เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ถือได้ว่าเป็นสิ่งตกค้างทาง ประวัติศาสตร์ธุรกิจ Trading
Firm ชิ้นสุดท้ายที่มี อายุเก่าแก่ที่สุดถึง 120 ปี เป็นห้างฝรั่งที่ก่อตั้งใน
พ.ศ.2425 ชื่อบริษัท ยุคเกอร์แอนด์ ซิกก์ แอนด์ โก โดยอัลเบิร์ต ยุคเกอร์
ร่วมหุ้นกับ เฮนรี่ ซิกก์ เพื่อ เป็นตัวแทนขายสินค้าอุปโภคบริโภคต่างประเทศ
และเครื่องมืออุปกรณ์เดินเรือ (จากฉบับที่ 65 โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช)
แต่เมื่ออัลเบิร์ต ยุคเกอร์ เสียชีวิตด้วยโรค อหิวาห์ ต่อมาเฮนรี่ก็เสียชีวิตเช่นกัน
หุ้นส่วนใหม่ อย่าง อัลเบิร์ต เบอร์ลี่ จึงเทกโอเวอร์และเปลี่ยนชื่อ เป็นบริษัท
เอ เบอร์ลี่ แอนด์ โก ขยายธุรกิจไปยัง ประกันภัยและเป็นเจ้าของโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดใน
ขณะนั้น
อัลเบิร์ต เบอร์ลี่ ได้แต่งงานกับแมรี่ ลูกสาว คนโตของยุคเกอร์ ใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่าบริษัท
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ในปี 2467 เป็นตัวแทนจำหน่ายรายแรกที่ นำเข้าสินค้าแปลกใหม่จากต่างประเทศ
เช่น นม กระป๋องจากสวิส โกโก้ผงจากฮอลแลนด์ และ กระดาษทิชชูจากสหรัฐฯ แต่กิจการที่รุ่งโรจน์ต้อง
ปิดตัวเองลงในสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง เพราะหวั่นภัยเหลือง เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยึดไทยได้
และจับเชลยศึกต่างชาติ
ยุคที่สองของกิจการเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เริ่มต้น ใหม่อีกครั้งในปี 2489 โดยมีหุ้นส่วนใหม่ชาวสวิส
ชื่อ วอลเตอร์ ไมเยอร์ ที่เคยทำงานที่อินเดีย และเซี่ยงไฮ้มาก่อน และกุสตาฟ
ไฮท์แมน ชาว เยอรมัน ที่ดูแลการเงินและการส่งออก
ยุคนี้ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายได้ลงไป สู่ฐานการผลิต ที่สร้างรายได้และกำไรมากกว่า
โดยในปี 2493 ซื้อโรงงานสบู่รูเบีย ผลิตสบู่ตรา นกแก้วจนถึงทุกวันนี้ และอีกสองปีต่อมา
โรงงาน อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย (ไทยกลาส) ก่อตั้งโดยร่วมทุนกับบริษัท
ออสเตรเลี่ยน คอนโซลิเดเต็ด อินดัสตรี
ยุคที่สามเกิดขึ้นเมื่อ BJC จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยุคแรกในปี 2518
และเพิ่มทุน 70 ล้านในปี 2520 โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ สุด คือ บริษัทเฮกเกอร์
ไมเยอร์ เอ็น.วี ซึ่งเป็น บริษัทการค้ายักษ์ใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ที่มี ฐานกำเนิดที่อินโดนีเซียในปี
2443 จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ อัมสเตอร์ดัมด้วย มีเครือ ข่ายการตลาดคลุมสามทวีป
ซึ่งเป็นที่สนใจของ กลุ่มเฟิร์ส แปซิฟิค อย่างมาก กลุ่มนี้ได้กว้านซื้อ หุ้นเฮกเกอร์
ไมเยอร์ในตลาดหุ้น จนถือหุ้นใหญ่ 51% ใน ปี 2526
ดังนั้น ยุคที่สี่ของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จึงต้อง ตกเป็นของกลุ่มเฟิร์ส แปซิฟิค
ซึ่งเป็นของหลิม ซู เหลียง มหาเศรษฐีชาวอินโดนีเซียโดยปริยาย วอลเตอร์ ไมเยอร์
รู้ข้อมูลนี้ทันทีในฐานะนายทะเบียน หุ้นเอง จึงวางแผนแตกพาร์หุ้น 100 บาทเป็น
10 บาทในปลายปี 2530 เพื่อให้การกว้านซื้อหุ้นใหญ่ ยากขึ้น แต่ก็ไม่พ้นอำนาจเงินของกลุ่มเฟิร์ส
แปซิฟิค ที่ตั้งบริษัท เฟิร์ส แปซิฟิค ซีเคียวริตี้ ในปี 2531 โดยมีนุกูล
ประจวบเหมาะ ถือหุ้น 15% และเป็น ประธาน บริษัทซับโบรกเกอร์แห่งนี้ (จากฉบับที่
72/ กันยายน 2532 โดย ดนุช ตันเทอดทิตย์)
วอลเตอร์ ไมเยอร์ ต้องถอย โดยขายหุ้น 5% ให้กับบริษัท ออสเตรเลี่ยน คอนโซลิเดเต็ด
อินดัสทรี (เอ.ซี.ไอ) ซึ่งร่วมทุนในโรงงานไทยกลาส
หลังจากนั้น วอลเตอร์ ไมเยอร์ พร้อมกับ ภรรยา โอลิเวีย ได้ใช้ชีวิตสบายๆ
กับบ้านที่ซอย ร่วมฤดี และที่หาดวงศ์อมาตย์ พัทยาที่ตั้งของ คฤหาสน์ "Casa
Olivia" บนเนื้อที่ 5 ไร่ ซึ่งถูกขนาบ ด้วยคอนโดมิเนียม ซิลเวอร์บีชและปาร์คบีช
อันนำ ความหงุดหงิดใจแก่วอลเตอร์มากๆ จึงหนีไปซื้อเพนท์เฮาส์ที่หัวหิน และขับเรือ
San Pedro III สู่ท้องทะเลกว้างชมเกาะแก่งโดยรอบ (จากฉบับที่ 73/ตุลาคม 2532)
วอลเตอร์ได้สร้าง "ศาลาสวิส" มูลค่าห้า ล้านบาทที่วัดญาณสังวรารามที่บางละมุง
ชลบุรี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ โดยฝีมือออกแบบเป็นของสถาปนิกดีไซน์
103 จำลองแบบบ้านชนชั้นสูงของสวิสในอดีตที่เรียกว่า "ชล็อต" ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม
บรรจุ หนังสือ รูปภาพ เครื่องเรือน บอกเล่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและชีวิตชาวสวิสอย่างดี
วันนี้ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เข้าสู่ยุคที่ห้า ภายใต้ อาณาจักรของกลุ่ม ที.ซี.ซี.
ของเจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีธุรกิจน้ำเมา สมบัติเก่าแก่ชิ้นนี้มีตำนาน
และลมหายใจของผู้เป็นเจ้าของมาหลายชั่วอายุคน เหลือไว้แต่เพียง "ขวด" ที่นักลงทุนใหม่ต้องการ
เท่านั้น