นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงบนพื้นฐานแนวคิดทางการเมืองที่วิพากษ์ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
ที่เข้าไปมีอิทธิพลในละตินอเมริกาและเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียอย่างไม่ละอายแก่ใจแห่งการโค่นทำลาย
"อเมริกา อเมริกา อเมริกา" ชื่อภาคภาษาไทย แปลโดยภัควดี วีระ
ภาสพงษ์ เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ไม่กี่ร้อยหน้า แต่แฝงด้วยแง่มุมแห่งความไม่เห็นด้วย
โดยผู้เขียน Noam Chomsky เจตนาเริ่มต้นด้วยการประเมินนโยบายต่างประเทศของอเมริกาในรูปแบบของผู้ไม่เห็นด้วย
ข้อเสนอในบทวิเคราะห์ของเขา วาดภาพให้เห็นถึงอเมริกาปฏิบัติตนอย่างไรทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่
2 ในการตัดสินใจเข้าครอบ ครองโลก รวมถึงการจัดระบบเศรษฐ กิจและการเมืองของโลกสำหรับนาย
ทุนอเมริกัน
Chomsky มีความกังวลต่อกลุ่มคนที่มีบทบาทอย่างสูงในการกำหนดนโยบายของ อเมริกาต่อการรุกเข้าสู่โลกที่สามในลักษณะขัดแย้งจากความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ
อาทิ การได้มาอย่างไร้ศีลธรรมทางวัตถุดิบและแรงงาน ซึ่งแน่ใจได้ว่าทรัพยากรของประเทศเหล่านั้นถูกอิทธิพลของอเมริกาควบคุมโดยสิ้นเชิง
นั่นหมายถึงว่าเป็นใบเบิกทางในการสร้างผลประโยชน์และความมั่งคั่ง โดยที่ประชาชนหรือนักลงทุนของประเทศโลกที่สามไม่มีเอี่ยวแม้แต่น้อย
นักวางแผนชาวอเมริกันนับตั้งแต่สมัยดีน อคีสัน เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ
ในปลายทศวรรษ 1940 มาจนถึงปัจจุบันกล่าวเตือนไว้ว่า "แอปเปิลเน่าลูกหนึ่งสามารถทำให้เน่าได้ทั้งถัง"
อันตรายก็คือแอปเปิล "เน่า" กล่าวคือ การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจอาจแพร่ระบาดออกไป
ทฤษฎีแอปเปิลเน่าถูกขนานว่า "ทฤษฎีโดมิโน" เพื่อให้เหมาะกับการบริโภค ข่าวสารของสาธารณชนฉบับปรับปรุงที่ใช้
ขู่ขวัญประชาชนมีภาพลักษณ์ของโฮจิมินห์ลงเรือแคนูมาขึ้นฝั่งในแคลิฟอร์เนีย
ไม่แน่ว่าผู้นำอเมริกาบางคนอาจเชื่อเรื่องเหลวไหล เป็นไปได้เหมือนกันแต่บรรดา
นักวางแผนผู้อุดมด้วยเหตุผลทั้งหลายไม่เคยเชื่อเลย พวกเขาเข้าใจดีว่าภัยคุกคามที่
แท้จริง คือการมี "ตัวอย่างที่ดี"
ผู้เขียนได้ให้ตัวอย่างเอาไว้มากมาย อย่างกรณีที่ชัดเจนเมื่ออเมริกาวางแผนโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยของกัวเตมาลาในปี
1954 เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศคนหนึ่ง ชี้แจงว่า กัวเตมาลาได้กลายเป็นภัยคุกคามยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ต่อความมั่นคงของฮอนดูรัสและเอลซัลวาดอร์ การปฏิรูปที่ดินเป็นอาวุธในการโฆษณาชวนเชื่อที่ทรงพลัง
โครงการทางสังคมระดับประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่กรรมกรและชาวนา ในการต่อสู้กับชนชั้นสูงและธุรกิจต่างชาติขนาดใหญ่อย่างได้ผล
มีพลังโน้มน้าวอย่างยิ่งต่อประชากรของประเทศเพื่อนบ้านในอเมริกากลางซึ่งมีสภาพเงื่อนไขคล้ายคลึงกัน
สิ่งที่อเมริกาต้องการ คือ ความมั่นคงอันหมายถึงความปลอดภัยสำหรับชนชั้นสูงและธุรกิจต่างชาติขนาดใหญ่
หากสิ่งนี้สามารถบรรลุถึงได้ด้วยกลไกของระบอบประชาธิปไตยก็ไม่เป็นไร ถ้าหากว่าไม่ได้ภัยคุกคามต่อความมั่นคงจากตัวอย่างที่ดีต้องถูกทำลายทิ้ง
ก่อนที่เชื้อไวรัสจะแพร่ระบาดไปสู่ประเทศอื่นๆ
หนังสือเล่มนี้อาจจะเปลี่ยนความเข้าใจของผู้อ่านได้ถึงพลังของนายหน้าในสังคมโลก
เมื่ออเมริกาเข้าไปจัดแถวในระบอบประชาธิปไตย สังคมนิยม คอม มิวนิสต์ ทุนเสรี
หากใครบอกว่าอเมริกาคือผู้ทรงคุณธรรม Chomsky ก็ต้องอยู่ฝ่ายตรงข้าม เพราะเขาเข้าใจและดูเหมือนจะถูกต้องว่า
อเมริกาเป็นอันธพาลตัวแสบของ โลก
ฐิติเมธ โภคชัย