Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547
เกมการตลาดจาก ฟาร์อีสท์ ดีดีบี             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

คาราบาวแดงในกัมพูชา
Music Marketing บุก USA
Social Marketing

   
www resources

โฮมเพจ คาราบาวตะวันแดง
โฮมเพจ ฟาร์อีส ดีดีบี

   
search resources

คาราบาวตะวันแดง
Food and Beverage
ฟาร์อีสท์ ดีดีบี, บมจ.




บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) คือพันธมิตรธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การตลาดอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นส่วนผสมสำคัญในยุคเริ่มต้นของ "คาราบาวแดง"

ผู้บริหารของฟาร์อีสท์เคยให้สัมภาษณ์ว่า เครื่องดื่มประเภทนี้ยากในการทำตลาดเพราะรสชาติและสรรพคุณของสินค้าใกล้เคียงกันมาก แต่ในขณะเดียวกันยังมีข้อกำหนดห้ามพูด และมีคำเตือนทำให้สินค้าดูแย่ลงไปอีก

ดังนั้นโจทย์สำคัญของคาราบาวแดงก็คือ จะทำให้สินค้าตัวนี้มีความแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันในตลาดได้อย่างไร

ข้อสรุปที่ได้ในตอนนั้นก็คือทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างทางอารมณ์ (Emotional) ต้องทำให้ลูกค้ารักชอบแบรนด์นี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ คำว่า "นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่" ที่หมายถึงนักต่อสู้ชีวิตทุกประเภทเลยเกิดขึ้นมา และสอดคล้องกลมกลืนไปกับเนื้อหาเพลงของแอ๊ด คาราบาว ที่เคยแต่งไว้

"คาราบาวถูกป้ายสี" ข้อความในบิลบอร์ดโฆษณาอันใหญ่ยักษ์ที่ติดไปทั่วกรุงเทพฯ เมื่อช่วงกลางปี 2545 ตอกย้ำอีกครั้งด้วยข้อความว่า "คาราบาวถูกป้ายสีเตรียมลุกฮือ วันที่ 28 ตุลาคม"

เป็นกลยุทธ์การโฆษณาชิ้นแรกที่ผูกติดไปกับความเป็นคาราบาวเพื่อปลุกกระแสความสนใจของผู้คนในสังคม และผู้ที่ผูกพันกับแบรนด์นี้มานานปี ก่อนถูกเฉลยด้วยวิธีการเสนอเป็นรายงานข่าวจากพิษณุ นิลกลัด ทางช่อง 7 สีว่า เป็นการขายสินค้าเครื่องดื่มชูกำลัง

ในช่วงแรกบริษัทได้ทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์กว่า 100 ล้านบาท เพื่อจัดทำสื่อโฆษณาที่ครอบคลุมสื่อทุกประเภททั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อกลางแจ้ง สำหรับภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ชุด "นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่" ความยาว 90 วินาที ใช้เวลาในการเตรียมงานกว่า 3 เดือน ทีมงานกว่า 160 ชีวิต ใช้นักแสดงกว่า 1,000 คน โดยจำลองเหตุการณ์จากประวัติศาสตร์ชาติไทย 5 เหตุการณ์คือ นักสู้บางระจัน นักสู้วีรสตรีไทย นักสู้ปราบยาบ้า นักสู้ราชนาวี รวมถึงนักสู้ที่สละชีวิตเพื่อชาติโดยมีแอ๊ดและสมาชิกในวงคาราบาวเป็นพรีเซ็นเตอร์

โฆษณาชิ้นนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่ามีความรุนแรงในเนื้อหา แต่ในขณะเดียวกันคาราบาวแดงยังยึดมั่นในวิธีคิดนี้ จนถึงเรื่องสุดท้าย "นักสู้ภูมิปัญญาไทย" ที่เชื่อมโยงไปกับสินค้าโอท็อปของรัฐบาล เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนในระดับรากหญ้ามากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us