|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"วิโรจน์ นวลแข" ชี้แจงทุกข้อกล่าวหาแบงก์ชาติ ยันไม่เคยทำงานหละหลวม อนุมัติสินเชื่อทุกครั้งผ่านบอร์ดสินเชื่อและต้องเป็นเอกฉันท์ เผยสินเชื่อ 4.6 หมื่นล้าน ยังไม่ใช่หนี้เสีย ชี้แบงก์ชาติอ้างตัวเลขเกินจริง ระบุกว่าครึ่งปล่อยกู้ตั้งแต่ปี 2530-2541 มั่นใจครึ่งปีหลังกรุงไทยจะทำกำไรอีก 9 พันล้าน ลั่นที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหากับหม่อมอุ๋ย แต่อนาคต อาจมี ขอเวลา 2-3 สัปดาห์ตัดสินใจเรื่องฟ้องร้อง ขณะที่คลังยื่นกฤษฎีกาวินิจฉัยอำนาจแบงก์ชาติ ในการออกประกาศเพิ่มเติมตามมาตรา 22 (8)
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)โดยม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ได้มีคำสั่งห้ามมิให้ คณะกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) แต่งตั้ง นายวิโรจน์ นวลแข เป็นกรรมการผู้จัดการนั้น วานนี้ (12 ต.ค.) เวลา 13.00 น. ที่รร.อินเตอร์ คอนติเนน-ตัล นายวิโรจน์ได้เปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรก นาย วิโรจน์เปิดเผยว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจ ว่าจะฟ้องร้องธปท.หรือไม่ เพราะ จะต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อกฎหมายให้รอบคอบ และต้องรอหนังสือจากธปท.ซึ่งยังไม่ได้ชี้แจงเลย คาดว่าจะใช้เวลาศึกษารายละเอียด 2-3 สัปดาห์
"ผมจะไม่สู้อะไรที่เสียเปรียบ เพราะถ้ารู้ว่าเสีย เปรียบแล้วก็ไม่ควรที่จะสู้ ซึ่งต้องศึกษาเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน แล้วค่อยปรึกษาคนที่รู้เรื่องกฎหมาย จึงต้องขอเวลา และตอนนี้ต้องรอเหตุการณ์ ให้นิ่ง เพราะถ้าทำอะไรไปก็จะไม่เกิดประโยชน์ ขณะเดียวกันอายุความของคดีนานถึง 10 ปี ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรีบร้อน"
นายวิโรจน์เปิดเผยด้วยว่า มีการต่อรองจากผู้ว่าฯธปท.ก่อนจะถูกห้ามแต่งตั้ง โดยผู้ว่าฯธปท.เสนอทางเลือกคือ จะให้บอร์ดธนาคารประกาศรับตน เข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการ แต่ให้ตนประกาศลาออกจากตำแหน่งทันที ซึ่งตนเห็นว่าไม่เป็นผลดี และได้ขอต่อรองโดยขอเวลาประมาณ 6 เดือนเพื่อสานงานการวางระบบต่อให้เสร็จรวมถึงเข้ามาแก้ปัญหาหนี้ 4.6 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้นจะลาออก แต่ผู้ว่าฯธปท. ก็ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งตนเห็นว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการรับความจริง จึงไม่ยอมถอนตัว
"สมัยที่เล่นรักบี้อาจารย์สอนว่า แม้จะไม่พอ ใจ กรรมการก็อย่าวอล์กเอาต์ (เดินออก) จากสนามเพราะจะอยู่นอกเกมทันที กรณีนี้ยืนยันว่าผมไม่ได้วอล์กเอาต์ออกจากเกมแต่ถือเป็นการพักยก"
สำหรับประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตว่า มีปัญหาความ ขัดแย้งเรื่องส่วนตัวกับผู้ว่าฯธปท.หรือไม่นั้น นายวิโรจน์กล่าวว่า "ที่ผ่านมาผมไม่มีปัญหากับม.ร.ว. ปรีดิยาธรแต่อย่างใด แต่ในอนาคตอาจจะมีปัญหากันก็ได้"
ส่วนบอร์ดหรือผู้บริหารคนอื่นจะต้องร่วมรับผิดชอบหรือไม่นั้น นายวิโรจน์กล่าวว่า "ปัจจุบันต้อง ถือว่าผมได้รับผิดชอบไปแล้ว 1 คน จากการถูกตัดสินว่ามีความหละหลวมในการปล่อยสินเชื่อ เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ติดกับผม ได้แก่ รองกรรมการผู้จัดการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการก็ต้องผิดด้วย ไม่อย่างนั้นผมก็จะไม่ผิด ซึ่งไม่รู้ว่ามีใครบ้าง ก็ต้องรับกันเอาเองหรือหลบให้ดี" ระบุหนี้ 4.6 หมื่นล้าน เกินจริง
