|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บิ๊ก MAJOR แจงเหตุนักลงทุนทิ้งหุ้นหวังรอให้ควบรวมเสร็จค่อยประเมินภาพใหม่ ชี้เป็นเรื่องดีที่หุ้นร่วงจนต่ำกว่าพื้นฐาน ดึงดูดต่างประเทศกลับเข้ามาเก็บ หลังมาร์เกตแคปเพิ่มเป็น 1.2 หมื่นล้าน ในขณะที่พื้นฐานยังแน่นปันผลสม่ำเสมอ ไม่ต้องตกใจหากงบปีนี้โชว์ขาดทุน เหตุตัดจ่ายค่ากู๊ดวิลล์กว่า 1,200 ล้านบาท รอตัดสินใจตัดครั้งเดียวหรือไม่ ประชุมผู้ถือหุ้นเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ตัดสิน ตลท.ย้ำใครซื้อ EGV 22 ก.ย. หมดสิทธิขายคืนแล้ว ด้าน LH ยัน GIC ไม่ทิ้งหุ้นยังคงรักษาสัดส่วน 14%
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กรุ้ป จำกัด (มหาชน) (MAJOR) เปิดเผยว่า สาเหตุที่มีแรงขายหุ้น MAJOR ออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่รวมถึงกองทุนต่างประเทศ มีการเทขายหุ้นออกมาหลังจากบริษัทประกาศ ควบรวมกิจการกับบริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (EGV) ซึ่งจะต้องมีการปรับในส่วนของบัญชีใหม่ ทำให้นักลงทุนเห็นว่าควรขายหุ้นออกมาก่อนเพื่อรอให้การควบ รวมเสร็จสิ้นแล้วจึงประเมินการลงทุน ใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีกองทุนทั้งในและต่างประเทศถือหุ้น MAJOR อยู่ค่อนข้างมาก เพราะถือเป็นบริษัทที่มีพื้นฐานดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ และราคาหุ้นไม่หวือหวา โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเข้ามาซื้อในกระดาน
"การที่หุ้น MAJOR ปรับตัวลงจาก 16-17 บาท มาอยู่ที่ 13 บาท มองอีกมุมก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะถ้าราคาหุ้นสูงเกินไปก็ไม่มีใครอยากเข้ามาลงทุนเพราะมีอัปไซต์น้อย ตอนนี้ราคาหุ้นลงมามากในขณะที่หลังจากการควบรวมแล้วผลการดำเนินงานของเราจะเติบโตขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานักลงทุนขายหุ้นเพื่อต้องการให้การควบรวมกิจการเสร็จเรียบร้อยก่อน"นายวิชากล่าว
นายวิชากล่าวต่อว่า บล.เอเซีย พลัส ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินในการควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ฯกับอีจีวี ได้ประเมินค่าส่วนเกินกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (Goodwill) แล้วอยู่ที่ประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษาแนะนำว่าควรจะตัดจ่ายส่วนดังกล่าวครั้งเดียว ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทแสดงตัวเลขขาดทุนทางบัญชีค่อนข้างสูง โดยขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากการ ควบรวมยังไม่แล้วเสร็จ และจะต้องนำเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย คาดว่าจะเรียกประชุมได้ประมาณเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ หลังจากที่การควบรวมเสร็จในเดือน ก.ย.
"ที่ปรึกษาแนะว่าควรตัดครั้งเดียวไปเลย ซึ่งจะทำให้เราแสดงตัวเลข ขาดทุนจำนวนมาก แต่หากทยอยตัดจ่ายก็จะเกิดความกังวลต่อนักลงทุนว่า ไตรมาสนี้จะตัดเท่าไหร่ เหมือนเรื่องมันไม่จบ แต่ก็จะช่วยในเรื่องของตัวเลขที่ออกมาขาดทุนไม่มาก ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะต้องนำเข้าบอร์ด และเรียกประชุมผู้ถือหุ้น โดยจะทำหลังจากควบรวมเสร็จแล้ว" นายวิชากล่าว
ทั้งนี้ การตัดจ่ายค่ากู๊ดวิลล์จะไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลของ MAJOR เนื่องจากเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น
นายวิชา กล่าวว่าการนำเสนอข้อมูลของบริษัทในงานไทยแลนด์โฟกัส 2004 ปรากฏว่ามีนักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจเข้ารับฟังข้อมูล ประมาณ 30 รายซึ่งก็ได้ให้คำยืนยันว่า ภายในปีนี้บริษัทจะสามารถสร้างรายได้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 30% และจากการที่บริษัทได้เข้าควบรวมกิจการ กับบริษัทอีจีวีเอ็นเตอร์เทนเมนท์ทำให้ขนาดของบริษัทใหญ่ขึ้นโดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ทำให้นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจมากขึ้นและจะทำให้หุ้นของบริษัทมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น
ด้านรายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่า ตามที่บริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (EGV) จะรวมกิจการกับบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) (MAJOR) โดย MAJOR ได้จัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer) ของ EGV ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุนของ MAJOR แลกเปลี่ยนกับหลักทรัพย์ของ EGV โดยมีระยะเวลารับซื้อหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 27 กันยายน 2547 โดยหุ้น EGV ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย 47 จะไม่สามารถนำหลักทรัพย์ EGV มาเสนอขายให้ MAJOR ได้
นายอดิศร ธนนันท์นราพูล กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ก่อนบริษัทได้เดินทางไปนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ที่ประเทศสิงคโปร์โดยไปกับบริษัทหลักทรัพย์ซีแอลเอสเอ จำกัด และในงานดังกล่าว ได้มีการพบปะและนำเสนอข้อมูลให้กับกองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ (GIC) ด้วย ซึ่งได้รับคำยืนยันจาก GIC ว่าจะคงสัดส่วนการถือหุ้นใน LH ที่ระดับ 14% ต่อไป โดยที่ระดับดังกล่าวเป็นการถือหุ้นมานานแล้วและยังไม่มีการขายหุ้นออกมาเลย เพราะ GIC ยังคงต้องการที่จะเป็นพันธมิตรของ LH และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม การลงทุนของกองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ มีการแบ่งเป็น 2 ส่วนคือในส่วนของการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่นการถือหุ้น 14%ใน LH ซึ่งจะเป็นการลงทุนในระยะยาว และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นเงินที่ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งยอมรับว่ามีการเข้ามาซื้อขายเก็งกำไรหุ้น LH ในบางโอกาส โดยเคยมีการเข้ามาถือหุ้นในส่วนนี้สูงสุดประมาณ 2-3% แต่ปัจจุบันยังถือหรือไม่นั้นไม่สามารถตอบได้
"GIC ไม่ได้มาฟังข้อมูลของเราในงานไทยแลนด์ โฟกัส เค้าก็ยังมองเราดีและยืนยันว่าจะรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ 14% ต่อไป" นายอดิศรกล่าว
|
|
|
|
|