|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เจ้าหนี้โหวตสนับสนุนการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯทีพีไอท่วมท้นด้วยคะแนน 99.57% คิดเป็นมูลหนี้รวม 6.51 หมื่นล้านบาท ขณะที่ "US EXIM-IFC" เจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่งดออกเสียง โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เตรียมนำผลโหวตเสนอศาลฯเห็นชอบแผนฯ 1 พ.ย.นี้ "ประชัย" ยืนกรานเรียกร้องความยุติธรรมตามขั้นตอนทางกฎหมาย โดยจะยื่นคัดค้านการแก้ไขแผนฯต่อศาล ขณะที่ ราคาหุ้น TPI รูดหนัก 80 สตางค์ หรือลดลง 9.09% รับข่าวเจ้าหนี้โหวตรับแผนฟื้นฟูฯทีพีไอ
วานนี้ (12 ต.ค.) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) นัดประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) เพื่อพิจารณา ข้อเสนอของผู้บริหารแผนฯที่ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ โดยมีเจ้าหนี้เข้าร่วมประชุมจำนวน 63 ราย แต่มีเจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียง 57 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวมทั้งสิ้น 86,434.70 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1,2,3,6 โหวตลงมติพิเศษยอมรับข้อเสนอการแก้ไขแผนฯ และเมื่อนับจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอการแก้ไขแผนฯของเจ้าหนี้ทุกกลุ่มแล้วมีจำนวนหนี้รวม 65,150.37 ล้านบาท คิดเป็น 99.57% ของมูลหนี้
โดยมีเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่บางรายอย่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐฯ (US EXIM) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ที่งดออกเสียงตามเคย คิดเป็นมูลหนี้ 21,097 ล้านบาท และบมจ.ทีพีไอโพลีน ที่ออกเสียงไม่เห็นชอบการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ คิดเป็นมูลหนี้ 281 ล้านบาท
จากคะแนนเสียงสนับสนุนของเจ้าหนี้ 99.57% ของมูลหนี้ ถือว่ามีจำนวนหนี้เกินร้อยละ 50 แห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน ถือว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติยอมรับข้อเสนอการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯของผู้บริหารฉบับลงวันที่ 6 ก.ย. 2547
ทั้งนี้ ทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) จะส่งผลประชุมโหวตต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้ไขแผนฯในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไข ได้ยืดระยะเวลาดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการออกไปอีก 1 ปี จากเดิมสิ้นสุดระยะเวลาบริหารแผนในวันที่ 31 ธ.ค. 2547 เป็นวันที่ 31 ธ.ค. 2548 รวมทั้งจพท.จะนัดประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทในเครือทีพีไอ 6 บริษัทที่มีตัวแทนกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฯในวันที่ 26 ต.ค.นี้ และกำหนดวันประชุมเจ้าหนี้ทั้งหมดของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 28 ต.ค.นี้ เนื่องจากแผนฟื้นฟูดังกล่าวจะสิ้นสุดระยะเวลาการบริหารแผนใน 31 ธ.ค.2547
ก่อนการประชุมโหวตแผนฟื้นฟูฯฉบับแก้ไข 3 วัน มีการยื่นหนังสือขอแก้ไขแผนฯมายังจพท. จำนวน 4 ราย คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท และนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารลูกหนี้ ซึ่งจพท.ได้สอบถามผู้บริหารแผนฯในที่ประชุมเจ้าหนี้ว่าจะยินยอมให้มีการแก้ไขข้อเสนอขอแก้ไขแผนฯตามที่เจ้าหนี้และลูกหนี้เสนอหรือไม่ แต่ผู้บริหารแผนได้แถลงไม่ยินยอม ทำให้ไม่สามารถแก้ไขแผนตามคำร้องได้
นายอังเดร คลอกเก้ หัวหน้าสาขาธนาคาร KFW ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า KFW โหวตสนับสนุนการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯทีพีไอตามที่ตัวแทนกระทรวงการคลังเสนอ และหวังว่าศาลล้มละลายกลางจะผ่านการพิจารณาแผนฟื้นฟูฯโดยเร็วที่สุด หลังจากนั้น ผู้บริหารแผนฯจะมีเวลาเพิ่มทุนทีพีไอเพื่อหาพันธมิตรทางธุรกิจ 1 ปี ซึ่งถือเป็นงานหนักของผู้บริหารแผนฯ
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการเจ้าหนี้ กล่าวว่า เจ้าหนี้คงเห็นชอบกับพันธมิตรรายใหม่ที่คลังเสนอมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของทีพีไอ แต่หากให้นายประชัย เข้าซื้อหุ้นด้วย เชื่อว่าเจ้าหนี้คงไม่ยอม และเรียกร้อง ให้เคลียร์หนี้ที่คั่งค้างอยู่ เพราะไม่สามารถทำงานร่วมกับนายประชัยได้ตลอดอายุของสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 10-12 ปีได้
ด้านนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตนยืนยันที่จะคัดค้านการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯทีพีไอตามขั้นตอนทางกฎหมาย เนื่องจากแผนฟื้นฟูฯดังกล่าวขัดกับกฎหมาย เพราะทีพีไอไม่ใช่บริษัทล้มละลาย การจะลดทุนและนำหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทออกจำหน่ายในราคาถูกเพียง 2.20 บาท/หุ้น ทั้งที่ราคาหุ้นแท้จริง อยู่ที่ 20 บาท/หุ้นนั้น ถือเป็นการกระทำที่ลิดรอน สิทธิผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และขัดเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่กำหนดว่าเมื่อฟื้นฟูเสร็จจะต้องคืนกิจการให้แก่ลูกหนี้ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าศาลจะไม่เห็นชอบการแก้ไขแผนฯครั้งนี้ ศาลรธน.นัดอภิปรายอีกรอบ 19 ต.ค.
