Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
ผลิตภัณฑ์จากไม้ตาล             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

Crafts and Design




นอกจากชาวบ้านอาจจะเอาไม้ตาลแห้งๆ มาสุมไฟ เป็นไม้ฟืนเคี่ยวน้ำตาลโตนด ส่วนกิ่งที่เหลือก็อาจจะกอง ทิ้งไว้ นานๆ เข้าอาจจะเผาไฟทิ้งเสียสักครั้ง

จนกระทั่งวันหนึ่ง พรประสิทธิ์ ดรุณปิยะชาติ ได้ ไปเจอเก้าอี้ไม้เล็กๆ อยู่ชิ้นหนึ่งในชนบทแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ที่ดูสวยและแปลกตา เมื่อพูดคุยกับชาวบ้านที่เป็นเจ้าของ ทำให้เขาทราบว่างานชิ้นนี้ทำจากไม้ก้านตาลที่ใช้ มานานนับ 10 ปี

สวยและทนทาน เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่น่า เก็บรักษาไว้ในขณะเดียวกันน่าจะเป็นช่องทางในการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านรวมทั้งตัวเขาได้ด้วย คือสิ่งที่เขาคิดในตอนแรก

พรประสิทธิ์ จบจากคณะศิลปศึกษาจากวิทยาลัยครูสวนดุสิต คลุกคลีมาทางด้านงานออกแบบ มานานกว่า 10 ปี เริ่มจากงานสิ่งพิมพ์ ซีดีรอม เว็บไซต์ และเสื้อผ้า รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ที่เคย ลองทำอยู่พักหนึ่งแล้วเลิกไปเมื่อพบว่าไม้ไผ่จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากมาย

จากนั้นเขาก็เริ่มศึกษาและออกแบบงานจากไม้ก้านตาล เริ่มจากการตัดก้านตาลสดข้างทาง มาตากแดด ตากฝน แช่น้ำ มานานกว่า 4 เดือน เพื่อติดตามผลว่าไม้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จากก้านตาลสด เปลี่ยนมาทดลองกับก้านตาลแห้ง จนพบว่าก้านตาลที่ดีที่สุดน่าจะเป็นก้านที่หมดอายุแล้ว แต่ยังห้อยค้างอยู่บนต้นยังไม่ร่วงลงมาสู่ดิน

พร้อมๆ กับหาวิธีการต่างๆ ที่จะรักษาเนื้อไม้ เช่น การตากแดด อบไล่ความชื้น และเริ่มงานทางด้าน การออกแบบ แรกเริ่มก็มีเพียงคนงานเพียง 2 คน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นแรก ได้มีโอกาสไปออกร้านในงานของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจ อย่างมาก

ผลตอบรับในครั้งนั้นทำให้พรประสิทธิ์ มั่นใจว่า งานชิ้นนี้สามารถทำตลาดได้แน่นอน หลังจากนั้นเขา ก็เริ่มมาทำโรงงานที่ตลาดบางใหญ่ และเริ่มต้นรับงาน อย่างจริงจังโดยซื้อไม้ก้านตาลที่ทิ้งแล้วจากชาวบ้านที่ จังหวัดเพชรบุรี

ไม้ก้านตาล และจาวตาล ได้ถูกออกแบบดีไซน์ เป็นเฟอร์นิเจอร์รูปทรงต่างๆ ของตกแต่งบ้านและเครื่อง ประดับ ของใช้บนโต๊ะอาหาร และของใช้บนโต๊ะทำงาน

ชายหนุ่มคนนี้มีพื้นเพเป็นคนต่างจังหวัดที่โยกย้ายตาม พ่อแม่ซึ่งมีอาชีพค้าขาย ตามเส้นทางของภาคอีสาน มีโอกาสได้ เห็นงานหัตถกรรมมามาก และมีใจชอบงานประเภทนี้มา ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ เมื่อได้มาเรียนทางด้านศิลปหัตถกรรม การปั้นแกะสาน เพิ่มเติมพื้นฐาน ที่เขาสามารถนำมาผนวกกับงาน ที่กำลังทำโดยเอางานพื้นบ้านของคนในชนบทมาประยุกต์

และกลายเป็นสินค้าส่งออกที่กำลังทำตลาดได้ดีในหมู่ชาวเอเชียและยุโรป และยังเป็นที่สนใจของตลาดรีสอร์ตใหญ่ๆ ในเมืองไทยอีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us