|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2547
|
|
เธอมีพลังและแรงบันดาลใจในการทำงานแกะสลัก โดยใช้ความเป็นสล่าพื้นบ้านและการทำงานศิลปะสร้างสรรค์งานแนวใหม่ที่เรียกว่า "งานแกะสลักเทคนิคผสม"
"สะใจดีด้วยค่ะ เวลานั่งแกะสลักแล้วมีผู้ชายมายืนดูมันเป็นความภูมิใจลึกๆ ว่าเราทำงานผู้ชายได้ด้วย"
วารินทร์ ใจจันทึก หนึ่งในเหล่าหน่อแก้ว ศิลปินจากเมืองล้านนากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในขณะที่มือเรียวจับเครื่องมือแกะสลักลงไปในงานไม้เบื้องหน้า เธอบอกว่าทุกครั้งที่ลงมือทำงาน ความสุขก็ไหลเอิบท่วมท้นตัวเธอ จนไม่เสียใจเลยที่ลาออกจากงานประจำ มาทำงาน ศิลปะ ทั้งๆ ที่ไม่รู้เลยว่าอาชีพนี้อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
วารินทร์เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของสล่าเพชร ศิลปินผู้มีชื่อเสียงในการถ่ายทอดจิตวิญญาณ "ช้าง" ลงในชิ้นงานไม้แกะสลัก ได้อย่างหมดจดงดงามและเป็นเอกลักษณ์
ผลงานชิ้นแรกๆ จึงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับช้างเลียนแบบผู้เป็นอาจารย์ ต่อมาได้ภาพนางในวรรณคดีทางภาคเหนือเป็นต้นแบบและ มีงานที่หลากหลายเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ก่อนมาลงตัวด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวของผู้หญิงชาวล้านนาที่งดงามแต่มีความเข้มแข็งแฝงอยู่ในทีเช่นงานชิ้นที่ชื่อ "งามเจิง" ซึ่งเธอบอกว่าเป็นชิ้นที่สล่าเพชรชื่นชม สร้างความมั่นใจในวิธีคิดของตัวเองมากขึ้น แต่ยอมรับว่างานศิลปะจะยึดแนวใดแนวเดียวไม่ได้ ต้องมีลูกเล่นใหม่ๆ ตลอดเวลาเช่นกัน
วารินทร์กับงานไม้ผูกพันมาตั้งแต่เล็กๆ เพราะเกิดมาจากครอบครัวที่ทำงานในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ โตขึ้นมาก็เรียนทางช่างเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน จบปริญญาตรีจากราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญเงิน ทำงานเป็นพนักงานออกแบบผลิตภัณฑ์อยู่หลายปี ก่อนมา ทำงานศิลปะอย่างเต็มตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีโอกาสได้ร่วมแสดงงานศิลปะกับเหล่าศิลปินทางภาคเหนือหลายครั้ง เช่น งาน "ศิลปะบนลานดิน" ครั้งที่ 11 ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ "งานสืบสานล้านนาศิลป์" ที่โรงแรมเดอะสยามเฮอริเทจ กรุงเทพฯ
งานของเธอจะต่างกับงานของศิลปินคนอื่นๆ อีกอย่างก็คือ มีบทกวีอันไพเราะ ซึ่งแต่งโดยเคียงสล่า ผู้เป็นสามีประกอบอยู่ด้วยทุกชิ้น ปัจจุบันเธอยังไม่มีแกลเลอรี่ของตนเอง ติดตามดูงานของเธอได้ผ่านทางสล่าล้านนา ดอทคอม
|
|
|
|
|