ส่วนการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวานนี้ (12 ต.ค) ยังไม่ได้ข้อยุติเกี่ยวกับกรณีกระทรวงการคลัง เข้าเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงกำหนดนัดอภิปรายอีกครั้งในวันที่ 19 ต.ค. นี้ โดยศาลรัฐธรรมนูญจะไม่เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว เพราะที่ผ่านมาได้รับทราบข้อมูลเอกสาร ต่างๆ จากผู้บริหารแผนฯ และผู้บริหารลูกหนี้ ที่ได้มาชี้แจงต่อศาลฯ
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้า หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสามารถหาข้อยุติได้ทุกประเด็นที่มีการยื่นคำร้องมา ก็จะมีการนัดวันเพื่อแถลงคำวินิจฉัยส่วนตนด้วยวาจา และลงมติเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งการลงมติจะยึดเสียงส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการฯโดยมีบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพีแอล) เป็นผู้บริหารแผนฯเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 43 ช่วงนั้นราคาหุ้น TPI อยู่ที่ 3.70 บาท ภายหลังจากอีพีแอลเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฯได้มีการใช้เงินอย่างผิดประเภท และไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาหนี้สินจำนวนมากได้ ทำ ให้มีกระแสต่อต้านจากพนักงานทีพีไอ และราคาหุ้น TPI ก็ปรับลดลงอย่างหนักต่ำสุดที่ 1.70 บาท/หุ้นใน ปี 44 สุดท้ายศาลมีคำสั่งในวันที่ 21 เม.ย.2546 ให้อีพีแอลพ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฯ โดยแต่งตั้งให้ผู้บริหารลูกหนี้ร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว ราคาหุ้น TPI 3.40 บาท
แม้ว่านายประชัยจะกลับเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฯชั่วคราว แต่เส้นทางไม่ราบรื่น ทางเจ้าหนี้ได้กดดันโดยยกเลิกสินเชื่อหมุนเวียนที่เคยให้ เพื่อปิดทางลูกหนี้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งทีพีไอก็แก้เกมโดยการงดจ่ายคืนดอกเบี้ยทันที โดยนำเงินทั้งหมดไปใช้ในการผลิตสินค้าเต็มที่ จากความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น ทำให้เจ้าหนี้ร่วมใจตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่ คือ บริษัท บริหารแผนไทย พร้อมทั้งโหวตเลือกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ขณะที่ลูกหนี้เรียกร้องให้รัฐเข้ามาดูแลทีพีไอ
จากความขัดแย้งระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ทาง ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งไม่แต่งตั้งบริษัท บริหารแผนไทย เป็นผู้บริหารแผนฯ และสั่งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฯคนใหม่แทนเมื่อวันที่ 11 ก.ค.2546 ส่งผลให้ราคาหุ้น TPI ดีดตัวขึ้นมาอยู่ที่ 10.30 บาท โดยคลังมอบหมายให้พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธานคณะผู้บริหารแผนฯ หลังจากนั้นตัวแทนกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อทำดีวดิลิเจนท์ทั้งด้านการเงินและโรงงาน เพื่อวางแผนการดำเนินธุรกิจต่อไป ซึ่งช่วงนั้นเองได้เริ่มมีความขัดแย้งระหว่าง ผู้บริหารแผนคนใหม่กับนายประชัย
จนกระทั่งผู้บริหารแผนฯตัดสินใจแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ โดยจะมีการลด-เพิ่มทุนจดทะเบียน โดยให้สิทธิ์เจ้าหนี้แปลงหนี้เป็นทุนจากเดิมที่ถือหุ้นอยู่ 75% เป็น 90% ทำให้นายประชัยออกมาคัดค้านเต็มที่ สุดท้ายคลังตัดสินใจที่จะเข้ามาดูแลหุ้นเพิ่มทุนทีพีไอ โดยดึงหุ้นทีพีไอที่เจ้าหนี้ถือครองจากการแปลงหนี้เป็นทุนอยู่ 75% มารวมด้วย โดยจะจัดสรรหุ้นให้กับพันธมิตรร่วมทุนใหม่ โดยจะดึงปตท.เข้ามาถือหุ้น 30% รวมทั้งนำหุ้นทีพีไอโพลีนที่ทีพีไอถืออยู่ 49% มาจัดสรรด้วย โดยจะนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นทีพีไอโพลีนจำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐมาชำระคืนหนี้
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น TPI วานนี้ (12 ต.ค.) ในช่วงเช้าหลังเปิดตลาดที่ 8.85 บาท ได้มีแรงซื้อ ไล่ราคาหุ้นเข้ามาอย่างหนาแน่น เนื่องจากรอลุ้นการประชุมของเจ้าหนี้ทีพีไอเพื่อโหวตลงมติแผนฟื้นฟูกิจการฯ จนดันราคาขึ้นไปสูงสุดที่ 9.05 บาท หลังจากนั้นได้มีแรงขายทำกำไรออกมาอย่างต่อเนื่อง ทันที หลังจากมีความชัดเจนว่าเจ้าหนี้ยอมรับการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการตามที่ตัวแทนกระทรวงการคลังเสนอแล้ว ปิดตลาดราคาหุ้น TPI อยู่ที่ระดับ 8.00 บาท ลดลง 0.80 บาท เปลี่ยนแปลง 9.09% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,160 ล้านบาท
|
|
|
|
|