|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2547
|
|
ยืนยง โอภากุล เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2497 จากครอบครัวคนชั้นกลาง พ่อเคยเป็นข้าราชการครูมาก่อน แต่พอสงครามโลกครั้งที่ 2 ลาออกมาทำการค้า เปิดร้านขายของเล็กๆ ในตลาดเทศบาล 1 ตำบลท่าพี่เลี้ยง เมืองสุพรรณ
จบ ม.ศ.3 จากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย สามารถสอบเข้าอุเทนถวายได้ในลำดับต้นๆ ช่วงปลายของการเรียนที่อุเทนถวาย เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ขึ้นมา เขายอมรับว่าได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในตอนนั้นโดยที่ไม่ได้รู้เรื่องประชาธิปไตยมาก่อนเลย แต่ได้ไปฟังนักศึกษาพูด จนบางครั้งเกิดความคิดคล้อยตามไปกับเขา และการที่ได้เห็นผู้คนมากมาย ก็เกิดความอยากรู้ อยากเห็น ตื่นเต้นไปกับสิ่งแปลกใหม่ที่ได้สัมผัส และที่แน่ๆ ก็คืออยากต่อสู้กับตำรวจ
เป็นความห่ามของวัย ซึ่งก็เท่านั้นเองสำหรับการรับรู้ในขณะนั้น
(จากหนังสือเรื่อง "ก้าวแรกของชีวิต ก้าวที่สองคนดนตรี" สำนักพิมพ์มิ่งมิตร)
หลัง 6 ตุลาคม 19 แอ๊ดไปเรียนต่อที่วิทยาลัยปัว ฟิลิปปินส์ ช่วงเวลาที่เรียนหนังสืออยู่ที่นั่นเวลาส่วนหนึ่งคือการเดินทางไปตามชนบท พร้อมๆ กับเปิดวิทยุคลื่นสั้น (สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย) ฟังข่าว บทกวี หรือเสียงเพลงซึ่งล้วนแล้วแต่ปลุกใจให้ฮึกเหิม เช่น เพลงนักรบอาจหาญ ที่แต่งโดยแคน สาลิกา เพลงเมล็ดพืชสีแดง และแสงดาวแห่งศรัทธา
กลับมาไปสมัครเป็นสถาปนิกในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งย่านบางเขน พร้อมๆ กับการไปเล่นดนตรีกับวงโฮป เบื้องหน้าคือภาพของสถาปนิก และนักดนตรี แต่การอยู่ในขบวนการปฏิวัติ ก็เป็นชีวิตอีกซีกหนึ่งที่ดำเนินมาพร้อมๆ เช่นกัน
ปี 2521-2524 เขาทำงานให้กับสายอีสานใต้ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ โคราช เอาข่าวสาร เวชภัณฑ์ อาหารแห้งไปส่งให้ และเป็นสมาชิกของสันนิบาตเยาวชนประชาชนแห่งประเทศไทย (สยท.)
ช่วงหนึ่งของชีวิตบนฐานที่มั่นภูพาน ได้พบกับสหายศิลปินหลายคน เช่น "สหายร้อย" วัฒน์ วรรลยางกูร "สหายไพรำ" วิสา คัญทัพ ลงจากภูพานไปสอบเข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติ กลับไปเป็นสถาปนิกอีกครั้ง รับเงินเดือนๆ ละ 3,030 บาท มีเงินสวัสดิการอีก 475 บาท กลางคืนรับงานเล่นดนตรี เงินเดือนต้องเอามาทำเพลง
ในปี 2523 รัฐบาลประกาศใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร โดยออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม 66/23 ซึ่งเป็นการผ่อนปรนไม่เอาผิดเอาโทษกับผู้เข้าป่าทั้งหลาย
ต้นปี 2526 วันหนึ่งที่จังหวัดระยอง มีการร่วมประชุมและประกาศในนามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยว่า สงครามยุติแล้ว ขอให้ทุกคนเดินไปตามทางของตัวเอง "ผมคิดว่าการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ดีกว่า เพื่อคนที่ด้อยโอกาส ยังมีหนทางอีกเยอะ ถ้าเรายังอยากจะทำ ถ้าเราคิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เราต้องตอบแทนแผ่นดินที่เราให้กำเนิด"
เป็นวิธีคิดของสหายเชี่ยว (แหลม-เยี่ยม) หรือยืนยง โอภากุล ที่ได้ตอกย้ำกับตนเองในเวลานั้น
|
|
|
|
|