Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
อวสานชั่วโมงอินเทอร์เน็ต             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

เปรียบเทียบบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนของไอเอสพี

   
search resources

ISP (Internet Service Provider)




ดูเหมือนว่า นับจากนี้ บริการอินเทอร์เน็ตประเภทชุด kits หรือการขายชั่วโมงอินเทอร์เน็ตจะลดความนิยมลงไปเรื่อยๆ เพราะมันกำลังถูกแทนที่บริการสมาชิกรายเดือน ด้วยอัตราค่าสมาชิกไม่ถึง 300 บาทที่กำลังเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค

ในแง่มุมของผู้บริโภคแล้ว นับเป็นข้อดีที่พวกเขาจะได้ใช้อินเทอร์เน็ตได้จุใจมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปซื้อชั่วโมงอินเทอร์ เน็ตมาเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราค่าบริการ รายเดือนในเวลานี้ ที่อยู่ช่วงระหว่าง 400-300 บาท ก็นับว่าจูงใจไม่น้อย ยิ่งเมื่อถัวเฉลี่ยออกมาเป็นรายชั่วโมงด้วย

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาของการใช้งานในแต่ละครั้ง ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามไอเอสพีแต่ละแห่ง เช่น เคเอสซี กำหนดว่า ให้ใช้งานต่อครั้งได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมง บางรายก็อาจกำหนด 2 ชั่วโมง เพราะ หากให้ใช้ไม่จำกัด ไอเอสพีก็คงต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้น

ประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับ ก็คือ กำหนดแผนการตลาดในระยะเวลาที่ยาวขึ้น หรือการเพิ่มเติมบริการต่างๆ ที่ให้กับลูกค้าที่มีระยะเวลา และความแน่นอนในการใช้งานจะมีมากขึ้น หากเป็นบริการแบบรายชั่วโมง การตัดสินใจของลูกค้ามักจะขึ้นอยู่กับค่าบริการ การหมุนเวียนของลูกค้าจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จะส่งผลต่อการกำหนดแผนการตลาดในระยาว ย่อมยากขึ้นไปด้วย

รูปแบบการใช้งานจะเปลี่ยนไป แทนที่จะซื้อแพ็กเกจชั่วโมงมาใช้ และใช้ร่วมกันครั้งละหลายๆ คน จะเปลี่ยนมาสู่การ ใช้เป็นรายบุคคลมากขึ้น 1 คน ต่อ 1 account "เป็นไปตามแนวโน้มที่เหมือนกับในต่างประเทศ" ดร.ธัชพงษ์ โหตรภวานนท์ ประธาน กรรมการบริหาร บริษัทล็อกซอินโฟ เซอร์วิส จำกัด

เมื่อบริการรายเดือนมาแทนที่บริการชั่วโมงอินเทอร์เน็ต จะใช้งานน้อยลง จะกลาย เป็นการใช้งานเฉพาะกรณีฉุกเฉินหรือสำหรับ ผู้ที่เริ่มทดลองใช้ และจะเหมาะสำหรับชาวต่าง ประเทศที่เดินทางมาเมืองไทยแบบไม่นาน

อย่างไรก็ตาม ดร.ธัชพงษ์เชื่อว่าผลต่อเนื่องที่จะตามมาจากระยะเวลาการใช้ อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ก็คือ ช่วงเวลาและโอกาสของธุรกิจ e-commerce และการสอนทางอินเทอร์เน็ต หรือ e-learning จะได้รับความนิยมมากขึ้น โรงเรียนกวดวิชาแทนที่จะไปตั้งสาขาก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป

"แต่เดิมเขาต้องเสียทั้งค่าเรียน และค่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางทีแพงกว่าค่าเรียนเสียอีก เขาก็เสียเป็นเดือนๆ ไม่กี่ร้อย บาท ความนิยมจะเพิ่มขึ้น" ดร.ธัชพงษ์บอก

ทั้งนี้ กลไกสำคัญที่เป็นแรงขันดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ น่าจะมาจากบริการ 1222 ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ ไทย ที่ใช้โครงข่าย IP network ที่ทำขึ้นเพื่อประหยัดค่าโทรศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ

นอกเหนือจากทศท.จะเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีภายใต้ชื่อบริการ totonline.net ให้กับลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์พื้นฐาน แล้ว ทศท. ยังเปิดให้ไอเอสพีมาเช่าใช้เพื่อนำไปให้บริการ แก่ลูกค้าอีกด้วย

ผลที่ตามมา ก็คือ จากเดิมที่ไอเอสพีแต่ละรายจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สาย โทรศัพท์ ตามจำนวน และปริมาณการใช้งาน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก "ถ้าเช่า 100 คู่สาย ก็ให้บริการพร้อมๆ กันได้แค่ 100 รายเท่านั้นจะเกินกว่านี้ไม่ได้ ดังนั้น ก็ต้องเพิ่มการเช่าคู่สายเพิ่มขึ้น ตามจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น" ดร. ธัชพงษ์บอก

นอกจากนี้ ยังประหยัดต้นทุนในเรื่องการจัดตั้ง Node ตามจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าหมุนโทรศัพท์เข้ามาที่ศูนย์ของไอเอสพี ในอัตราครั้งละ 3 บาท ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ ทางไกล ซึ่งการติดตั้ง Node ในต่างจังหวัด แต่ละแห่งจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านบาทต่อ 1 Node

ส่วนรูปแบบของบริการรายเดือน ของแต่ละค่ายจะมีเงื่อนไขและรูปแบบที่แตกต่างกันไป การเลือกใช้งานก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละราย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us