Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
พิชา ดำรงค์พิวัฒน์ CFO คนใหม่ของทีพีไอ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคลพิชา ดำรงค์พิวัฒน์

   
search resources

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
พิชา ดำรงค์พิวัฒน์




การแถลงผลการดำเนินงานประจำปี 2544 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เมื่อวันที่ 17 มกราคม น่าจะเป็นวันสุดท้าย ที่พิชา ดำรงค์พิวัฒน์ ปรากฏตัวต่อสาธารณะ ในฐานะกรรมการ ผู้จัดการ ธอส.

เพราะหลังจากนั้นไม่ถึง 1 เดือน เขาก็ต้องย้ายสถานที่ทำงาน เพื่อไปรับตำแหน่งใหม่ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (Chief Financial Officer : CFO) ของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ)

พิชาเพิ่งเข้ามารับงานใน ธอส.เพียง 1 ปีเศษ หลังจากที่ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ มีปัญหาความขัดแย้งกันในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ระหว่างสิริวัฒน์ พรหมบุรี อดีตกรรมการผู้จัดการ และ ศักดา ณรงค์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ จนคณะรัฐมนตรีมีมติให้ทั้งคู่พ้นจากตำแหน่ง เมื่อเดือนเมษายน 2 ปีก่อน

พิชามาจากภาคเอกชน ตำแหน่งล่าสุดก่อนเข้ามาอยู่ ธอส. เขาเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มไฟฟ้า และพลังงาน บริษัทเทเลคอมเอเซีย

เขาเข้ามาเริ่มทำงานใน ธอส. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ในขณะที่ฝุ่นควันที่ตลบอบอวล จากความขัดแย้งของผู้บริหารซึ่งเป็น ลูกหม้อเก่าแก่ของธนาคารทั้ง 2 กลุ่มยังคละคลุ้งอยู่ ดังนั้นจึงปรากฏข่าวออกมาเป็นระยะว่า เขาค่อนข้างมีปัญหาในการบริหาร งาน โดยเฉพาะไม่สามารถเข้ากับระบบงานภายในที่มีลักษณะคล้ายกับระบบข้าราชการประจำ จนกลายเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเขากับพนักงาน

ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่หลายคนมองว่าเป็นเหตุผลในการตัดสินใจลาออกครั้งนี้ แต่เขาปฏิเสธ

"ก่อนเข้ามาที่นี่ ก็เคยมีคนเตือนผมแล้วว่าในนี้มีความขัดแย้ง และหลังเข้ามาก็ยังมีใบปลิวโจมตีผม แต่ตลอดเวลา 1 ปีที่ทำงานที่นี่ ผมได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานเป็นอย่างดี" เขาบอก

พิชามองว่าการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน เป็นเรื่องปกติของการทำงานในภาคเอกชน และที่ทีพีไอ เขาถือว่าเป็นบริษัทที่มีความท้าทายมากกว่า เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีบริษัทในเครือถึง 24 แห่ง

ที่สำคัญตำแหน่งที่เขาได้รับ เป็นแค่รองจากทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ CEO และสิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการ เพียง 2 คน เท่านั้น

"ผมเคยอยู่แบงก์กสิกรไทย เคยอยู่ในเครือซีพีมา 9 ปี ทุกวันนี้ผมยังสามารถพบหรือพูดคุยกับคุณบัณฑูร ล่ำซำ คุณธนินท์ หรือ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ได้ไม่มีความขัดแย้งกัน" เขาให้เหตุผล

ทั้งสิปปนนท์ และทองฉัตร ต้องการให้พิชามาร่วมงานใน ทีพีไอมานานแล้ว เพราะหลังจากที่ทั้งคู่เข้ามารับหน้าที่ฟื้นฟูกิจการ ภายหลังศาลล้มละลายกลางรับแผนฟื้นฟู ทั้งคู่ยังไม่สามารถหามือการเงินเข้ามาดูแลเป็นการเฉพาะ สำหรับกิจการที่มีหนี้สินจำนวนมหาศาล ถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์ แห่งนี้ได้

มองในมุมของพิชา การเข้ามาทำงานในทีพีไอครั้งนี้ เปรียบเสมือนเขาได้กลับไปร่วมงานกับคนเก่าที่เคยสนิทสนมกันมาก่อน เพราะครั้งหนึ่งในยุคที่โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกกำลังบูม เขาเคยเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทวีนิไทย เจ้าของ โครงการปิโตรเคมีที่กลุ่มซีพีร่วมลงทุนกับกลุ่มโซลเวย์ ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ช่วงเดียวกับที่สิปปนนท์ เป็นกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสารต้นทางป้อนให้กับโรงงานขั้นกลาง และขั้นปลาย รวมทั้งวีนิไทยด้วย

ส่วนทองฉัตร พิชาได้รู้จักมาตั้งแต่สมัยย้ายเข้ามาเป็นผู้จัดการ อาวุโส สายบัญชีและการเงินของเทเลคอมเอเซีย ซึ่งขณะนั้นทองฉัตร ยังเป็น CEO ของที่นั่นอยู่

พิชาเริ่มเข้าไปทำงานในทีพีไอ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ วันนี้ เขาได้เปลี่ยนบทบาทจากที่เคยเป็นเจ้าหนี้ ที่มีพอร์ตสินเชื่ออสังหา ริมทรัพย์อยู่จำนวนมาก กลายมาเป็นลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายสิบรายกำลังเฝ้ามองการทำงานของเขาอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us