|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2547
|
 |

บรรยากาศห้องบอลรูม โรงแรมสุโขทัย เมื่อช่วงสายของวันที่ 9 เดือน 9 เต็มไปด้วยความคึกคัก เพราะเป็นวันที่บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง (SCCC) ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ตราอินทรี ได้เชิญนักวิเคราะห์และสื่อมวลชนจากจำนวนร่วม 100 สำนัก มาร่วมฟังคำแถลงผลประกอบการครึ่งปีแรก
ถึงแม้ว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา SCCC รวมทั้งผู้เล่นรายอื่นๆ ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผลประกอบการครึ่งปีแรกก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 10% เป็น 9,990 ล้านบาท และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 12.32% เป็น 2,151 ล้านบาท โดยมี margin อยู่ที่ 21.53% ซึ่งดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่เล็กน้อย
ภาพรวมของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ประกอบไปด้วยผู้เล่นรายใหญ่ๆ อยู่ 4 ราย ได้แก่ ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่สุดด้วยกำลังการผลิต 23.0 ล้านตัน ตามมาด้วย SCCC 14.5 ล้านตัน ทีพีไอโพลีน (TPIPL) 9.0 ล้านตัน และเอเชีย/ชลประทานซีเมนต์ อีกประมาณ 7.1 ล้านตัน และยังมีผู้เล่นรายเล็กอย่าง Cemex จากประเทศเม็กซิโก ที่มีกำลังผลิต 7 แสนตัน และสามัคคีซีเมนต์อีก 1 แสนตัน ทำให้ทั้งประเทศมีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ 54.4 ล้านตัน
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2540 หลังจากปริมาณความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศได้ลดต่ำลงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่ต้องหันไปพึ่งพิงตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น กระนั้นก็ดีก็ยังมี excess capacity เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ล้านตันต่อปี
SCCC มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 28% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และในปีนี้ก็พยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาดนี้เอาไว้ โดยคาดว่าจะมียอดขายในประเทศประมาณ 7.1 ล้านตัน ขณะเดียวกันก็พยายามส่งออกอีก 3.5 ล้านตัน และปี 2548 SCCC จะสามารถผลิตเต็มกำลังผลิตได้อีกครั้ง โดยจะเปิดเตาอีก 2 แห่งที่ได้ปิดไปก่อนหน้านี้ จากที่มีอยู่ทั้งหมด 6 เตา
โดย SCCC ยังคงเน้นตลาดในประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งตะวันออกกลางดูจะเป็นเป้าหมายของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทั่วโลก เนื่องจากกำลังมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก
"ข้อได้เปรียบของเราอยู่ที่ปูนที่สามารถใช้งานได้ดีในต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับทำให้สามารถส่งออกได้ไกลถึง California" Leo Mittelholzer กรรมการผู้จัดการ SCCC บอก ทั้งนี้เป็นเพราะเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดจาก Holcim Group และเรื่องช่องทางการจำหน่ายที่ Holcim มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก
ภารกิจสำคัญของ SCCC ในปีนี้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ที่สำคัญๆ เห็นจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และการบูรณาการเชิงลึก
โครงการ AFR (Alternative Fuels and Raw Materials) เป็นโครงการหนึ่งที่ SCCC ให้ความสำคัญและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นการนำเอาวัสดุเหลือใช้บางจำพวก เช่น เม็ดพลาสติก เมลานีน ยาง หรือแม้กระทั่งข้าวเปลือก มาเป็นเชื้อเพลิง หรือวัตถุดิบในการผลิต
นอกจาก AFR จะมีประโยชน์ในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ถูกลงแล้ว ยังเป็นการจัดการขยะเหลือใช้ ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม "แต่เราต้องยืนยันว่าเราผลิตปูนซีเมนต์ ไม่ได้เป็น เตาเผาขยะ" Leo บอก
ปัจจุบัน SCCC ใช้วัสดุทดแทนประมาณ 7-8% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 50% ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือตลาดวัสดุเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งในเรื่องของราคาและ supply และถึงแม้ว่า Holcim จะมีประสบการณ์โครงการนี้มาก่อนในประเทศอื่นๆ แต่ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับที่นี่
นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่ SCCC ให้ความสำคัญกับเรื่อง vertical integration เป็นอย่างมาก "เราไม่ต้องการเป็นแต่เพียงคนขายปูน เราต้องการขาย solution แบบ full package" Leo บอก ซึ่งแนวโน้มเรื่องคอนกรีตผสมเสร็จนั้น (ready-mix concrete) ถือว่าเป็นธุรกิจที่โดดเด่น เนื่องจากมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้ใช้เงินลงทุนที่สูงมากนัก
SCCC ยังคงมีภารกิจที่ต้องดำเนินต่อไปในฐานะเบอร์ 2 ของตลาด ในภาวะที่ตลาดกำลังขยายตัว
|
|
 |
|
|