10 ปีที่แล้ว อิออนอาจจะไม่ค่อยเป็นที่คุ้นหูคนไทยมากนัก แต่จากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ของผู้คนที่มีรายได้พื้นฐาน ทุกวันนี้ เกือบล้านคนเป็นลูกค้าของอิออนไปเรียบร้อยแล้ว
อิออน (AEON) เป็นภาษาละติน แปล ว่า แสงสว่าง ดูเผินๆ คล้ายภาษาไทยซึ่งเป็น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนไทยคุ้นหูและติด ปากเร็วพอสมควรส่งผลดีต่อการดำเนินกิจการ
อีกด้วย
บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) เริ่มต้นดำเนินธุรกิจเช่าซื้อในปี 2535
จากนั้น ได้ขยายธุรกิจในส่วนของการให้สินเชื่อส่วน บุคคล บัตรเครดิต และแฟกตอริ่ง
เป็นบริษัท ให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยเป็น รายแรกๆ ในประเทศไทย
ธุรกิจของอิออน คือ retail finance ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับตลาดเมืองไทยไม่กี่ปี
ที่ผ่านมา ซึ่งมีการทำงานแตกต่างจากธนา-คารพาณิชย์และไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้า
รายได้ หรือกลยุทธ์ทางการตลาด
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับตลาดโลกในปัจจุบันที่เริ่มต้นมา
เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วจากจีอี แคป ปิตอล และซิตี้แบงก์ โดยสองบริษัทหันมาหา
กลุ่ม ลูกค้ารายย่อยหลังจากเจ็บตัวจากลูกค้า รายใหญ่ ปัจจุบัน retail finance
เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ใน 3 เทียบเคียงกับอุตสาห-กรรม พลังงาน และรถยนต์
"ช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรม retail finance ทั่วโลกเติบโตเฉลี่ย
30% ทุกตลาด ขณะที่แบงก์กับไฟแนนซ์ ขาดทุนมโหฬาร" อภิชาติ นันทเทิม
กรรมการอิออนในประเทศไทยบอก
ความแตกต่างระหว่างธุรกิจของ อิออนกับธนาคารพาณิชย์และไฟแนนซ์ นั้นอยู่ตรงที่การกระจายความเสี่ยง
ถึง แม้ว่าอิออนจะปล่อยสินเชื่อโดยไม่ต้อง มีหลักประกันแต่อัตราส่วนหนี้สูญยังอยู่ใน
ระดับที่ต่ำจากการกระจายความเสี่ยง ผ่านลูกค้าจำนวนมากและจำนวนเงิน สินเชื่อต่อรายที่ไม่มาก
"การขอสินเชื่อกับเราสัดส่วนจะเท่าๆ กัน เช่น 8,000 บาท 10,000 บาท หรือ
20,000 บาท ไม่ใช่กระโดดไปที่ 1 ล้าน บาท ขณะที่ของแบงก์หรือไฟแนนซ์ ส่วนใหญ่
จะพึ่งลูกค้ารายใหญ่ประมาณ 5-10% ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือว่าอนาคตขององค์กรนั้น
หากลูกค้าดีธุรกิจก็จะดีไปด้วยแต่เมื่อไรที่ ลูกค้ารายใหญ่มีปัญหา พวกเขาจะเกิดปัญหา
ด้วย เพราะลูกค้ารายใหญ่จะแปรผันด้านการ จ่ายคืนขึ้นอยู่กับผลประกอบการสถานการณ์
เศรษฐกิจและสภาวะของโลก" อภิชาติอธิบาย
นอกจากนี้เสน่ห์ของธุรกิจ retail finance คือ รายได้มีหลากหลายรูปแบบ โดยค่าธรรมเนียมที่อิออนจะได้รับเกิดขึ้นทั้งในส่วนของลูกค้าเองและไม่ใช่ลูกค้า
เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเครดิตที่บริษัท คิด 100 บาท แม้ว่าจะเป็นตัวเลขไม่มาก
แต่ ปัจจุบันอิออนมีสมาชิกถือบัตรประมาณ 5 แสนราย
หากลูกค้านำบัตรเครดิตไปใช้บริการ ตามร้านค้าต่างๆ อิออนจะได้รับค่าธรรม
เนียม 1% จากร้านค้านั้นๆ หรือผู้ถือบัตรนำ ไปกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มของอิออน
บริษัท จะเก็บค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาทต่อ วงเงิน 5,000 บาท
ความแตกต่างอีกอย่างอยู่ที่การมี ลูกค้าไม่จำกัดของอิออนเพราะกลุ่มเป้าหมาย
เป็นคนที่มีรายได้ขั้นพื้นฐานประมาณ 8,000-20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งบริษัทเห็นว่าลูกค้า
ระดับมีเครดิตและต้องการให้มีโอกาสที่ดีขึ้น
"พวกเราไม่สนใจสินเชื่อบ้านหรือ รถยนต์ และไม่ใช่ consumer banking หรือ
retail banking ที่แบงก์ ไฟแนนซ์ ปล่อยให้กับ คนระดับสูง" อภิชาติชี้ "สินเชื่อของอิออน
ใช้แล้วหมุนเร็วมาก ธุรกรรมที่เกิดขึ้นแต่ละ ครั้งจะมีค่าธรรมเนียมต่อเนื่องและรายได้
เข้ามาทุกวัน ที่สำคัญลูกค้าระดับนี้เกิดขึ้น ตลอดเวลา"
หมายความว่าพฤติกรรมการให้สิน เชื่อรวดเร็วและง่ายขึ้น โดยพนักงานของ อิออนจะประจำในพื้นที่คนเดินเข้าไปได้ง่ายๆ
ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือร้านค้าริมถนน
