Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
โทรมือถือ 1900 เรื่องวุ่นๆ ขององค์การโทรศัพท์             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ขายโทรศัพท์ แบบด่วนๆ เร็วกว่า ทศท.ครึ่งปี
แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ปรึกษากินเรียบ
กว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ 1900

   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT




ในที่สุด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็มีกำหนดเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ ใช้คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 แต่ดูเหมือนว่าเรื่องวุ่นๆ ก็ยังไม่จบลงง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม การเปิดให้บริการยังเป็น เพียงแค่ Soft Opening ให้กับพนักงานขององค์การโทรศัพท์ฯ และลูกค้าวีไอพี จำนวน 5,000 เลขหมายได้ใช้งาน เนื่องจากเครือข่ายยังมีอยู่จำกัด เพราะ ติดตั้งไปได้แค่ 200 สถานีฐาน จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 500 สถานีฐาน

สุธรรม มะลิลา ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) บอกว่า หากจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ ก็ต่อเมื่อ ติดตั้งสถานีฐานได้ครบ 1,000 แห่ง และก็ต้อง เริ่มกันที่เขตนครหลวงก่อน ส่วนต่างจังหวัดจะขายเลขหมายต่อเมื่อ ทศท.มีโครงข่ายเป็นของตนเองเสียก่อน นั่นหมายความว่า กว่าจะบริการต้องรอไปอีกพักใหญ่ๆ

งบประมาณจำนวน 2,900 ล้านบาท ได้ ใช้ไปกับการวางสถานีฐาน ได้เพียงแค่ 500 สถานี ครอบคลุมเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น และจะมีเลขหมายที่ให้บริการเพียงแค่ 300,000 เลขหมาย

ทศท.เองก็รู้ว่า เครือข่ายที่มีจำกัดเป็นอุปสรรคในการทำตลาดระดับกว้าง แนวทางการตลาดในเบื้องต้นจึงอยู่ในวงจำกัด จะเริ่มจากพนักงานองค์การโทรศัพท์ฯ ที่มีอยู่ 26,000 คน จากนั้นจะเสนอขายให้กับผู้ใช้โทรศัพท์พื้นฐานของ ทศท.ที่มีอยู่ 3.1 ล้านเลขหมาย ข้อ เสนอของ ทศท.คือ ให้โทรศัพท์มือถือไปใช้งาน โดยแลกกับเงินประกันเลขหมาย 3,000 บาท ที่ ทศท.ต้องคืนกลับให้ลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์พื้นฐาน

แต่ดูเหมือนว่า ทศท.ก็ยังคงต้องเผชิญ กับความท้าทายอย่างอื่น นอกเหนือจากการที่ต้องมีบริการพื้นฐานอย่าง postpaid และบริการ prepaid หรือบัตรเติมเงิน ทศท. จำเป็นต้องเรียนรู้กลยุทธ์การตลาด อย่างเช่นการกำหนดให้เลขหมาย 4 ตัวหลังของโทรศัพท์มือถือระบบ 1900 ตรงกับเลขหมายโทรศัพท์บ้านที่ใช้เบอร์ ทศท. หรือติดตั้งโทรศัพท์บ้านแถมเลขหมายโทรศัพท์มือถือระบบ 1900 หรือ การคิดค่าบริการแบบเหมาจ่าย คือ เหมาจ่าย ทั้งเบอร์บ้าน และโทรศัพท์มือถือระบบ 1900

สุธรรมบอกว่า ลูกค้าเป้าหมายของบริการนี้จะเป็นตลาดระดับล่าง เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่มาก แต่ราคาเครื่องลูกค้ามีราคาแพงกว่าระบบอื่นๆ ที่ขายอยู่ เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับ ทศท.ที่ต้องแบกรับต้นทุนจำนวนมาก

แต่ในแง่มุมของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ระบบที่แตกต่างกันไม่ได้มีผลต่อราคาของโทรศัพท์มือถือ เพราะโทรศัพท์มือถือที่ผลิตออกมาก็สามารถรองรับกับระบบโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 ระบบ คือ จีเอสเอ็ม 900 จีเอสเอ็ม 1800 และ 1900 เพื่อว่าจะได้ขายทั้งในตลาดยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา

