Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
อนาคตการชำระเงินในเอเชีย             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 





ในตลาดผู้บริโภคแทนความสะดวกคือประโยชน์ที่ดึงดูดใจผู้บริโภคประการหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในการชำระเงิน เพียงแค่หนึ่งชั่วอายุคนก็มีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการทำธุรกรรมที่รวดเร็วและปลอดภัย

แม้ว่าเอเชียแปซิฟิก จะมีขนาดเล็กกว่า อเมริกาและสหภาพยุโรป แต่กลับเป็นภูมิภาค ที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคหลักๆ ของวีซ่า การเพิ่มขึ้นของยอดขายปีละกว่า 40% ในช่วง สองปีที่ผ่านมาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างจากเดิมที่มีเงินสดและเช็คเป็นสื่อหลัก แนวโน้มดังกล่าวกำลังดำเนินไปอย่างต่อ เนื่อง แต่เนื่องจากในเอเชีย การใช้จ่ายด้วย บัตรวีซ่ามีสัดส่วนเพียง 5% ของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่ง อยู่ที่ 11% ศักยภาพการเติบโตของการใช้บัตร จึงมีอยู่สูง

เมื่อเร็วๆ นี้ วีซ่าได้ทำการปรับโครง สร้างเพื่อกระจายอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินงานให้กับภูมิภาคต่างๆ ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในธุรกิจการชำระเงิน การดำเนินการดังกล่าวถือว่ามีประโยชน์มากในเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่กลยุทธ์ "หนึ่งขนาดใส่ได้หมด" ไม่สามารถจะนำมาใช้รับมือกับความท้าทายและโอกาสที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

"ผู้บริโภคในเอเชียมีความปรารถนาเหมือนกันที่จะทำให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย เช่นเดียวกับใน ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เป้าหมายในวิสัยทัศน์ด้านการชำระเงินของวีซ่าในเอเชีย อยู่ที่การทำให้ความเรียบง่าย ความปลอดภัย และความประหยัดกลายเป็นความจริง" รูเพิร์ต คีลีย์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว

การพาณิชย์ที่เป็นสากล หรือการพาณิชย์ที่ไร้ขีดจำกัด (U-commerce) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการชำระเงินทุกที่ ทุกเวลา และทุกวิธี เป็นเรื่องของการผสานบรรจบกันของโลกแห่งความเป็นจริงที่จับต้อง ได้กับโลกดิจิตอล ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาช่องทางใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการพาณิชย์แบบดั้งเดิม ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เพื่อจะสร้างความหลากหลาย ความสะดวกและคุณค่าที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่งสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย

"การชำระเงินผ่านระบบดิจิตอลจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงการเปิดรับอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นเครื่องมือ สื่อสารและเครื่องมือในการทำธุรกิจอย่างรวดเร็วของผู้บริโภคในเอเชีย ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการสร้างพาณิชย์ออนไลน์ในภูมิภาค" คีลีย์บอก

ทั้งออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน มีอัตราการแพร่หลายของอินเทอร์ เน็ตสูงในระดับที่มากกว่า 30% เฉพาะจีนก็มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ถึง 9.4 ล้านคน 33% ในจำนวนนี้รู้จักชอปปิ้งออนไลน์กันแล้ว ในเกาหลีใต้ 60% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ 6 ล้านคนใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ และโอกาสที่การค้าออนไลน์จะขยายตัวขึ้นอีกยังมีอยู่อีกมาก

ทุกวันนี้กว่า 50% ของธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซ ทั้งหมดเป็นธุรกรรมที่ทำโดยใช้ผลิต ภัณฑ์ของวีซ่า และจากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์ เน็ตโดย Landor Assoiates วีซ่าอยู่ในอันดับ สองในฐานะแบรนด์ที่มีศักยภาพระยะยาวในโลกออนไลน์มากที่สุด เป็นรองเพียงไมโครซอฟท์เท่านั้น

จากการคาดการณ์ของ Ovum Re-search ตลาดเอ็ม-คอมเมิร์ซ ในเอเชียแปซิฟิก ได้รับการคาดหมายว่าจะมีมูลค่า 67 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ในปี 2005 ความพร้อมของคนเอเชียที่จะเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศเล็กอย่างสิงคโปร์ มีอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 70% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นพื้นฐานที่แข็ง แกร่งสำหรับการเติบโตของการค้าออนไลน์

