Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547
เอเชียกับการอยู่รอดในโลกที่น้ำมันแพง             
 





เอเชียเริ่มตระหนักแล้วว่าจะต้องมีชีวิตอยู่ในโลกที่น้ำมันจะแพงตลอดไป แม้ราคาน้ำมันในขณะนี้จะลดลงจากระดับสูงสุดเกือบ 50 ดอลลาร์ในช่วงเดือนสิงหาคม แต่ราคาน้ำมันในปัจจุบันซึ่งยังเกินกว่า 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็ยังแพงกว่าราคาน้ำมันที่เคยเป็นมาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานยังทำนายด้วยว่า ราคาน้ำมันคงจะไม่มีวันจะลดลงไปต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้อีกแล้ว ทั้งยังจะคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรือ 4 อย่างนี้ต่อไปอีกนาน

ทำให้เอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่นำเข้าน้ำมันเมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP แล้ว ยังมากกว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปถึง 3 เท่า เริ่มตระหนักว่าถึงเวลาที่จะต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกที่ราคาน้ำมันจะแพงอยู่อย่างนี้ตลอดไป

แม้ว่าราคาน้ำมันแพงจะยังไม่กระทบเศรษฐกิจเอเชียในปีนี้ โดย Merrill Lynch คาดว่า เอเชียจะเติบโตถึง 7% ในปีนี้ ส่วนกำไรของบริษัททั่วเอเชียในปีนี้ก็ยังแข็งแรงดี แต่ Merrill Lynch ก็คาดว่า การเติบโตของเอเชียจะชะลอช้าลงในช่วง 12 เดือนข้างหน้า โดยจะเหลือต่ำกว่า 6% ในปีหน้า ส่วนกำไรของบริษัทก็จะลดลงในปีหน้าเช่นกัน ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ประเมินว่า ทุกๆ 5 ดอลลาร์ของราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น จะส่งผลให้ GDP ของเอเชียลดลง 0.2%

และเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลักของเอเชียก็เริ่มส่งสัญญาณตึงเครียดแล้ว เมื่อราคาน้ำมันแพงได้ส่งผลกระทบให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ชะลอตัวลง และทำให้ต้นทุนด้าน supply chain ของเอเชียเพิ่มขึ้น

สิ่งที่เอเชียวิตกเป็นพิเศษคือ ผลกระทบของราคาน้ำมันแพง ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน เนื่องจากจีนได้กลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านในแถบนี้ไปเสียแล้ว เมื่อเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของจีน ได้ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่เกิดความต้องการบริโภคอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือข้าวของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่างๆอย่างรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ

เศรษฐกิจจีนกับราคาน้ำมัน ยังกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อกันและกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน ทำให้จีนนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของการบริโภคน้ำมันของโลกที่เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี และการที่จีนนำเข้าน้ำมันถึงวันละ 6.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งทำให้จีนแซงหน้าญี่ปุ่น กลายเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงขึ้นด้วย

แม้ว่า GDP ไตรมาสสองของจีนยังคงชี้ว่า เศรษฐกิจจีนยังเติบโตอย่างรวดเร็วถึง 9.6% แต่หากจีนยังคงบริโภคน้ำมันอย่าง บ้าคลั่งถึง 89,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 5.3% ของ GDP ราคาน้ำมันแพงจะต้องกระทบกับการเติบโตของจีนอย่างแน่นอน

และหากราคาน้ำมันที่แพงกระทบการเติบโตของจีน ประเทศในเอเชียที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วยก็คือญี่ปุ่น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวจากการตกต่ำ ที่ดำเนินมายาวนานเป็นทศวรรษได้ ก็เพราะดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของจีนนั่นเอง ที่เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยฉุดดึงเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลักของญี่ปุ่นให้ฟื้นตัวได้สำเร็จ

Alan Greenspan ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ เคยเตือนว่า ราคาน้ำมันแพงอาจทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างมาก และ GDP ในไตรมาสสองของญี่ปุ่น ก็ลดลงเหลือเพียง 1.7% จากไตรมาสแรกซึ่งอยู่ที่ 6.6% ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อ การว่างงาน และการใช้จ่าย ผู้บริโภคล้วนแต่อ่อนแอกว่าที่คาด

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ไม่เชื่อว่า ราคาน้ำมันแพงจะทำให้ญี่ปุ่นกลับไปสู่ความตกต่ำอีกครั้ง เนื่องจากญี่ปุ่นมีการปรับตัวรับ oil shock มาตลอด นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา โดยญี่ปุ่นได้พยายามแสวงหาแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น พลังงานนิวเคลียร์ และก๊าซธรรมชาติ ทำให้ในปีที่แล้วญี่ปุ่นบริโภคน้ำมันลดลงเมื่อเทียบกับระดับการบริโภคน้ำมันในปี 1993

เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันอย่างสูง โดยเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่อันดับสี่ของโลกปีที่แล้วเกาหลีใต้นำเข้าน้ำมันถึง 23,100 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 4.4% ของ GDP (เทียบกับไต้หวันซึ่งนำเข้าน้ำมันเป็นสัดส่วน 2.9% ของ GDP) นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังไม่ได้มองหาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ เตรียมไว้อย่างญี่ปุ่น ซึ่งทำให้เกาหลีใต้อ่อนไหวต่อ oil shock มากกว่าประเทศใดๆ ในเอเชีย

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้บริโภคเกาหลีใต้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายผู้บริโภคชะงักงันตามไปด้วย และส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้

ตัวเลขล่าสุดยังชี้ว่า เกาหลีใต้อาจกำลังเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า stagflation ซึ่งหมายถึงภาวะที่ผลผลิตทางเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ต้นทุนกลับสูงขึ้น นอกจากนี้ การส่งออกของเกาหลีใต้ยังตกต่ำลงกว่า 30% ในเดือนสิงหาคม ทำให้ไม่มีโอกาสเลยที่เกาหลีใต้จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่ตั้งไว้ที่ 5% ได้ และน่ากลัว ว่าหากราคาน้ำมันยังแพงต่อไป อาจผลักให้เกาหลีใต้จมลงไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้

แม้ว่า Merrill Lynch จะคาดว่าราคาน้ำมันในอนาคตจะลดลงมาต่ำกว่า 35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่อ่อนไหวต่อราคาน้ำมันแพงมากกว่าภูมิภาคอื่นใดในโลก เนื่องจากแทบไม่มีแหล่งสำรองน้ำมันเลย และต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางเพียงอย่างเดียว หาควรนิ่งนอนใจไม่ เพราะ oil shock อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ในโลกที่ยังคงวุ่นวายด้วยความไม่สงบในอิรัก ความขัดแย้งทางการเมืองในรัสเซียและเวเนซุเอลา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us