|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"วิโรจน์ นวลแข" แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีแบงก์ชาติสั่งห้ามบอร์ดแบงก์กรุงไทยตั้งเป็นเอ็มดี และผลงาน 3 ปีที่ผ่านมา เผยยังไม่ฟ้องร้องเพราะรอจังหวะเหมาะสม ขอยึดหลักความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา "ธาริษา" เผยความคืบหน้าลูกหนี้ 11 ราย ยังอยู่ที่ฝ่ายตรวจสอบ ลั่นต้องหาคนรับผิดชอบโดยดูที่เจตนาการปล่อยกู้
วันนี้ (12 ต.ค.) ที่ห้องเพรสิเด้นท์ 2 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เวลา 13.00 น. นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จะเปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีคำสั่งห้ามมิให้บอร์ดธนาคาร กรุงไทยรับเป็นกรรมการผู้จัดการ ทั้งๆ ที่ได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาและบอร์ดธนาคารอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
นายวิโรจน์เปิดเผยว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้ เป็นการพบปะกับสื่อมวลชน เนื่องจากที่ผ่านมาไม่สามารถแสดงความเห็นได้มากนัก โดยจะอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นช่วงที่ผ่านมา อย่างน้อยเพื่อให้ลูกค้าธนาคารกรุงไทยและประชาชนทั่วไป ได้รับทราบข้อเท็จจริง และรู้ถึงความรู้สึก โดยยืนยันว่าจะต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างแน่นอน แต่คงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนเพราะต้องดูความเหมาะสมเป็นหลัก
"หลังจากที่เก็บตัวมาระยะหนึ่ง วันนี้ผมอยาก พูดแบบลูกผู้ชายที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ วันนี้ผมยังไม่ตอบโต้หรือฟ้องร้องใคร ขอให้เป็นเรื่อง อนาคต อาจต้องรออีกระยะหนึ่ง" นายวิโรจน์กล่าว
นอกจากนี้ นายวิโรจน์จะชี้แจงรายละเอียดในหนังสือหนังสือปกขาวหรือ "บันทึก วิสัยทัศน์และการดำเนินการในฐานะกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ปี 2544-2547" ที่ได้จัดทำเมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา
โดยเนื้อหาในสมุดปกขาว เป็นบันทึกผลการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยตลอด 3 ปี ที่รับหน้าที่ กรรมการผู้จัดการ นายวิโรจน์กล่าวว่า ได้ทำหน้าที่เต็มความสามารถ ทำให้ธนาคารขยายสินเชื่อกว่า 4 แสนล้านบาท ในระหว่างไตรมาส 2 ของปี 2544 ถึงไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2545 ซึ่งธนาคารกรุงไทยขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาท ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ลดการขยายสินเชื่อเกือบ 1.5 แสนล้านบาท ธนาคารกรุงไทยยังเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่สามารถทำกำไรได้ในปี 2545 และผลักดันให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงกว่า 10% ตั้งแต่ปี 2545
"ผมถือว่าเป็นผลงานของผู้บริหารและพนักงาน กรุงไทยทุกคน ทำให้ธนาคารกรุงไทยสามารถตอบสนองภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้มีการพัฒนาระบบงานและบุคลากรมีความเป็นเอกภาพ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจ และเป็นรากฐานที่จะพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผมมีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำมา และขอยืนยันว่าได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ โดยตั้งอยู่ในความสุจริต"
ทั้งนี้ ธปท. โดยม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าฯธปท. ได้คัดค้านและสั่งการห้ามมิให้บอร์ดธนาคารกรุงไทย แต่งตั้งนายวิโรจน์เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย โดยใช้ประกาศตามมาตรา 4.2 (8) ว่าด้วยการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารได้รับความเสียหาย และขาดความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน โดยคุณสมบัติต้องห้ามของผู้บริหารสถาบันการเงินดังกล่าว ข้อที่ 8 ระบุว่ามีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทำหน้าที่ตามสมควรในการกลั่นกรองหรือตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาฝ่าฝืน หรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขาดจรรยาบรรณ นอกจากนี้ยังเข้าข่ายมาตรา 22 (8) พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ เกี่ยวกับเงินสดสำรองและการปล่อยสินเชื่อ มีผลให้นายวิโรจน์ไม่สามารถเป็นผู้บริหารสถาบันการเงินใดๆ ได้อีก
ธปท.พิจารณาลูกหนี้ 11 รายยึดเจตนาปล่อยกู้เป็นหลัก
ขณะที่วานนี้ (11 ต.ค.) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใด มีเพียงนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าฯธปท. ออกมาเปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารกรุงไทยได้ส่งหนังสือรายงานผลการตรวจสอบสินเชื่อที่มีปัญหา 11 ราย กลับมายังธปท.แล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ หากมาถึงตนและพิจารณาเสร็จ จะส่งกลับไปยังคณะกรรมการของธนาคารกรุงไทย โดยไม่มีการชี้แจงต่อสาธารณชน เนื่องจากเป็นเรื่องที่กระทบบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้
อย่างไรก็ตาม ธปท.จะติดตามต่อไปว่า ธนาคารกรุงไทยได้ดำเนินการปรับปรุงการปล่อยสินเชื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมตามขั้นตอนหรือไม่ ทั้งนี้หากจำเป็นต้องมีการกล่าวโทษฟ้องร้องธนาคารกรุงไทยก็จะเป็นผู้ดำเนินการ
"ในการตรวจสอบนั้น จะต้องหาคนรับผิดชอบ ในกรณีที่เจอการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมหรือไม่ทำตามขั้นตอนของการปล่อยสินเชื่อซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อธนาคารกรุงไทย นอกจากนั้นทางกรุงไทยจะต้องรายงานกลับมาด้วยว่าจะแก้ไขขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อที่มีความหละหลวมแต่ละรายอย่างไร" นางธาริษากล่าว
ทั้งนี้ การพิจารณาการปล่อยสินเชื่อที่หละหลวมนั้น แม้หนี้เสียจะกลายเป็นหนี้ดีในภายหลัง แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ต้องพิจารณาในเรื่องของเจตนาด้วย เนื่องจากการอนุมัติกับการชำระคืนเป็นคนละเรื่องกัน
นางธาริษากล่าวว่า จะดำเนินการหาผู้รับผิดชอบในการปล่อยสินเชื่อที่หละหลวมเป็นกรณีๆ ไป เช่น ถ้าเป็นเรื่องของบริหารการจัดการ ก็ต้องให้ฝ่ายบริหารจัดการ หรือหากเป็นนโยบายซึ่งระดับคณะกรรมการรับผิดชอบก็ต้องดูแล
|
|
|
|
|