"ไม่ว่าจะเป็นระบบไหน ราคาของเครื่องโทรศัพท์มือถือก็เท่ากันหมด ไม่ได้เกี่ยว กันเลย" ผู้บริหารของบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออธิบาย

แม้ว่า โทรศัพท์มือถือ ระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ จะมีข้อได้เปรียบในเรื่องเทคโนโลยี จนอดที่จะมีคำถามตามมาไม่ได้ว่า แทนที่ทศท.จะมาช่วงชิงตลาดโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันกับคู่แข่งที่แข็งแรงกว่า ทั้งในด้านฐาน ลูกค้า เครือข่ายและประสบการณ์และเงินทุน หาก ทศท.ก้าวไปสู่โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือ 3 G ซึ่งเป็นสิ่งที่จีเอสเอ็ม 900 และ 1800 ยังทำไม่ได้ เนื่องจากคลื่นความถี่ไม่สามารถพัฒนาได้ ไม่เหมือนกับระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่า

แต่ดูเหมือนว่า ความจำเป็นเฉพาะหน้า ทำให้ ทศท.ไม่มีทางเลือกมากนัก จำเป็นต้องมีบริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีค่ามีราคา สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจภาย หลังจากแปรสภาพไปเป็นบริษัท ทศท.คอร์ปอ เรชั่น จำกัด และเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น

ด้วยเหตุนี้เอง ทศท.จึงต้องเปิดทางให้เอกชนเข้ามาเป็นตัวแทนการขาย โดยให้เหตุผลว่า ต้องการอาศัยประสบการณ์ และเครือข่ายร้านค้าของเอกชนมาช่วยในการจัดจำหน่าย เพราะกว่า ทศท.จะตั้งเครือข่ายร้าน จัดจำหน่าย จัดหาสถานที่ หาทีมงานก็คงต้อง ใช้เวลาอีกนาน

ผลจากการคัดเลือกเสนอมา 9 ราย คือ บริษัทสามารถอีเทรดดิ้ง ที่พ่วงด้วยไออีซี และ พีซีเซลลูลาร์ ซึ่งทั้ง 3 รายนี้ ให้เหตุผลว่า ต้อง การอาศัยประสบการณ์และเครือข่ายของบริษัท เอกชนมาช่วยในการขาย โดยล้วนแต่เคยเป็นตัวแทนขายโทรศัพท์มือถือมาก่อนทั้งสิ้น

บริษัทสามารถเทรดดิ้ง และไออีซี ไม่ได้เป็นแค่ตัวแทนขายเท่านั้น แต่ยังเสนอติดตั้งระบบบิลลิ่ง หรือระบบชำระเงิน และทำระบบ customer service รวมไปถึงระบบ call center เป็นหนึ่งในระบบที่มีความจำเป็นให้ ทศท. เช่าคู่สายควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า เป็นลักษณะบริการแบบเบ็ดเสร็จ turnkey project

ทศท.ไปรับผิดชอบเรื่องของเครือข่ายเพียงอย่างเดียว ซึ่ง ทศท.จะใช้วิธีโรมมิ่งกับเอไอเอส และแทคก่อนในช่วงที่การลงทุนติดตั้งเครือข่ายอีก 20,000 ล้านบาท เพื่อรองรับอีก 2.5 ล้านเลขหมาย ยังอยู่ในขั้นต่อไป

