Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 กันยายน 2547
หวังหุ้นขึ้นปิดดีล "ไตรภพ" ITVมั่นใจตอบ2ปัญหาคาใจกองทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
ไตรภพ ลิมปพัทธ์
Entertainment and Leisure
TV




ไอทีวีหอบข้อมูลเสนอกองทุนต่างชาติในงานไทยแลนด์โฟกัสวันนี้ เตรียมตอบ 2 คำถามคาใจ "แผนงาน-พันธมิตร" ยันดีลซื้อขายหุ้น "ไตรภพ-กันตนา" ไม่ล้มรอได้ถึงสิ้นปี แต่แบะท่าเปิดกว้างเจรจารายใหม่ มั่นใจฐานะปีนี้มีกำไรเป็นครั้งแรก หลังได้ลดค่าสัมปทานจ่าย 230 ล้านบาทเป็นปีแรก วงในเผยวางเงื่อนไขราคาหุ้นไอทีวีช่วงปลายปีจะเป็นตัวตัดสินดีลอยู่หรือไป โดยราคาต้องสูงกว่า 20 บาท

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ITV) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (22 ก.ย.) ไอทีวีจะนำเสนอข้อมูลต่อกองทุนต่างประเทศในงานไทยแลนด์โฟกัส ซึ่งสิ่งที่จะนำไปเสนอต่อนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนต่างประเทศคือข้อมูลพื้นฐานของบริษัท ผลการดำเนินงาน และแผนงานในระยะยาว ซึ่งในปัจจุบันมีกองทุนถือหุ้นของบริษัทอยู่แล้วกว่า 10% แต่ส่วนใหญ่เป็นกองทุนในประเทศ ส่วนนักลงทุนต่างประเทศยังมีเป็นจำนวนน้อย

โดยบริษัทหวังว่าจะสามารถนำเสนอและเปิดเผยข้อมูลให้แก่นักลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ประเมินว่าสิ่งที่นักลงทุนต้องการทราบ และจะต้องเกิดคำถามคือ ความคืบหน้าของพันธมิตรทั้ง 2 ราย คือนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัทกันตนา ซึ่งผู้บริหารเตรียมที่จะชี้แจงว่า ทั้ง 2 ราย ยังมีระยะเวลาที่จะตัดสินใจจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นกำหนดเวลาตามที่เคยเซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพันธมิตรจะตัดสินใจไม่จ่ายเงินค่าหุ้นก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทมากนัก เนื่องจากไอทีวีมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นกว่าก่อนหน้านี้มาก และมีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจ หลังจากที่คณะอนุญาโตตุลาการตัดสินชี้ขาดให้ไอทีวีได้ปรับลดค่าสัมปทาน ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของบริษัทดีขึ้นมาก โดยในปีนี้จะเป็นปีแรกที่ไอทีวีจ่ายสัมปทานในอัตราใหม่คือ 230 ล้านบาท จากปีก่อนที่บริษัทมีภาระจ่ายค่าสัมปทานกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งจะทำ ให้ปี 2547 ไอทีวีจะมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิเป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท

ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ไอทีวีสามารถทำกำไรได้ประมาณ 50 ล้านบาทและถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นพันธมิตรกันในแง่ของการร่วมทุน แต่ในเอ็มโอยูยังมีข้อตกลงในการร่วมมือกันในด้านของการผลิตรายการ ซึ่งจะยังคงดำเนินต่อไป

"ที่ผ่านมาเค้าก็ไม่เคยเข้ามาคุยกับผมในเรื่องนี้ และไม่ได้มีการต่อรองราคาซื้อหุ้นกันตามที่เป็นข่าว ซึ่งตามสัญญาก็ยังมีเวลาจนถึงสิ้นปีและตอนนี้เราก็แข็งแกร่งขึ้นมากแล้วจากการจ่ายค่าสัมปทานลดลง ดังนั้น ถึงแม้จะไม่ได้เงินจากพันธมิตรก็ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก" นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวและว่า ปัจจุบัน ITV ยังมีผลขาดทุนสะสมอยู่กว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากได้เงินจากพันธมิตรเข้ามาก็สามารถนำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาชดเชยขาดทุนสะสมได้ แต่หากดีลล้มไปก็จะต้องใช้เงินจากกำไรจากการดำเนินงานมาหักล้าง ซึ่งยังไม่มีนโยบายว่าจะล้างขาดทุนสะสมหมดภายในระยะเวลากี่ปี

สำหรับราคาหุ้นไอทีวีที่ปรับสูงขึ้นจากการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุน ช่วงก่อนนี้ นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวว่า ยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเข้ามาเก็งกำไร เพราะในด้านปัจจัยพื้นฐานของบริษัทยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยการได้ลดค่าสัมปทานเป็นเรื่องที่ทราบกันมาแล้วก่อนหน้านี้ แต่ในฐานะของผู้บริหารก็พยายามที่จะบริหารให้ดีที่สุด เพื่อให้ ITV มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น และมีรายได้เข้ามามากขึ้น

