Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 ตุลาคม 2547
จับตาบอร์ดกรุงไทยวันนี้ลุ้นวาระแต่งตั้ง"วิโรจน์"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking




จับตาประชุมบอร์ดธนาคารกรุงไทยวันนี้ อาจยังไม่พิจารณาคุณสมบัติ "วิโรจน์ นวลแข" เหตุยังไม่ได้รับหนังสือยืนยันการตรวจสอบจากธปท. ที่ต้องรอให้ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" กลับจาก ประชุมประจำปีไอเอ็มเอฟก่อน พร้อมเตรียมออกเกณฑ์คุมเข้มผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตสถาบันการเงินเพิ่ม

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า "การประชุมคณะกรรมการธนาคารในวันนี้ (7 ต.ค.) จะไม่มีการพิจารณาเรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการตามความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากธนาคารยังไม่ได้รับหนังสือยืนยันการพิจารณาคุณสมบัติของนายวิโรจน์ นวลแข จากธปท. แต่หากได้รับหนังสือจากธปท. ที่ประชุมบอร์ดจะนำเรื่องนี้เข้าหารือด้วยทันที แบงก์ชาติจึงยังไม่รู้ว่าจะมีการพิจารณาหรือไม่ เพราะความจริงเรื่องนี้มีอยู่ประเด็นเดียว คือ รายละเอียดในหนังสือที่รอจากแบงก์ชาติเท่านั้น ขณะนี้กระแสข่าวกรุงไทยสับสนไปหมดแล้ว จึงไม่อยากจะพูดอะไรมาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการให้เรื่องยุติเร็ว แต่ก็ยังไม่จบซักที" นายศุภรัตน์ กล่าว

ส่วนกรณีมีรายชื่อผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งแทน หากคุณสมบัตินายวิโรจน์ ไม่ผ่านการพิจารณา อาทิ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงษ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) นั้น นายศุภรัตน์ กล่าวว่า คงเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งที่ต้องดำเนินการคือ พิจารณาเรื่องของนายวิโรจน์ให้จบก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร รวมถึงคณะกรรมการ เองก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น

สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบคุณภาพสินเชื่อจำนวน 46,000 ล้านบาท ตามคำสั่งของธปท. นั้น นายศุภรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้ผลการตรวจสอบคืบหน้าไปมากแล้ว และคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยและทันตามระยะเวลาที่ธปท.กำหนดไว้ โดยหลังจากสรุปผลแล้ว จะส่งข้อมูลที่ได้เป็นรายงานให้ ธปท.เพื่อนำไปพิจารณาปรับชั้นหนี้ต่อไป

"การที่เราเข้าไปตรวจสอบ จะดูเฉพาะคุณภาพ ของสินเชื่อในฐานะของธนาคาร และเราจะให้ความเห็นว่าเป็นอย่างไร ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวจะมีทั้งสินเชื่อที่ดีและไม่ดี แต่เราคงจะตอบไม่ได้ว่าหนี้ส่วนไหนบ้างที่เป็นเอ็นพีแอลบ้าง ต้องขึ้นอยู่กับแบงก์ชาติเป็นผู้พิจารณาตัดสินในส่วนนี้" นายศุภรัตน์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ ธปท. โดยม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 35 (1) สั่งให้คณะกรรมการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย นำส่งผลการตรวจสอบลูกหนี้ที่มีปัญหาจำนวน 11 ราย จากจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย กลับมายัง ธปท. ภายใน 30 วัน หรือครบกำหนดในวันที่ 10 ตุลาคมนี้

แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ธปท. ยังไม่ได้ส่งหนังสือผลการตรวจสอบให้กับธนาคารกรุงไทยแต่อย่างใด เนื่องจากต้องรอให้ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เดินทางกลับจากการประชุมประจำปีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอฟเอฟ) ก่อน ซึ่งผู้ว่าการ ธปท. มีกำหนดการเดินทางกลับคืนวานนี้ (6 ต.ค.) เวลาประมาณ 23.00 น. ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ธปท. อาจส่งหนังสือให้กับธนาคารกรุงไทยภายในเช้าของวันนี้ (7 ต.ค.) ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ ธนาคารในช่วงบ่าย

ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวในการประชุมของกลุ่มความร่วมมือของธนาคารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (SEANZA) ที่ประเทศสเปน ว่า ในอนาคตธปท. อาจจะมีการออกเกณฑ์ใหม่เข้ามาดูแลการทำงานของ ผู้ตรวจสอบบัญชีของสถาบันการเงินเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของธปท. ในการประเมินคุณภาพของระบบบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงินที่เปิดเผยต่อสาธารณชน

"แบงก์ชาติจะต้องหารือกับสมาคมนักบัญชี หากจะมีการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ โดยธปท. จะต้องคำนึงถึงความเป็นกลางของผู้ตรวจสอบบัญชีด้วย เนื่องจากผู้สอบบัญชีอาจมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของธนาคารพาณิชย์ด้วย อาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ เพราะผลตอบแทนจากการรับเป็นที่ปรึกษาสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้สอบบัญชีมากกว่าค่าธรรมเนียม จากการตรวจสอบ"

ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎให้ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องทำหน้าที่ผู้สอบผู้สอบบัญชี และไม่ควรทำหน้าที่อื่นที่จะทำให้การตรวจสอบบัญชีไม่เกิดความเป็นอิสระ แต่เกณฑ์ดังกล่าวยังมีช่องโหว่ คือให้ผู้ตรวจประเมินความเป็นอิสระของตนเอง

ขณะที่ ธปท.ได้มีการกำหนดเกณฑ์ให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของระบบสถาบันการเงินไทย โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตที่ได้ตามมาตรฐานและไม่เคยถูกถอนใบอนุญาตมาก่อน และไม่อนุญาตให้ผู้ตรวจสอบบัญชีรายใดตรวจสอบบัญชีของสถาบันการเงินแห่งใดติดต่อกันเกินกว่า 5 ปี สถาบันการเงินต้องอนุญาตให้ผู้ตรวจสอบบัญชีส่งเอกสารต่างๆ ที่ ธปท.ร้องขอด้วย

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชี เพราะการตรวจสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบและผู้กำกับอย่าง ธปท. ยังไม่ตรงกัน รวมทั้งมีมาตรฐานในการคำนวณและคำนิยามที่ต่างกัน คือผู้สอบบัญชีจะเน้นตรวจสอบเพียงความถูกต้อง แต่ไม่ได้ดูในเรื่องของเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกันสำรองหนี้ ขณะที่ผู้กำกับของ ธปท.มีการกำหนดเกณฑ์อย่างไว้อย่างชัดเจนทั้งการกันสำรองหนี้ การจัดชั้นหนี้ และการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง

นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีหลายรายไม่ได้ทำหน้าที่การตรวจสอบบัญชีให้สถาบันการเงินนั้นเพียง อย่างเดียวแต่ให้บริการอย่างอื่นด้วย เช่น การให้คำปรึกษาทางการเงิน หรือคำแนะนำพิเศษสำหรับการปล่อยสินเชื่อบางราย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะทำหากยังทำหน้าที่การตรวจสอบบัญชี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us