"นโยบายของพวกเราต้องง่ายและ สะดวก หากคนไหนเข้าข่ายในเงื่อนไข สามารถเป็นลูกค้าของอิออนได้เลย
ซึ่งทุกวัน นี้เชื่อว่าลูกค้ารู้จักอิออนดี แม้ว่าการขยายงาน ยังไปไม่ทั่วประเทศ
แต่ก็ครอบคลุมมากกว่า คู่แข่งรายอื่น" ขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ กรรมการอิออนประเทศไทยกล่าว
แม้ว่าอิออนกับจีอี แคปปิตอล ดำเนิน ธุรกิจคล้ายคลึงกันมากแต่ความต่างของทั้ง
สองอยู่ที่ฝ่ายแรกเข้ามาก่อน 5 ปีและมาใน ลักษณะเริ่มต้นทำงานด้วยตนเอง ส่วนฝ่าย
หลังเข้ามาทางลัดผ่าน ปรส. และร่วมทุนกับ บริษัทท้องถิ่น
"อิออนจะขยายงานแบบไม่จำกัด หากตลาดนั้นมีศักยภาพและไม่ว่าจะเป็น ลูกค้ารายเล็ก
กลาง และใหญ่ และไม่จำกัด ผลิตภัณฑ์ แต่จีอีต้องการลูกค้าที่เป็นพอร์ต ขนาดใหญ่และไม่สนใจลูกค้ารายเล็ก
แต่ แนวคิดของการเข้ามาดำเนินธุรกิจเหมือนกัน คือ ต้องการลูกค้า" ขวัญชัยบอก
ข้อได้เปรียบของอิออน ที่มีเหนือคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็น Easy Buy, First
Choice และ Cetelem คือ การที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ประมาณ 1 ล้านบัญชี ประกอบกับนโยบาย
ขยายตลาดออกสู่ต่างจังหวัดขณะที่คู่แข่งยัง มุ่งเน้นเฉพาะเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
หมายความว่าบริษัทมีโอกาสในการ เติบโตได้อีกมากในตลาดต่างจังหวัด อีกทั้ง
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะหันมาใช้สินค้า เงินผ่อนและบัตรเครดิตสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลดี
ต่ออิออนสำหรับการควบคุมตลาด
"เนื่องจากฐานที่ใหญ่ขึ้นและการ เจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา คาดว่าพวกเขาจะมีอัตราการเติบโตลดลงใน
2-3 ปีข้างหน้า" นักวิเคราะห์จาก บล.เคจีไอ เล่า "แต่การขยายตัวของกำไรและบัญชีลูก
หนี้น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ดีจากอุตสาห-กรรมยังมีโอกาสโตอีกมาก"
บล.เคจีไอคาดว่า ลูกหนี้ของอิออน จะโตประมาณ 2.9 พันล้านบาทต่อปีใน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า-ต้นปี
2548 โดยในสิ้นปีบัญชีลูกหนี้เดือนกุมภาพันธ์ที่ ผ่านมาลูกหนี้โต 3.02 พันล้านบาท
และครึ่ง แรกของปีสิ้นสุดเดือนสิงหาคม บัญชีลูกหนี้ โตขึ้น 1.65 พันล้านบาท
"การแข่งขันทางราคาที่มากขึ้นจาก คู่แข่งรายใหม่น่าจะมีผลกระทบต่อส่วนต่าง
ระหว่างดอกเบี้ย แต่อำนาจการต่อรองที่ค่อน ข้างต่ำของลูกค้าและการที่อิออนเป็นผู้นำ
ในตลาดขณะนี้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยจะไม่ลดลงมากนัก"
ด้านคุณภาพสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันในการปล่อยกู้ อัตราหนี้เสียของบริษัทก็อยู่ในระดับต่ำ
เนื่องจากการ กระจายความเสี่ยงไปในกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก ในจำนวนเงินที่น้อยในแต่ละราย
ประกอบกับนโยบายการบัญชีที่ค่อนข้างรัดกุม และการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยตั้งสำรองเต็มจำนวนสำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระเกิน
3 เดือนขึ้นไป และตัดออกจากบัญชี หลังจาก 6 เดือน ซึ่งระดับ NPLs ช่วง 3
ปีที่ผ่านมาอยู่ระดับ 2% ในขณะที่อัตราการตั้งสำรองต่อหนี้สงสัยจะสูญสูงกว่า
100%
ปัจจุบันอิออนมีธุรกิจหลักคือ สินเชื่อ ส่วนบุคคลที่ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิก
สินเชื่อผ่านทางสาขาและรู้ผลการอนุมัติได้ ในวันเดียวกันซึ่งสินเชื่อดังกล่าวจะถูกขอไปใช้ในด้านเพื่อการศึกษา
การประกันภัย รถยนต์และการท่องเที่ยว
ธุรกิจบัตรเครดิตที่มีชนิดของบัตร ทั้งเครดิตการ์ดของตนเองและ Affinity
การ์ด ซึ่งออกร่วมกับร้านค้าสมาชิกและบัตรเครดิต ระหว่างประเทศเป็นการร่วมมือกับมาสเตอร์
การ์ดและเจซีบี
ธุรกิจการซื้อสิทธิเรียกร้องหรือแฟก ตอริ่ง ปัจจุบันบริษัทมีบริการรับซื้อลูกหนี้
โดย ลูกค้าหลัก ได้แก่ Makro, Tesco Lotus, Big-C และ Siam Jusco
อิออน ธนสินทรัพย์เป็นบริษัทในเครือ ของอิออนกรุ๊ปแห่งญี่ปุ่น และเป็นผู้ถือหุ้น
ใหญ่ในบริษัทในสัดส่วน 63% ตามมาด้วย ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ถือหุ้น 12% และอื่นๆ
25%