|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"คุณหญิงชฎา" ยืนยันแบงก์ไทยพาณิชย์ ตั้งสำรองหนี้เอ็นพีแอลเพียงพอตามนิยามใหม่ของแบงก์ชาติที่เริ่มเน้นกระแสเงินสด เชื่อหลังธปท.เข้าตรวจสอบปลายปีนี้แบงก์ไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มเหตุตั้งไว้สูงถึง 80% แล้ว หรือกว่า 72,000 ล้านบาท ระบุกรณีหนี้เน่ากรุงไทยเป็นผลมาจากการเข้าใจนิยามใหม่ไม่ตรงกัน
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวถึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ของธนาคารว่า ในส่วนของธนาคารยืนยันว่า ได้มีการตั้งสำรองเพียงพอกับสินเชื่อที่ธนาคารได้ปล่อยให้แก่ลูกค้าธุรกิจ โดยธนาคารมีการตั้งสำรองไว้ทั้งสิ้น 3 ประเภท คือ 1.ตั้งสำรอง 100% ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด 2.การตั้งสำรองเฉพาะกิจ เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของธุรกิจที่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น บีทีเอส ที่ปัจจุบันธนาคารได้มีการตั้งสำรองครบทั้งเงินลงทุนและหนี้ โดยหนี้มีอยู่ 3,000 ล้านบาท ซึ่งทุกวันนี้บีทีเอสมีการจ่ายดอกเบี้ยปกติ แต่ธนาคารได้มีการตั้งสำรองไว้มาก และที่สำคัญธปท.ได้มีการเปลี่ยนคำนิยามในเรื่องดังกล่าว
ดังนั้น ธนาคารจึงได้มีการตั้งสำรองเผื่อเอาไว้ด้วย เพราะในอนาคตหากลูกค้ามีปัญหาเรื่องกระแสเงินสด ก็อาจกลายเป็นหนี้เสียได้ เพราะกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นการยืดหนี้ผ่อนชำระดอกเบี้ย เพราะมีบางรายที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ยังอ่อนแออยู่บ้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้คือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของธปท.และธนาคารพาณิชย์ว่าจะยึดหลักใดในการตั้งสำรอง ธนาคารจึงพยายามป้องกันความเสี่ยงโดยตั้งสำรองให้เพียงพอ
ประเภทที่ 3 คือ การตั้งสำรองสินเชื่อปกติในสัดส่วน 2% ของสินเชื่อใหม่ เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น ปัจจุบันธนาคารได้มีการกันสำรองทั้ง 3 ประเภทแล้วกว่า 80% ของหนี้ที่มีปัญหาของธนาคารหรือคิดเป็นประมาณ 72,000 ล้านบาท ขณะที่หนี้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะมีหลักประกัน 60-70% ดังนั้น หากหนี้มีปัญหาเมื่อหักหลักประกันธนาคารก็จะได้รับเงินชำระหนี้คืนในสัดส่วนเกิน 50% สรุปแล้วว่าธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องการตั้งสำรอง ไม่ได้มีความเดือดร้อนและในช่วงปลายปีนี้ ธปท.จะเข้ามาตรวจคุณภาพสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งถือว่าเป็นการเข้ามาตรวจสอบตามปกติของธปท. และเราก็เชื่อมั่นว่าเราไม่ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอีก หลังจากธปท. เข้ามาตรวจสอบ
"ข้อเท็จจริง ณ วันนี้เชื่อว่าระบบธนาคารไม่ต้องมีการตั้งสำรองมาก เพราะที่ผ่านมาธนาคารส่วนใหญ่ได้มีการกันสำรองไว้มากเกินพอ โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ แม้ว่าฝ่ายดูแลหนี้จะดูแลเป็นพิเศษแต่ตนเองก็จะเข้าไปดูด้วยตัวเองซึ่งของแบงก์มีประมาณ 200-300 ราย ที่คาดว่าจะมีปัญหาโดยวงเงินที่ดูมีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับที่ธุรกิจที่ติดตามจะดูในทุกธุรกิจขึ้นกับความผันผวนของเศรษฐกิจ เช่น อสังหาริมทรัพย์ การระบาดของไก่ โรงงานเหล็ก" คุณหญิงชฎา กล่าว
สำหรับการเพิ่มขึ้นของหนี้ NPL ของธนาคารกรุงไทย คุณหญิงชฎา กล่าวแสดงความเห็นว่า เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงประธานบริหารซึ่งเป็นเหตุการณ์พิเศษของธนาคาร แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบของธปท.แต่ละครั้งจะมีตัวเลขที่ไม่ตรงกับของธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะการพิจารณาสินเชื่อจะอยู่ในเงื่อนไข 2 อย่าง ได้แก่ เรื่องกระแสเงินสด และหลักประกัน ในธุรกิจบางประเภทเช่นอสังหาริมทรัพย์เรื่องหลักประกันก็มีความจำเป็นในการอนุมัติสินเชื่อ จึงต้องหารือกับธปท.ให้ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว
|
|
 |
|
|