นายวิโรจน์ยืนยันว่า การบริหารงานในธนาคาร กรุงไทยตลอด 3 ปีที่ผ่านมาไม่มีความหละหลวม การกล่าวหาในประเด็นดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มาก หากไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีอาจส่งผลรุนแรงจนทำให้ธนาคารล้มได้ โดยที่ผ่านมามีข้อเท็จจริงหลายประเด็น ที่คลาดเคลื่อนกับความเข้าใจโดยทั่วไป โดยเฉพาะสินเชื่อ 4.6 หมื่นล้านบาทที่กล่าวถึงทุกครั้งในเรื่องนี้ ไม่ใช่สินเชื่อที่ผู้บริหารและคณะกรรมการสินเชื่อชุดปัจจุบันเป็นผู้พิจารณาทั้งหมด สินเชื่อมากกว่าครึ่งหรือ 2.5 หมื่นล้านบาท เป็นสินเชื่อตั้งแต่ปี 2530-2541 ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีอายุกว่า 5-10 ปี แต่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ผ่านคณะกรรมการปรับ ปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ธปท. และศาลล้มละลาย
นอกจากนี้ ในเรื่องสินเชื่อปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าวนั้นกำลังมีการพิจารณาใหม่เพื่อการจัดชั้นและดำเนินการแก้ไขใหม่ทั้งระบบ รวมถึงธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น ตัวอย่างเช่น ธนาคารกสิกรไทยก็มีการประเมินภายในว่าจะมีการจัดชั้นสินเชื่อประเภทนี้เพิ่มขึ้นไม่เกินประมาณ 14,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 ของสินเชื่อรวม ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนนิยามใหม่ ดังนั้น การใช้ตัวเลขถึง 4.6 หมื่นล้าน ความรับผิดชอบของผู้บริหารและคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อชุดปัจจุบันของธนาคารกรุงไทยจึงเป็นตัวเลขเกินจริง
โดยสินเชื่อรายใหม่ทั้ง 12 รายการตามที่ธปท. ตรวจสอบนั้น มีการหยุดจ่ายตามสัญญาแค่เพียงไม่ถึงร้อยละ 1 หรือประมาณ 61 ล้านบาท สินเชื่อที่กล่าวถึงในกรณีหละหลวมตามดุลพินิจของ ธปท. เป็นสินเชื่อ 2 รายที่ธนาคารกรุงไทยในชุดการบริหาร ปัจจุบัน รวมถึงคณะกรรมการผู้พิจารณาสินเชื่อเป็น ผู้พิจารณาขยายสินเชื่อ ประเด็นก็คือ ถ้าเปรียบเทียบ จำนวน 2 รายต่อจำนวนรายการสินเชื่อใหม่ทั้งหมด 330,000 รายในช่วง 3 ปี หรือประมาณ 5.5 แสนล้านบาทนั้น จะเป็นแค่ร้อยละ 2.9 ของสินเชื่อใหม่ และร้อยละ 1.9 ของสินเชื่อรวมเท่านั้น
"สินเชื่อทั้งสองรายมีหลักทรัพย์ค้ำประกันพอเพียงที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ดังนั้น หากการสูญเสียจะเกิดขึ้นก็จะมีอัตราสูญเสียน้อยกว่าที่รายงาน เพราะธนาคารมีหลักประกันอยู่ และจะเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวเลขก่อนหน้านี้เมื่อเทียบสินเชื่อรวม" นายวิโรจน์กล่าว
นายวิโรจน์กล่าวว่า ในการทำธุรกิจธนาคารนั้นจะต้องมีการคำนวณและการคาดการณ์หนี้เสีย รวมถึงการคาดการณ์อัตราสูญเสียของหนี้เสีย เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของธนาคารทั่วไป ถ้าอัตราการสูญเสีย จริงไม่มากกว่าตัวเลขคาดการณ์ เช่นร้อยละ 2 จะถือ ได้ว่าระบบสินเชื่อของธนาคารก็ยังมีประสิทธิภาพและรัดกุมอยู่ แต่หากตัวเลขเริ่มมากขึ้นก็ต้องมีการปรับปรุงระบบใหม่ให้ดีขึ้น ตรงนี้เป็นเรื่องที่ธนาคารมีระบบภายในจัดการอย่างต่อเนื่อง ตามปกติถ้า ธปท. มีข้อท้วงติง ธนาคารก็จะดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพราะไม่มีระบบใดสมบูรณ์แบบอย่างไม่มีที่ติ ครึ่งปีหลัง KTB กำไร 9 พันล้าน
ด้านผลการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทยนั้น นายวิโรจน์กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยยังมีศักยภาพใน การเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้คาด ว่าจะทำกำไรได้ถึง 9,000 ล้านบาท จากปกติที่ธนาคารจะทำกำไรเดือนละประมาณ 1,300 ล้านบาท และคาดว่าไตรมาส 3 นี้จะมีกำไรประมาณ 4,000 ล้านบาท
