Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
โทรศัพท์มือถือเพื่อธุรกิจ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

โฮมเพจ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส - AIS
โฮมเพจ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
www.thaiwapportal.com

   
search resources

Mobile Phone




นับจากนี้โทรศัพท์มือถือจะกลายเป็นที่แจ้งราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือแม้แต่เป็นที่สำหรับชำระเงินค่าสินค้า

นอกเหนือจากการใช้เป็นอุปกรณ์สื่อ สารส่วนบุคคล ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว การใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ ก็กำลังเริ่มขึ้นอย่างเข้มข้นนับแต่นี้เป็น ต้นไป

สาเหตุคงหนีไม่พ้นอัตราการเติบโตของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวเลขที่เอไอเอส ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ GSM ได้คาดการณ์ไว้ว่า โทรศัพท์มือถือใน ปี 2545 จะเติบโตไปถึง 12 ล้านเครื่อง

นอกเหนือจากนั้น ก็คือ วิวัฒนาการของเทคโนโลยี ที่ทำให้โทรศัพท์มือถือเป็นได้ มากกว่าการเป็นแค่เครื่องโทรศัพท์ที่มีไว้สำหรับพูดคุยอย่างเดียว แต่สามารถใช้ในการ ส่งข้อความ และข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการสื่อสารข้อมูล ด้วยความเร็ว 40 Kbps ทำให้สามารถ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ทั้งที่เป็นภาพเคลื่อนไหว หรือ VDO streaming เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ PDA

ว่าไปแล้ว การนำโทรศัพท์มือถือไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่ได้มีความสลับซับซ้อน หรือใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ บริษัทผู้ให้บริการน้ำมันเชลล์ ประเทศไทย ให้บริการข้อมูลการเปลี่ยนแปลง ราคาขายปลีกน้ำมันมาตรฐานล่วงหน้า ผ่าน ระบบบริการส่งข้อมูล (Short Message Ser-vices) หรือ SMS สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ระบบ GSM 2 วัตต์ และ GSM 1800

วิธีการของบริษัทเชลล์ ก็คือ การซื้อเหมาบริการ SMS มาจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ มือถือ จากนั้นจึงนำมาให้บริการแก่ลูกค้าอีก ต่อหนึ่ง โดยผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะขอจดทะเบียนรับข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของ shell. co.th ด้วยการกรอกชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์มือถือเพื่อขอรับข้อมูล เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน ข้อมูลเหล่านี้จะส่งผ่านระบบ SMS ไปยังผู้ใช้บริการขอข้อมูลเหล่านั้น เป็นลักษณะของการให้บริการฟรี

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เป็นอีกองค์กรธุรกิจหนึ่ง ที่เริ่มนำบริการข้อมูลอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ forex alert ให้กับลูกค้าของธนาคาร เมื่ออัตราแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านระบบบริการรับส่งข้อ ความ หรือ SMS ของโทรศัพท์มือถือของลูกค้า ซึ่งธนาคารซื้อเหมาบริการ SMS มาจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและนำมาใช้ในการส่งข้อความเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง

ส่วนซอฟต์แวร์ประยุกต์ของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเอส-วัน เทเลคอม ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application เพื่อใช้เป็นบริการเสริมรูปแบบต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือให้กับบริษัทโนเกีย ประเทศไทย

ประสบการณ์ของบริษัทเอส-วัน เทเล คอม มีส่วนในการเพิ่มขีดความต้องการใช้งานจากลูกค้าทั่วไปยังกลุ่มลูกค้าประเภท องค์กร

"ที่นี่ เรามี application มากกว่า 200-300 ประเภท" กัลชาญ คงคาทอง กรรม การผู้จัดการ บริษัทเอส-วัน เทเลคอม จำกัด บอกกับ "ผู้จัดการ" และหนึ่งในนั้นก็คือ โปรแกรมประยุกต์ที่จะใช้สำหรับธนาคาร เมื่อเกิดกรณีที่ตู้เอทีเอ็มเสีย ข้อความจะถูกส่งผ่านระบบ SMS ไปยังช่างซ่อมโดยอัตโนมัติ

รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการขายสินค้า ที่มีราคาไม่สูงมาก ดังเช่น กรณีที่บริษัท ผู้ผลิตน้ำอัดลมจะนำไปประยุกต์ใช้ในการขายน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ โดยลูกค้าจะซื้อน้ำอัดลมและชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือโดยอัตโนมัติ เมื่อถึงปลายเดือนค่าน้ำอัดลมจะเรียกเก็บจากบิลใบเดียวกับค่าโทรศัพท์มือถือ

กัลชาญ เรียกบริการนี้ว่า Machine to Machine หรือ M to M ซึ่งเขาเชื่อว่า ภาย ในต้นปี 2545 บริการเหล่านี้จะปรากฏให้ เห็นในเมืองไทย

"บริษัทรักษาความปลอดภัย หรือ logistic โกดังเก็บของ ก็สามารถนำไปใช้งาน ร่วมกับระบบแผนที่ ถ้ามีใครเข้าไปในโกดังที่เฝ้าอยู่ มันจะส่งเสียงเตือน alert ทันที" กัลชาญกล่าว

ในฟากของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด หรือ เอไอเอส เชื่อว่า นี่คือ บริการในอีกรูปแบบหนึ่งของโทรศัพท์มือถือที่จะถูกประยุกต์ ใช้ในองค์กรธุรกิจ ที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

"หน้าที่ของเอไอเอสก็คือ ทำให้องค์ กรธุรกิจกับลูกค้าของเขา คุยกันได้ง่ายขึ้น ใน อนาคตเราจะเห็นบริการลักษณะนี้มากขึ้น" สุวิทย์บอก

เขายกตัวอย่าง โรงแรมที่จะใช้ประโยชน์ทางการตลาด เช่น เมื่อมีการลดราคาห้องพัก ก็จะสามารถส่งข้อมูลอัตราค่าห้องพักผ่านระบบ SMS ไปให้ลูกค้าที่สนใจได้โดย ตรง สำหรับสุวิทย์แล้ว นี่คือ direct marketing ในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า

"เป็นการโฆษณาและโปรโมชั่น ที่สุภาพ ไม่รบกวนลูกค้าเหมือนกับวิธีโทรศัพท์ ไปหาลูกค้า ซึ่งบางครั้งลูกค้าอาจไม่มีความพร้อม หรือรบกวนเวลาของเขา" สุวิทย์บอก

ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หันมาให้บริการแก่ลูกค้าประเภทองค์กรมากขึ้น จากแนวโน้มของการส่งข้อความ ที่จะหันมาใช้งานทางธุรกิจและการให้ข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งนำไปสู่การ สร้างบริการใหม่ๆ ที่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานในธุรกิจ

การจัดโครง สร้างอัตราค่าบริการ ก็ เพื่อตอบสนองสิ่งเหล่า นี้ การคิดค่าบริการ SMS กับลูกค้าของเอไอเอสจะมีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ

1. อัตราสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไปจะคิด 2 บาทต่อ 1 message

2. SMS package คือ การเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน เสียค่าใช้จ่าย 150 บาท ส่งได้ 100 message ต่อเดือน และ

3. หากเป็นองค์กรธุรกิจ จะเสียค่าใช้จ่ายในอัตรา message ละ 1 บาท แต่จะต้องใช้ 10,000 message ขึ้นไป

นอกเหนือจากอัตราค่าบริการที่ตอบสนองการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การนำเสนอขายในลักษณะของ total solution ที่จะมีรูปแบบบริการ คือ เอไอ เอสเป็น network

"นี่คือการเปิดมิติใหม่ของการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับว่า จะสร้างความเข้าใจ ให้การศึกษา และเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่ากัน" สุวิทย์ กล่าว

ในฟากของดีแทคเองก็หันมาให้ความ สำคัญกับลูกค้าองค์กรธุรกิจมากขึ้น และได้คาดหมายไว้ว่าจะเป็นลูกค้าที่จะมีบทบาทสำคัญในปีนี้ นอกเหนือไปจากลูกค้าส่วนบุคคล

โซลูชั่น หรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าองค์กรธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องตอบสนองการใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจ และความต้องการส่วนบุคคลไปในคราวเดียวกัน

อำนาจ อุนยโกวิท ผู้อำนวยการ กลุ่ม Product & Service บริษัทโทเทิ่ล แอ็ค เซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด บอกว่า ความน่าสนใจของลูกค้าองค์กรอยู่ที่อัตราการใช้งาน ของลูกค้ากลุ่มนี้ที่มีค่อนข้างสูงเมื่อเทียบ กับกลุ่มอื่นๆ สิ่งที่ต้องทำสำหรับลูกค้ากลุ่ม นี้คือ เช่น การอ่านอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือ

รวมทั้งการใช้โทรศัพท์มือถือเฉพาะภายในกลุ่มองค์กรธุรกิจ เช่น การตัดเลขหมาย 4 หลักสุดท้าย เพื่อใช้งานภายในกลุ่มของตัวเอง และยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับโทรศัพท์พื้นฐานได้ในคราวเดียวกัน ลูกค้าหลักของดีแทคในเวลานี้ คือ ธนาคารกสิกรไทย

โซลูชั่นต่างๆ เราจะพัฒนาขึ้นมาบ้าง หรือ หาจากทั่วโลก ดีแทคเรามี advantage ในเรื่องของเครือข่ายของดาต้าเน็ทเวิร์ค เพราะมีเครือข่ายจีพีอาร์เอส

การหา application ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับ การให้บริการ ซึ่งดีแทคใช้วิธีเลือกหา application ทั่วโลก รวมถึงจากการพัฒนา ขึ้นภายในองค์กร

อัตราค่าบริการที่เก็บกับลูกค้าองค์กร จะขึ้นอยู่กับแต่ละบริการ โดยจะไม่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้งาน ขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า

และนี่คือ อีกมิติหนึ่งของการให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่จะถูกขยายไปยัง ลูกค้าองค์กรธุรกิจ ที่จะมีรูปแบบของการ ใช้บริการที่หลากหลายมากกว่าเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us