เมื่อเร็วๆ นี้ วีซ่า ฮัทชิสันและธนาคาร ดาวเฮงแบงก์ ได้ร่วมมือกันพัฒนารูปแบบชำระเงินที่ปลอดภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อรองรับบริการต่างๆ อาทิ การชำระค่าโทรศัพท์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ให้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ การซื้อตั๋ว การชำระค่าสมาชิกนิตยสาร การสั่งซื้อหนังสือ การประมูลและการซื้อของใช้จำเป็นประจำวัน เช่น อาหารและของชำ รูปแบบการชำระเงินในอนาคตจะต้องมีลักษณะคล่องตัวทุกที่ทุกเวลา

ผลิตภัณฑ์เพื่อการชำระเงินจะมีความ ซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ ที่ไม่หยุดนิ่งและความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค จากการสำรวจผู้บริโภคโดย Research International พบว่า กว่า 80% ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก คิดว่าบัตรสมาร์ท การ์ดจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในกระเป๋าเงินของตน

การฝังชิปลงไปในบัตรจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประโยชน์ใช้สอยของบัตร ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาบัตรอเนกประสงค์ ที่รวมเอาคุณสมบัติของบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรโดยสารรถขนส่งมวลชน บัตรสะสมแต้ม บัตรทางด่วน และบัตรเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้บนแผ่นพลาสติกบางๆ เพียงแผ่นเดียว

บัตรชำระเงินรูปแบบใหม่นี้จะเป็นเครื่องมือจูงใจให้ผู้บริโภค ที่ยังไม่ได้ใช้บริการธนาคารเข้าสู่ระบบธนาคารมากขึ้น พร้อมกับยกระดับความรู้ด้านการเงินในส่วนของผู้บริโภค อันเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ บัตร สมาร์ทการ์ดยังสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับธนาคารและและพันธมิตรผู้ออกบัตรร่วมในการสร้างความแตกต่างให้กับตนเอง รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการปกป้องการฉ้อโกงด้วยระบบการเข้ารหัสที่ก้าวล้ำยุค

จากการคาดการณ์ของวีซ่า ในปี 2008 บัตรเครดิต 90% ในเอเชียจะอยู่ในรูปของบัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น วีซ่าได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจได้ว่า มาตรฐาน สำหรับรองรับการทำงานร่วมกันทั่วโลกของบัตรสมารทการ์ดจะเป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อจำกัด ในส่วนของผู้ผลิต สถาบันการเงิน หรือ สถานที่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านเทคโนโลยีชิปได้ เริ่มแพร่หลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวีซ่าได้แนะนำบัตรฝังชิปใบแรกของโลก ซึ่งมีราคาไม่ถึง 1 เหรียญ ซึ่ง การที่อุปกรณ์ฝังชิปได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว จะเป็นตัวการใช้บัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่ง ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 10%

"ผู้บริโภคยังคงต้องการทำให้การชำระเงินมีความปลอดภัย ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในบางส่วนของภูมิภาคเอเชีย" คีลีย์

ปัจจุบันผู้บริโภคในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป มีโอกาสได้เห็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่น่าทึ่งซึ่งเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ยักษ์หลับของเอเชีย คือ จีนกับอินเดียต่างหาก ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการ นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ การพัฒนาเทคโน โลยีวิทยุและบรอดแบนด์ทำให้ประเทศทั้งสองได้รับโอกาสพิเศษที่จะก้าวไปให้ถึงความสำเร็จในเวลาเพียง 2-3 ปี ในสิ่งที่มีระดับการพัฒนา สูงกว่าต้องใช้เวลานานกว่า

หากรัฐบาลและหน่วยงานผู้ควบคุมกฎ ฉกฉวยโอกาสดังกล่าวนี้ไว้ (ซึ่งก็มีสัญญาณว่าจะเป็นเช่นนั้น) ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่ประเทศเหล่านี้จะก้าวกระโดดแซงหน้าประเทศตะวันตกได้ มีเหตุผลมากมายให้เชื่อว่า ภูมิภาคเอเชียจะก้าวอย่างรวดเร็วไปสู่การรับเอาระบบชำระเงินครบวงจรที่ทันสมัย ซึ่งจะเป็นกระแสนำโลกมาใช้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us