Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547
7 สัปดาห์ร้อน ๆ กับบทบาทของ "เอกยุทธ"             
 


   
search resources

เอกยุทธ อัญชัญบุตร




ปี 2528
หนีออกนอกประเทศในช่วงประกันตัว หลังถูกจับกุมตามความผิดใน พ.ร.บ.การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน แต่ยังมาปรากฏตัวในการปฏิวัติ 9 กันยายนที่มี พ.อ.มนูญ รูปขจร (ชื่อและยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะ ในฐานะผู้สนับสนุนทางการเงินแก่คณะปฏิวัติ แต่ต้องหนีไปอีกเมื่อการปฏิวัติไม่สำเร็จ

ปี 2547
10 ส.ค.
กลับมาปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก หลังจากหนีไปอยู่ต่างประเทศถึง 19 ปี โดยร่วมคณะกับประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และอมรินทร์ คอมันตร์ เดินทางไปพบบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจสำหรับใช้ในการหาเสียงสู้กับพรรคไทยรักไทย

เขาได้ให้สัมภาษณ์ในวันนั้นว่าพร้อมให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ และแสดงความสนใจจะเข้ามาทำงานการเมือง โดยก่อนหน้านั้นเคยมีแนวคิดจะร่วมกับนักวิชาการจัดตั้งพรรคประชาธรรมขึ้นเป็นพรรคทางเลือกที่ 3 แต่แนวทางดังกล่าวได้ล้มเลิกไปหลัง เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้ตัดสินใจไปเป็นหัวหน้าพรรคมหาชน

12 ส.ค.
มีรายงานข่าวว่า เอกยุทธเตรียมให้เงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เป็นจำนวนถึง 1,000 ล้านบาท แต่ข่าวนี้ได้รับการปฏิเสธจากประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรคฯ

13 ส.ค.
บัญญัติกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นข่าวที่คลาดเคลื่อน เพราะในการพบกับเอกยุทธไม่มีการพูดถึงเรื่องเงิน แต่เอกยุทธให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันถึงเรื่องเงิน 1,000 ล้านบาทว่า เป็นการลงขันกันของกลุ่มนักธุรกิจชาวไทยในต่างประเทศที่เห็นว่าการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เป็นผลดีกับประเทศในระยะยาว จึงพยายามระดมทุนเพื่อหาช่องทางสร้างฐานทางการเมืองขึ้นมาต่อสู้กับพรรคไทยรักไทย ขณะเดียวกันได้ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงกรณีของแชร์ชาร์เตอร์ โดยอ้างว่าเป็นเรื่องเก่า และไม่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในครั้งนี้

ขณะเดียวกัน ส.ส.ไทยรักไทย เริ่มเคลื่อนไหวขุดคุ้ยความผิดของเอกยุทธในอดีต กรณีแชร์ชาร์เตอร์

14 ส.ค.
เริ่มเปิดประเด็นเรื่องการปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยอ้างว่ามีข้อมูลที่พร้อมจะเผยแพร่ แต่สื่อมวลชนตีประเด็นนี้ว่าเป็นการตอบโต้ที่ถูกขุดคุ้ยประวัติ และการคัดค้านของ ส.ส. ประชาธิปัตย์ ที่ไม่ยอมรับเงินสนับสนุนจากเขา เพราะถูกมองว่า เป็นเงินไม่บริสุทธิ์

16-20 ส.ค.
ประเด็นช่วงนี้เป็นความพยายามของสื่อในการนำเสนอข้อมูลในอดีต เพื่อขยายผลหลังจากเรื่องเงิน 1,000 ล้านบาทเริ่มไร้น้ำหนัก โดยเน้นนำเสนอข้อมูลช่วงที่หนีไปอยู่อังกฤษ ที่มีนักการเมืองไทยหลายคนได้ไปพบ อาทิ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รวมถึงช่วงที่กลับมาเมืองไทยเมื่อ 3 ปีก่อน และได้นำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น จนมีความรู้เรื่องหุ้นเมืองไทยเป็นอย่างดี

ขณะที่เอกยุทธก็ออกมาให้สัมภาษณ์เป็นรายวัน เรื่องที่จะแฉความไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานของรัฐบาล ที่มีภาคเอกชนหลายกลุ่มได้รับผลประโยชน์ ส่วนการตอบโต้จากฝ่ายรัฐบาล ไม่มีท่าทีที่รุนแรง เพราะความสนใจในช่วงนั้นอยู่ที่ นโยบายประหยัดพลังงาน การตัดสินใจเรื่อง GMO และการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.ที่กำลังจะมาถึงในวันอาทิตย์ที่ 29 ส.ค. ส่วนความสนใจของประชาชนอยู่ที่ผลการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก

23-29 ส.ค.
เป็นสัปดาห์ที่ข่าวเกี่ยวกับเอกยุทธเงียบหายไป เนื่องจากความสนใจของประชาชนไปอยู่ที่การคาดหวังเหรียญที่นักกีฬาของไทยจะได้รับจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.ที่ในที่สุด อภิรักษ์ โกษะโยธิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ตอกย้ำกระแส "ขาลง" ของพรรคไทยรักไทย

3 ก.ย.
ถูกเชิญจากสถานีวิทยุจีจีนิวส์ ให้ไปพูดในหัวข้อ "เอกยุทธบินลัดฟ้า ล้มทักษิณ" ภายในงาน "ไทยแลนด์ เพรส แฟร์" ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยได้พูดถึงความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น SCIB-C1 ว่ามีนักการเมืองซีกรัฐบาลที่มีชื่อย่อ ป. และ ส. มีส่วนเข้าไปสร้างราคา และจะเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ทั้งหมดในวันที่ 6 ก.ย.

