Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547
บทเรียนจากแบงก์กรุงเทพ             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวที่มีสีสันครั้งแรกๆ ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียนเกิดขึ้นอย่างน่าสนใจ แม้ว่าความเคลื่อนไหวที่ว่านี้ดูจะมาช้ากว่าธนาคารทั้งหลาย อย่างน้อย 2 ปีทีเดียว

เริ่มต้นเปลี่ยนเครื่องแบบพนักงาน เปิดฉากโฆษณา www.bangkokbank.com และตามด้วยการส่งเสริมการขายสินเชื่อบ้านในลักษณะสินค้าคอนซูเมอร์ มีการลด แลก แจก แถม อย่างเอาจริงเอาจัง เป็นการโฆษณาสินค้าในช่องทางสมัยใหม่ ตามแบบฉบับของธุรกิจแห่งยุคสมัย ซึ่งว่าไปแล้วธนาคารอื่นๆ ได้ดำเนินการในสิ่งที่เรียกว่า "ทันสมัย" ทำนองนี้มาแล้วทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้น่าสนใจทีเดียว

ธนาคารกรุงเทพดูเหมือนมีการเปลี่ยนเชิงโครงสร้างน้อยมาก ในช่วงก่อนและหลังวิกฤติการณ์ โดยเฉพาะผู้บริหารที่ประสมประสานระหว่างคนรุ่นพ่อ (ชาตรี โสภณพนิช) ที่ดูแลงานนโยบายและงานสำคัญระดับบนกับคนรุ่นลูก (ชาติศิริ โสภณพนิช) ที่กำลังสะสมประสบการณ์เตรียมเข้ามาสืบทอดภารกิจ และคงไม่มีประสบการณ์ใดสำคัญเท่าในช่วงวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ของธนาคารไทย

โมเดลนี้ดำเนินมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ถือเป็นโมเดลกิจการขนาดใหญ่ที่มีประวัติยาวนานพอสมควร มีความคิดหลักแหลมและเข้าใจองค์ความรู้ขององค์กรที่น่าศึกษาไม่น้อย

การพิจารณาความเปลี่ยนแปลงเชิงฉาบฉวย ไม่มีความสำคัญเท่าผลประกอบการ ระบบธนาคารไทยบอบช้ำกับวิกฤติการณ์ ธนาคารทุกแห่งขาดทุนกันอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปี (2541-2543) เช่นเดียวกับธนาคารกรุงเทพ ขาดทุนมา 3 ปีเช่นเดียวกัน แล้วจากนั้นผลประกอบการมีกำไรติดต่อกันมา 3 ปี เช่นเดียวกัน และปี 2546 กำไรมากเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างที่ดูอนุรักษนิยมนั้นไม่ได้มีปัญหาในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด

ผู้บริหารรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ของธนาคารแห่งนี้ ตัดสินใจร่วมกันทำสิ่งใหม่ๆ ในปลายปีที่ 4 ที่มีกำไร

ในความเป็นจริงธนาคารแห่งนี้ปรับปรุงภายใน (ทั้งทางความคิด แผน และระบบธุรกิจ) มาตลอดในช่วงวิกฤติการณ์ และผลที่ออกมาสู่ลูกค้ายังดูไม่มากนัก แตกต่างจากครั้งนี้ที่ดูตั้งใจจะใช้กลวิธีธุรกิจที่อ้างกันว่า สมัยใหม่ สอดคล้องกับกระแสคนรุ่นใหม่อะไรเทือกนั้น

"ธนาคารกรุงเทพจัดแฟชั่นโชว์แนะนำเครื่องแบบใหม่ภายใต้แนวคิดล้ำสมัย 'Vibration of One, Power of All' หรือ 'พลังแห่งปัจเจก พลวัตแห่งองค์รวม' เมื่อวันพุธที่ 1 กันยายน 2547

แฟชั่นโชว์ของธนาคารกรุงเทพจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ สีลม โดยมีบุคลากรของธนาคารเป็นผู้แสดงแบบเดินแฟชั่น โชว์ชุดใหม่ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมดูดีกับผู้สวมใส่ทุกวัย

การเปิดตัวเครื่องแบบในดีไซน์ใหม่เป็นพัฒนาการล่าสุดจากการปรับปรุงการบริการลูกค้าของธนาคาร ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การปรับปรุงรูปแบบและขยายเครือข่ายสาขา เพิ่มประสิทธิภาพบริการเอทีเอ็มและธนาคารทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อลูกค้า และปรับปรุงระบบเทคโนโลยีใหม่"

แถลงการณ์ของธนาคารกรุงเทพว่าเอาไว้ เป็นคำอธิบายจากกิจกรรมธรรมดา แต่มีความหมายที่สำคัญเป็นภาพความต่อเนื่องมาสู่การเปิดเว็บไซต์ใหม่กับบริการธนาคารรายย่อยอย่างเต็มตัว

มีคนถามว่าเป็นกลยุทธ์ที่ล่าช้าหรือไม่ ผมว่านี่มิใช่คำถามที่ดี คำถามที่น่าถามน่าจะเป็นว่า บทเรียนนี้ให้อะไรกับคุณบ้าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us