Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
ชาติศิริ โสภณพนิช รุ่นที่ 3 ธนาคารกรุงเทพ             
 

   
related stories

50 ผู้จัดการ (2543)

   
search resources

ชาติศิริ โสภณพนิช




ชาติศิริ โสภณพนิช คือ ผู้มีสิทธิมาตั้งแต่เกิด สำหรับการเป็นผู้นำในธนาคาร ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ต่อจากบิดาของเขา ชาตรี โสภณพนิช แต่ชาติศิริจะต้องทำงานหนัก เขามีบุคลิกภาพ ที่อ่อนโยน และ เขาก็ปรารถนา ที่จะได้รับการนับถือจากพนักงาน และลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ

ชาติศิริได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 แทน ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ถือเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลโสภณพนิช ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในธนาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันชาติศิริ จะอยู่ในฐานะแม่ทัพใหญ่ แต่ด้วยประสบการณ์ ที่ยังต้องพิสูจน์ ทำให้อำนาจ ที่สมบูรณ์ หรือ "absolute power" ยังไม่ได้อยู่ในมือของชาติศิริเสียทีเดียว

จากการที่ชาติศิริก้าวเร็วเช่นนี้ ทำให้ถูกบีบคั้นให้แสดงความสามารถพิเศษอะไรบางอย่างออกมา ซึ่งเขาต้องเรียนรู้ และทำงานอย่างหนัก เพื่อพิสูจน์ตัวเอง

แม้แต่ชาตรีก็ได้กล่าวถึงลูกชายไว้ในจดหมายเหตุจากประธานกรรมการว่า "สำหรับตัวชาติศิริเอง ถึงแม้ว่าเขาจะพร้อมด้วยคุณสมบัติ ที่เราต้องการ แต่เนื่องจากเขามาเกิดในตระกูลโสภณพนิช และเป็นลูกชายของผม ความกดดันจากภายนอกจึงดูมีสูงกว่า ที่ควรจะเป็นมากทีเดียว เขาจะต้องใช้ความพยายาม เพื่อพิสูจน์อะไรหลายๆ อย่างมากขึ้นกว่าจะได้รับการยอมรับว่าเป็น นักบริหารมืออาชีพอย่างแท้จริง"

ชาติศิริ เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม 2502 เป็นลูกชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คนของชาตรี โสภณพนิชกับคุณหญิงสุมนี โสภณพนิช

พื้นฐานการศึกษาของชาติศิริถือเป็นคนเรียนดีคนหนึ่ง ที่สามารถคว้าปริญญาตรีเกียรตินิยมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เคมีจาก Warchester Polytechnic Institute Cambridge และ ปริญญาโทสาขา เดียวจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) Cambridge และปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) จาก Sloan School of Management

ชาติศิริเริ่มทำงาน ที่ซิตี้แบงก์ นิวยอร์ก จากนั้น จึงเดินทางกลับมาทำงาน ที่ธนาคารกรุงเทพในปี 2529 ว่ากันว่า เขาเป็นคนจริงจังกับงานมาก ขนาดมีเรื่องเล่ากันว่าครั้งอยู่ ที่ซิตี้แบงก์ ชาตรีเดินทางไปเยี่ยมลูกชาย แต่ต้องนั่งรอนานเป็นชั่วโมง เพราะลูกชายไม่ยอมออกมาพบด้วยเหตุผล "ยังทำงานไม่เสร็จ"

ชาติศิริเริ่มทำงานในธนาคารกรุงเทพในส่วนพนักงานฝึกหัดสังกัดฝ่ายการพนักงาน แล้วก็ย้ายไปเป็นดีลเลอร์อาวุโสประจำสำนักเงินตราต่างประเทศ อีก 4 เดือนให้หลังไปเป็นเจ้าหน้าที่บริหารชั้นผู้ช่วยผู้จัดการ ปี 2531 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสำนักค้าเงินตราต่างประเทศ

1 ธันวาคม 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารชั้นรองผู้จัดการฝ่ายการตลาด เดือนกันยายน 2532 ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด และรักษาการผู้จัดการสำนักจัดสรรเงิน อีก 7 เดือนถัดมาได้รับผิดชอบงานบริหารการเงิน และการตลาด

4 มิถุนายน 2534 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารชั้นรองผู้จัดการอาวุโส เดือนเมษายน 2535 เป็นกรรมการธนาคาร และกรรมการบริหาร อีก 2 เดือนให้หลังขึ้นเป็นกรรมการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ อีก 1 ปีต่อมาดำรงตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ การใช้เวลาไม่ยืดเยื้อในการสืบทอดตำแหน่งสูงสุดดังกล่าว เกิดจากชาติศิริได้รับการฝึกฝน และบ่มเพาะวิทยายุทธ์จากปรมาจารย์ในธนาคารอย่างหนัก ซึ่งพี่เลี้ยงในยุคแรกๆ ของเขา คือ พีระพงษ์ ถนอมพงษ์พันธ์ และดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย นอกจากนี้ยังมีครูดีอย่างประยูร คงคาทอง, ดำรงค์ กฤษณามระ, ปิติ สิทธิอำนวย หรือ วิระ รมยะรูป

ดังนั้น การที่ชาติศิริมีพี่เลี้ยงคอยฟูมฟักที่ดีเช่นนี้ทำให้สามารถบริหารงานในธนาคารได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเขาเป็นคนขยันเรียนรู้ เคารพผู้ใหญ่ และให้เกียรติคนอื่น ทำให้เส้นทางของนายธนาคารคนนี้ประสบความสำเร็จเหมือนยุคบรรพบุรุษ ซึ่งเขาก็ยอมรับตรงจุดนี้ "แม้ภาระหน้าที่จะหนัก แต่ผมไม่หนักใจเพราะในธนาคารมีผู้บริหารชั้นยอดอยู่มาก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us