6 ก.ย.
เดินทางไปตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อยื่นหนังสือให้ตรวจสอบ การซื้อขายหุ้น SCIB-C 1 ในช่วงวันที่ 11-16 ส.ค.ที่มีพฤติกรรมสร้างราคา แต่ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่มีผลต่อบรรยากาศการซื้อขายหุ้น โดยดัชนีในวันนั้น ปิดเพิ่มขึ้น 1.79 จุด

7 ก.ย.
พ.ต.ท.ทักษิณเริ่มมีท่าทีไม่พอใจความเคลื่อนไหวของเอกยุทธออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยให้สัมภาษณ์ในลักษณะที่ดิสเครดิต พร้อมทั้งเชิญชวนให้คนที่ได้รับความเสียหายจากแชร์ชาร์เตอร์เมื่อ 20 ปีก่อนมาร้องทุกข์กับตำรวจ เพื่อให้รื้อคดีขึ้นมาใหม่ ขณะเดียวกัน ปปง.เริ่มรวบรวมข้อมูลกรณีแชร์ชาร์เตอร์ว่าจะเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายฟอกเงินหรือไม่

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ (ก.ล.ต.) ได้ทำหนังสือเชิญเอกยุทธมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการปั่นหุ้น SCIB-C1 ในวันรุ่งขึ้น แต่เอกยุทธ บอกว่าจดหมายจาก ก.ล.ต.เหมือนกับมีผู้มีอำนาจสั่งการมา ดังนั้นจะไม่ไปพบ เพราะเขาไม่ใช่ผู้ต้องหา

ตลาดหุ้นยังไม่ตอบสนองความเคลื่อนไหว โดยปิดตลาดดัชนียังบวกต่ออีก 0.53 จุด

8 ก.ย.
พ.ต.ท.ทักษิณได้กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกการนับอายุความในคดีสำคัญ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ผู้กระทำความผิดมักใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเอาตัวรอด

ก.ล.ต.ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 264 (7) พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สั่งให้เอกยุทธส่งเอกสารหลักฐาน และมาให้ถ้อยคำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวันที่ 13 ก.ย. หลังจากเอกยุทธปฏิเสธการเข้าไปให้ข้อมูลในครั้งแรก

9 ก.ย.
มือกฎหมายของรัฐบาล ทั้งวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้ง ปปง.แสดงท่าทีมั่นใจว่าสามารถยึดทรัพย์ย้อน หลังเอกยุทธจากคดีแชร์ชาร์เตอร์ได้ แม้จะหมดอายุความไปแล้ว

พ.ต.ท.ทักษิณตอบคำถามผู้สื่อข่าวโดยใช้คำพูดที่ค่อนข้างรุนแรง และบอกว่าสื่อไม่ควรให้ความสำคัญกับคนอย่างเอกยุทธ รวมทั้งประกาศว่าจะให้สัมภาษณ์เรื่องเอกยุทธเป็นวันสุดท้าย ต่อไปนี้ใครถามเรื่องนี้จะไม่ตอบอีก

เอกยุทธเปิดแถลงข่าวโดยมีผู้ให้การสนับสนุนไปแสดงตัว ประกอบด้วยประชัย เลี่ยวไพรัตน์, อมรินทร์ คอมันตร์, น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ รวมทั้งแกนนำสหภาพ กฟผ.โดยเขากล่าวว่าเขากำลังถูกผู้มีอำนาจกลั่นแกล้ง

ตลาดหุ้นวันนี้ตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงข้ามกับเอกยุทธ โดยปิดตลาดดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 10.83 จุด

10 ก.ย.
คณะกรรมการ ปปง.มีมติเห็นชอบให้เข้าตรวจสอบทรัพย์สินของเอกยุทธ ในกรณีฉ้อโกงประชาชนในคดีแชร์ชาร์เตอร์ ขณะที่เอกยุทธกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าถ้า ปปง.มีปัญญาก็เชิญมาตรวจสอบได้เลย เพราะคดีของเขาจบไปแล้วอย่างสมบูรณ์

12 ก.ย.
ได้ออกมาเปิดประเด็นใหม่ขึ้นมาอีกว่า กำลังมีผู้เคลื่อนไหวเพื่อหวังคุกคามทางร่างกายกับเขา

13 ก.ย.
เดินทางมาให้ข้อมูลกับ ก.ล.ต.ตามหมายเรียก หลังจากนั้นธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. บอกว่าข้อมูลที่ได้รับไม่มีหลักฐานที่ระบุถึงพฤติกรรมการปั่นหุ้น และไม่มีชื่อหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมตามที่กล่าวอ้าง แต่เป็นข้อสันนิษฐานจากความเห็นส่วนตัวของเอกยุทธ

ขณะเดียวกันภัทรียา เบญจพลชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวถึงผลการตรวจสอบการซื้อขายหุ้น SCIB-C1 ระหว่างวันที่ 9-13 ส.ค.ว่าราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพตลาด

ดัชนีราคาหุ้นยังเดินหน้าบวกต่อขึ้นมาอีก 9.33 จุด

14 ก.ย.
เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.มักกะสัน ว่ามีคนต้องสงสัยติดตามเขามาเป็นเวลา 3 วันแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไปจับกุมตัวมา พบว่าเป็นเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ 2 คน ที่มาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

15 ก.ย.
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผู้สั่งการให้สำนักข่าวกรองติดตามเอกยุทธเพื่ออารักขา เพราะเกรงว่าจะมีมือที่ 3 หรือคนไม่ปรารถนาดีทำอะไรขึ้นมา เพราะผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือรัฐบาล

16 ก.ย.
เดินทางไปร้องเรียนยังสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าถูกคุกคาม รวมทั้งยังไปพบประธานคณะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการ ทุจริต วุฒิสภา เพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตของ ก.ล.ต.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us