ส่วนกระแสข่าวลือว่าจะมีการร่วมทุนกับเวิร์คพอยท์นั้นไอทีวีเองไม่ได้ปิดกั้นโอกาสที่จะมีผู้ผลิตรายการเพิ่ม ซึ่งเวิร์คพอยท์เองก็เคยผลิตรายการให้กับไอทีวี แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการเจรจาตกลงกันในประเด็นดังกล่าว

อนาคต "ต๋อย" อยู่ที่ราคาหุ้นปลายปี

แหล่งข่าวในธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ กล่าวว่า สถานการณ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯปลายปี และราคา หุ้นของไอทีวี จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะตัดสินว่านายไตรภพ ลิมปพัทธ์ จะยังคงซื้อหุ้นสถานีโทรทัศน์ ไอทีวีหรือไม่ หลังจากการขายหุ้นของไอทีวีให้กลุ่มกันตนาและนายไตรภพตั้งแต่ต้นปียังไม่มีรายการซื้อขายจริงเกิดขึ้น และดีลครั้งนี้ถือว่าเลยกำหนดมา 2-3 เดือนแล้ว โดยที่กลุ่มชินคอร์ปยังให้เวลากับนายไตรภพจนถึงสิ้นปี เพราะถือว่าอุตสาหกรรมบันเทิงต่างจากอุตสาหกรรมทั่วไป ที่มีเรื่องของน้ำใจ และมิตรภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่พิจารณาบนหลักการธุรกิจที่เข้มงวด

"หากเป็นธุรกิจอื่นดีลนี้จบไปแล้ว แต่เมื่อเป็นเรื่องบันเทิง จึงมีการยืดเวลาให้จนถึงสิ้นปี"

อย่างไรก็ตาม การที่นายไตรภพเข้ามาในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งการเปลี่ยนผังรายการต่างๆ ในส่วนที่เป็นรายการของนายไตรภพเองทำให้เรตติ้งไอทีวีดีขึ้นจนอยู่ในอันดับ 3 ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการต่ออายุดีลออกไป แต่ทุกอย่างจะต้องชัดเจนภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งหากยังไม่มีการซื้อขายหุ้นเกิดขึ้น ก็เท่ากับจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับโครงสร้างบริหารไอทีวีอีกครั้ง

จากปัจจุบันที่นายไตรภพถือเป็นผู้บริหารระดับสูงในไอทีวีที่มีอำนาจในการจัดผังรายการทั้งหมด ก็จะหมดไป เหลือเพียงแค่เป็นผู้ผลิตรายการป้อนให้ไอทีวีเท่านั้น ซึ่งไอทีวีมีสิทธิที่จะเลือกแพร่ภาพเพียงรายการที่มีเรตติ้งดีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มกันตนาคาดว่าจะได้ข้อสรุปและมีการซื้อขายหุ้นภายในระยะเวลาที่ยืดออกไป

"ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การซื้อขายหุ้นไม่เกิดขึ้นเป็นเพราะภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ฯที่ไม่สดใสตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา เพราะกลุ่มนายไตรภพ ได้สิทธิในการซื้อหุ้นที่ราคา 10 บาท ซึ่งหลังจากมีการเซ็นเอ็มโอยู ราคาหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องและมากเกือบ 30 บาท แต่ในช่วงต่อมาราคาลดลงมาอยู่ระดับ 15 บาท ซึ่งหากภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯดี หรือพูดให้ตรงคือราคาหุ้นไอทีวีทยอยปรับขึ้นมาสูงกว่า 20 บาท โอกาสการซื้อขายหุ้นจริงก็น่าจะเกิดขึ้นได้" แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นไอทีวีวานนี้ (21 ก.ย.) ปิดที่ระดับ 15.60 บาท ลดลง 0.50 บาทจากวันก่อนหน้าด้วยมูลค่าการซื้อขาย 322 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กลุ่มชินคอร์ปก็ยังให้ความสนใจ ผู้จัดรายการรายอื่นอย่าง นายปัญญา นิรันดร์กุล ซึ่งมีรายการยอดนิยมทั้ง "แฟนพันธุ์แท้" "เกมทศกัณฐ์" เพียงแต่กรณีนายไตรภพเป็นการเดินเข้ามาคุยกันก่อนซึ่งเป็นมารยาททางธุรกิจที่ทำให้กลุ่มชินคอร์ปไม่สามารถเจรจากับรายอื่นได้หากดีลยังไม่จบ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us