"ผมออกมาแถลงข่าววันนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ กับธนาคาร โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีอยู่จำนวน มาก และจากราคาหุ้นของธนาคารที่ปรับตัวลดลงทำให้มาร์เกตแชร์ของธนาคารหายไป 300,000 ล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นของ KTB ในความเป็นจริงแล้ว ควรจะมีราคาสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี (บุ๊กแวลู) 1.5-2.5 เท่า ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาตามบุ๊กแวลูอยู่ที่ 6 บาทกว่า ซึ่งถือว่าต่ำเกินไป"
ลูกหนี้โต้ธปท.-กระแสเงินสดเพียงพอ
นางปรียานุช สิทธิไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด หนึ่งในลูกหนี้ที่ตกเป็นข่าวกับธนาคารกรุงไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า บริษัทได้รับอนุมัติเงินกู้ระยะยาวเพื่อชำระหนี้และลงทุนจำนวนรวมกันประมาณ 8,000 ล้านบาท เริ่มเบิกใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ในช่วงเวลา 7 เดือน จากการเบิกใช้เงินครั้งแรกถึงปัจจุบัน บริษัทได้ชำระหนี้คืนจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทไปแล้วประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินกว่า ที่ธนาคารกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 730 ล้านบาท และจะสามารถชำระคืนเพิ่มให้แก่ธนาคารได้อีกประมาณ 2,000 ล้านบาท ภายในเดือนตุลาคมนี้จากการชำระหนี้ของ ขสมก.
ทั้งนี้ บริษัทจะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจปัจจุบันเพียงพอกับการชำระหนี้ตามเงื่อนไข และยังมีหลักทรัพย์จำนองเป็นประกันที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจคุ้มกับภาระหนี้ที่เหลือทั้งหมด จึงไม่ควรอยู่ในข่ายหนี้สินที่มีปัญหาของธนาคาร ยื่นกฤษฎีกาชี้ขาดอำนาจอุ๋ย
นายสมใจนึก เองตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีและอดีตปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อสิ้นเดือน ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ส่งประกาศของธปท. ตามมาตรา 22 (8) ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า ธปท.มีอำนาจในการออกประกาศดังกล่าวหรือไม่
แหล่งข่าวธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า การฟ้อง ร้องธปท.ของนายวิโรจน์ นอกจากรอหนังสือจากธปท. แล้ว ยังรอผลวินิจฉัยของกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังส่งไปให้พิจารณา หากผลวินิจฉัยระบุว่าธปท. ไม่มีอำนาจ นายวิโรจน์สามารถนำไปเป็นข้ออ้างอิงประกอบคำฟ้องร้อง แต่หากผลวินิจฉัยออกมาว่าธปท.มีอำนาจนายวิโรจน์ก็ต้องศึกษาช่องทางอื่นต่อไป
ทั้งนี้ ธปท. โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้สั่งการห้าม มิให้บอร์ดธนาคารกรุงไทยแต่งตั้งนายวิโรจน์เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย โดยใช้ประกาศตามมาตรา 22 (8) พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินสดสำรองและการปล่อยสินเชื่อ โดยข้อ 8 ระบุว่ามีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลย การทำหน้าที่ตามสมควรในการกลั่นกรองหรือตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขาดจรรยาบรรณ เปิดรับสมัครเอ็มดีใหม่แล้ว
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ สรรหากรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ ได้เริ่มดำเนินการสรรหา เพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย คนใหม่ ตั้งแต่ 13 - 22 ต.ค.
"คณะกรรมการสรรหาฯ จะเร่งหาผู้มีความเหมาะสมให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะใช้เวลาประมาณเดือนเศษหลังจากวันที่ประกาศรับสมัคร"
|
|
|
|
|