกษาเรื่องคุณค่าต่างๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนที่ใหญ่กว่าโรงเรียน และภายในสังคมโลกได้ D-E พยายามรักษาสัดส่วนนักเรียนในโรงเรียนให้มีภูมิหลังที่หลากหลาย เลียนแบบความหลากหลายของคนในสังคมจริงๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เชื้อชาติ และวัฒนธรรม" (The Best Private High School โดย Frank Leana)

ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนทั้งสองคัดมาจากหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" ของวิรัตน์ แสงทองคำ ซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายในเดือนมีนาคมนี้

สำหรับพี่น้องคนอื่นๆ ของเขา แม้ว่าจะไม่ได้เปลี่ยนโรงเรียนมากเช่นเขา แต่สุดท้ายธนินท์ก็ยังมีสูตรสำเร็จว่า พวกเขาและเธอต้องเข้าโรงเรียนมัธยมในระดับเกรด 9 ที่สหรัฐฯ และจะเรียนโรงเรียนเอกชนชั้นดี โดยเฉพาะที่ New Jersey ดังเช่นสุภกิตเจียรวนนท์ หลังจากเรียนที่สิงคโปร์เป็นเวลานาน 12 ปี ก็เข้าที่ Pennington School ที่ New Jersey

โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งปี 1838 (2381) เป็นโรงเรียนสหศึกษา มีทั้งประจำและไปกลับ ศุภชัยบอกว่าพี่ชายเข้าโรงเรียนประจำ โรงเรียนแห่งนี้นับเป็นโรงเรียนที่รับนักเรียนต่างชาติมากพอสมควรประมาณ 14% ค่าเล่าเรียนแพงพอสมควรเช่นโรงเรียนเอกชนชั้นนำในสหรัฐฯ สำหรับนักเรียนประจำปีละประมาณ 25,000 เหรียญสหรัฐ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us