Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ตุลาคม 2547
แบงก์มีสิทธิกันสำรองเพิมธปท.จี้แก้NPL-ยันไม่กระทบฐานะ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking




"ธปท." แย้มอาจมีแบงก์พาณิชย์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่ม แม้ปัจจุบัน กันสำรองเกินเกณฑ์แล้ว หวังแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลให้ลดลงเหลือ 2% ภายในปี 2549 ระบุไม่กระทบการดำเนินงานแบงก์ เพราะแบงก์สามารถนำสำรองส่วนเกินมากันสำรองได้ ตัวเลขสำรองเกินเกณฑ์ทั้งระบบเฉลี่ยสูงถึง 40%

นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ประกาศตาม หนังสือเวียนที่ประกาศออกมาเมื่อ 26 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา เรื่องเกณฑ์การจัดการสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้นั้น เนื่องจาก ธปท.ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์เร่งจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพี-แอล) หรือหนี้คงค้างที่ไม่ได้ดำเนินการ ให้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้หนี้เอ็นพีแอลในระบบลดลงตามเป้าหมายตั้งไว้ให้เหลือ 2% ภายในปี 2549 ซึ่งคาดว่าอาจจะมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่มในงวดสิ้นปีบัญชี 2547 แม้ว่าจะกันสำรองเกินเกณฑ์ตามที่ ธปท.กำหนดแล้วก็ตาม

"หากแบงก์พาณิชย์เร่งฟ้องลูกหนี้เพิ่มก็เท่ากับว่ามาตรการที่ออกไปได้ผลดี เพราะจะได้เร่งลดหนี้เสียในระบบได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งที่จริงๆมาตรการหนี้นั้นต้องการบีบให้แก้ไขหนี้ แต่คงมีธนาคารบางแห่งอาจจะต้องกันสำรองเพิ่มจากมาตรการนี้ แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะทางแบงก์พาณิชย์สามารถนำเงินสำรองส่วนเกินมาสำรองได้" นายสามารถกล่าว

สำหรับตัวเลขกันสำรองเกินเกณฑ์ของระบบสถาบันการเงินในขณะนี้ โดยเฉลี่ยมีประมาณ 40% เนื่องจากเกือบทุกแห่งกันสำรองเกินเกณฑ์อยู่ที่ระดับ 135-140% ซึ่งสถาบันการเงินสามารถนำสำรองส่วนเกินมาใช้กันสำรองหนี้ที่เหลือคงค้างและจัดการได้ไม่เสร็จทันสิ้นปีนี้

ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้ออกประกาศหนังสือเวียนใน ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2547 เรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เข้มแข็งและเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สำเร็จเร็วขึ้น ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

โดยให้ปรับปรุงเกณฑ์การกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ กรณีที่ยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ด้วยการให้กันเงินสำรองเพิ่มสำหรับยอดคงค้างหลังหักเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์กันไว้แล้ว ซึ่งอัตราส่วนขึ้นอยู่กับระยะเวลาการค้างชำระหนี้ และยกเลิกเกณฑ์การประเมิน สินทรัพย์ที่ตีราคาเกินกว่า 12 เดือน จากเดิมที่อนุญาตให้นำมาหักจากยอดคงค้างก่อนกันเงินสำรอง ได้ไม่เกิน 50% ของราคาประเมิน รวมทั้งห้ามโอนเงินสำรองพึงกันที่เกิดจากงวดบัญชีหลังของปี 2544 ไปเป็นรายได้

ทั้งนี้ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ ต้องกันเงิน สำรองในอัตรา 100% คือ 1.ลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้น เป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 12 เดือน 2.ลูกหนี้เบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน แต่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือครบกำหนดชำระแล้ว แต่ไม่มีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเกินกว่า 12 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน 3.อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชำระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด กรณีที่ประเมินไว้หรือที่ตีราคาไว้ไม่เกิน 12 เดือน ให้นำมูลค่ามาหักได้ 100% และสำรองเพิ่มส่วนที่เหลือให้ครบ 100% ให้หักค่าประมาณการใช้จ่ายในการขายก่อนนำไปเปรียบเทียบ กับราคาตามบัญชี แต่ถ้ากรณีประเมินไว้เกิน 12 เดือน ให้นำมูลค่าที่ได้จากราคาประเมินมาใช้ได้เพียง 50% และส่วนที่เหลือต้องสำรองเพิ่มให้ครบ 100% และ 4.สินทรัพย์อื่นเฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม 5.สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาดว่าจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจำนวน 6.ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ 7.มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องนั้นจะไม่ได้คืนทั้งจำนวนตามที่แบงก์ชาติสั่ง

นอกจากนี้ หนี้ที่ไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องและปรับโครงสร้างหนี้ ก็ต้องตั้งสำรองตามเกณฑ์ดังนี้ คือ หนี้ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือนแต่ไม่เกิน 24 เดือน ต้องกันสำรอง 100% หนี้ค้างชำระเกินกว่า 24 เดือน แต่ไม่เกิน 36 เดือน กันสำรองเพิ่มไม่ต่ำกว่า 125% หนี้ค้างชำระเกินกว่า 36 เดือน แต่ไม่เกิน 48 เดือน กันสำรองเพิ่มไม่ต่ำกว่า 150% และหนี้ค้างชำระเกินกว่า 48 เดือน กันสำรองเพิ่มจากกรณีที่ 1 เต็มจำนวนหลังหักหลักประกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us