แต่เรื่องกลับไม่จบลงง่ายๆ เมื่อโทรศัพท์มือถือยังคงเป็นธุรกิจที่หอมหวน ปรากฏข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ทศท.อาจต้องสูญเสียผลประโยชน์มหาศาลจากการว่าจ้างเอกชนเข้ามาเป็นตัวแทนขาย ประเมินจาก ค่าใช้จ่ายที่เอกชนคิดกับ ทศท. ในอัตราเลขหมายละ 1,900-2,500 บาท ตามจำนวนเครื่องที่มีการจดทะเบียนในแต่ละเดือน ตามประมาณ การที่วางไว้ คือ 3 ล้านเครื่อง เมื่อนำมาเปรียบ เทียบกับผู้ให้บริการอีก 2 รายแล้ว เป็นตัวเลข ที่สูงมาก ยังไม่รวมค่าเช่าระบบบิลลิ่ง และศูนย์ call center ที่ต้องมีการคิดค่าใช้จ่าย อีกต่างหาก

"ข้อเสนอของเรามีหลายทางเลือก ขึ้น อยู่กับเครือข่าย ทศท.รองรับกับเลขหมายได้แค่ไหน ยิ่งถ้ารองรับได้มาก ค่าใช้จ่ายที่เราเก็บก็ลดลงไป หรือจะให้ขายอย่างเดียวก็ได้ ทศท.จะไปทำระบบบิลลิ่งเองก็ได้" ธวัชชัย วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด บอก

อย่างไรก็ตาม ธวัชชัยบอกว่า ไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลยสำหรับการทำตลาดโทรศัพท์มือถือระบบ 1900 ไม่ได้อยู่ที่เครื่องลูกข่ายราคาสูงกว่าระบบอื่น และเงื่อนไข ปัญหาของเครือข่าย หากรวมถึงการที่เอกชนจะต้องป็นผู้ลงทุนทำระบบบิลลิ่ง และระบบ Customer Service ต้องใช้เงิน 80-100 ล้านบาท จะต้องใช้เวลาไม่น้อย กว่า 3-5 ปี จึงจะคืนทุน

ในระหว่างนั้นเอง บริษัทคอมลิงค์ ผู้ รับสัมปทานเคเบิลใยแก้วตามรางรถไฟ ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ถือหุ้น เสนอตัวผ่านกระทรวงคมนาคมเข้ามาอีกราย ด้วยข้อเสนอใหม่ ที่ถูกกว่าไม่ว่าจะเป็นการคิดค่าบริการที่ถูกกว่า แถมยังเสนอลงทุนสร้างโครงข่ายและให้ ทศท.เช่า ไม่ต้องควักเงินลงทุน

แม้ข้อเสนอของคอมลิงค์จะเป็นต่อ แต่ จุดอ่อนของบริษัทนี้อยู่ที่การไม่มีประสบการณ์ ในเรื่องของการขายโทรศัพท์มือถือ ไม่มีร้านค้า จัดจำหน่าย และยังเคยฟ้องร้อง ทศท.ในเรื่อง สัญญาสัมปทานเคเบิลใยแก้ว จนชนะคดี เป็น บทเรียนอันเจ็บปวดที่ทำให้ ทศท.ต้องจ่ายเงิน มหาศาลมาแล้ว

เรื่องทั้งหมดจึงต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการใหม่อีกครั้งในวันที่ 7 มีนาคม

ไม่ว่าผลจะลงเอยอย่างไร กลุ่มสามารถ หรือคอมลิงค์ ใครจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือก แต่ดูเหมือนว่า เส้นทางของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือ ถือรายนี้คงต้องเผชิญกับอุปสรรคอีกมาก เพราะธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ต้องใช้ทั้งเงินลงทุน และการตลาด รวมถึงการพัฒนาระบบใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงิน ต่างลง ความเห็นว่า ตราบใดที่เรื่องทำนองนี้ยังเกิด ขึ้นในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การเปิดตัวของ โทรศัพท์มือถือ ระบบ 1900 จะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้บริการ หรือส่งผลให้ตลาดเกิดการแข่งขันแต่อย่างใด

นั่นไม่สำคัญว่า โทรศัพท์มือถือ ระบบ 1900 จะเป็นเพียงขุมทองของเอกชนที่ยังคงเสาะแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ หรือยุทธศาสตร์ ทางธุรกิจก็ของบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น ทศท. คงตอบดีที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us